EXIM BANK เปิดตัวนวัตกรรมดัชนี “EXIM Index”

EXIM BANK เปิดตัว “EXIM Index” ดัชนีประเมินทิศทางการส่งออกของไทยรายไตรมาส ชี้โอกาสและแนวทางปิดความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ได้เริ่มจัดทำ “EXIM Index” นวัตกรรมด้านงานวิจัยธุรกิจที่แสดงผลเป็นดัชนีชี้วัดสภาวะส่งออกล่วงหน้า โดยใช้ข้อมูล 25 ตัวชี้วัดใน 5 มิติ ประกอบด้วยอุปสงค์ (Demand) ทิศทางเศรษฐกิจในตลาดหลักและตลาดใหม่ การส่งออกของประเทศคู่ค้า อุปทาน (Supply) ดัชนีแรงกดดันด้านห่วงโซ่อุปทานโลก การลงทุนภาคเอกชน ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ราคา (Prices) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ราคาอาหารและสินค้าเกษตรโลก บรรยากาศตลาด (Sentiment) ดัชนีตลาดหุ้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในประเทศคู่ค้า และธุรกรรมของ EXIM BANK ผลลัพธ์เป็น “ดัชนีชี้นำการส่งออกของไทย” ซึ่ง ณ ไตรมาส 2 ปี 2565 อยู่ที่ 100.63 ลดลงจาก 100.90 ในไตรมาสแรกปี 2565 สะท้อนว่าในระยะข้างหน้า การส่งออกไทยมีแนวโน้มชะลอตัว เป็นผลจากเศรษฐกิจคู่ค้าที่ชะลอตัวลง อาทิ สหรัฐอเมริกาและยุโรป ผู้บริโภคและนักลงทุนมีความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยและภาวะเงินเฟ้อ ปัญหา Global Supply Chain ยังมีอยู่ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ส่งออก และธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศที่เริ่มชะลอลง แม้จะยังขยายตัวได้

โดยในช่วงครึ่งหลังปี 2565 ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งปรับตัวใน 2 มิติ ประการแรก ปรับตัวสู้ต้นทุนแพง ยกระดับสินค้าและกระบวนการผลิต เพื่อเข้าสู่ตลาดที่แข่งขันด้วยสินค้าที่มีนวัตกรรม ตอบโจทย์เทรนด์โลกและผู้บริโภคยุคใหม่ ได้แก่ สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดิจิทัล และดูแลสุขภาพ (Green, Digital, Health : GDH) รวมถึงการปรับปรุงแนวทางการตลาดด้วยการโชว์เอกลักษณ์ของสินค้า ขายแบบซอฟต์พาวเวอร์ สร้างและสื่อสารแบรนด์อย่างน่าสนใจ ประการที่สอง บริหารความเสี่ยง กระจายตลาดหรือบุกตลาดใหม่ อาทิ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ซึ่งเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีประชากรกว่า 2,300 ล้านคน มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้แก่ผู้ส่งออกไทย รวมทั้งเข้าสู่ตลาดการค้าออนไลน์มากขึ้น โดยคาดว่ามูลค่า E-Commerce โลกจะเติบโตต่อเนื่องจาก 4.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 เป็น 7.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 ก้าวกระโดดจาก 3.4 และ 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562 และ 2563 ตามลำดับ และปิดความเสี่ยงรอบด้านให้มากที่สุด


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment