{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
“ข่าวปลอม” (FAKE NEWS) ที่น่าจะนับรวมไปถึงข่าวลือ และข้อมูลที่บิดเบือน กำลังกลายเป็นโรคระบาดผ่านทางโซเชียลมีเดีย สร้างความวุ่นวายและเป็นอันตรายต่อสังคมในยุคดิจิทัล
ในหลายประเทศ อย่าง มาเลเซีย สิงคโปร์ หรือแม้แต่ประเทศตะวันตกที่เป็นต้นคิดโซเชียลมีเดีย ได้ยกระดับปัญหาให้เป็นวาระแห่งชาติ ที่จะต้องดำเนินการจัดการให้อย่างเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมายควบคุม การบรรจุไว้เป็นหลักสูตรในโรงเรียน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลว่าเป็นของจริงหรือของปลอม
ประเทศไทยที่ตกเป็นเหยื่อของ Fake News จึงจำเป็นต้นหาวิธีการจัดการปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด เพราะยิ่งช้าเท่าไร ก็ยิ่งเกิดปัญหามากขึ้น
นายเกษมสันต์ วีระกุล ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารภาครัฐเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ ประชาชน คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) อธิบายว่า ที่ผ่านมาระบบตรวจสอบ FAKE NEWS ในประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบจริงจัง ไม่มีงบประมาณรองรับ และใช้คนในการตรวจสอบ ทำให้ระบบด้อยประสิทธิภาพ
ยกตัวอย่างเช่นเมื่อคีย์คำว่า “ประยุทธ์” ลงไปใน กูเกิ้ลจะเจอ 8.4 ล้านรายการ คำว่า “คสช.” มี 211 ล้านรายการ “สืบทอดอำนาจ” 5.1 ล้านรายการ “นาฬิกาเพื่อน” 19.1 ล้านรายการ “เศรษฐกิจไทย” 42.5 ล้านรายการ คำว่า “ไทย” 2,120 ล้านรายการ แค่ตามอ่านเฉยๆ ก็ไม่ไหวแล้ว อ่านแล้วก็ต้องแยกให้ออกว่าเป็น REAL NEWS หรือ FAKE NEWS กว่าจะตามเจอก็กลายเป็นไวรัลคนพูดถึงกันทั้งเมืองแล้ว
การชี้แจงตอบโต้ ยังอยู่ภายใต้ระบบราชการ ขาดการบูรณาการ คือ เมื่อมีการตรวจพบ FAKE NEWS กลับไม่มีหน่วยงานใดที่จะทำหน้าที่หลักในการออกมาแก้ไข หรือเป็นจุดศูนย์กลาง เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน บางข่าวหลายหน่วยงานออกมาให้ข้อมูลออกไปคนละทิศคนละทาง
ในแต่ละกระทรวงเอง คนที่มาเป็นโฆษก ยังมีงานประจำในหน้าที่ แต่ต้องทำหน้าที่โฆษก แม้จะมีการฝึกเป็นระยะๆ ก็ถือว่าเป็นงานฝาก จึงทำงานแบบขอไปที เพราะเดี๋ยวก็มีคนหน้าใหม่เข้ามาทำ งานขาดความต่อเนื่อง
แล้วที่สำคัญระบบเผยแพร่ส่งข่าวในระบบราชการช้าและไร้ประสิทธิภาพ จึงไม่สามารถตอบโต้ ได้อย่างทันท่วงที และกลายเป็นปัญหาเกิดขึ้นในสังคม
อย่างไรก็ตามการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มองเห็นปัญหาดังกล่าว และได้ส่งสัญญาณชัดเชนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการจัดการ FAKE NEWS นับเป็นเรื่องที่ดี
เบื้องต้นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) รับหน้าเสื่อเป็นแกนหลักในการจัดการปัญหา Fake News มีแนวคิดที่จัดตั้งศูนย์ป้องกันข่าวปลอม นำเอาระบบปัญหาประดิษฐ์ (AI ) มาใช้ ถือว่าเป็นก้าวแรก ที่สร้างความชัดเจนในการจัดการ Fake News
แต่จะประสบความสำเร็จในระดับใดนั้น คงต้องรอวันที่พิสูจน์และต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี แม้จะนำเอาระบบ AI มาใช้ก็ตาม
เพราะยังไม่มี AI ที่เข้าใจภาษาไทยมากเพียงพอจะตรวจจับ Fake News ได้
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS