{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ออมสินเตรียมทำ Social Mission Integration ในทุกมิติ หวังช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมแก้ปัญหาความยากจน เดินหน้า 4 โครงการช่วยเหลือประชาชน หลัง 2 ปี ช่วยคนไทยฝ่าวิกฤตแล้วกว่า 13 ล้านคน ทั้งรายย่อยและ SMEs ผ่าน 45 โครงการ
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารพร้อมยกระดับขยายผลความเป็นธนาคารเพื่อสังคม หรือ Social Mission Integration ให้ทุกมิติที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการดำเนินงานหลัก หรือด้านผลิตภัณฑ์และบริการ จะต้องมีการนำปัจจัยด้านสังคมเข้ามาบูรณาการทุกด้าน (Social Mission Integration) ซึ่งจะทำให้เกิด (1) ความลึกลงในการปฏิบัติงาน (Embedded in Core Business Process) (2) ความยั่งยืนทางธุรกิจและสังคม (Sustainability) และ (3) ผลกระทบเชิงบวกในวงกว้าง (Broaden Positive Impact) เช่น การบูรณาการปัจจัยด้านสังคมลงในกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การบริหารจัดการทรัพยากร การปรับวิธีการประเมินผลสำเร็จของงาน หรือในการจัดทำโครงการต่าง ๆ เป็นต้น รวมถึงเน้นการบริหารจัดการเสริมความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง การลดต้นทุนบริหารจัดการและการควบคุมค่าใช้จ่ายยังเป็นแนวทางหลักในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถทำกำไรและนำกำไรบางส่วนไปสนับสนุนภารกิจเพื่อสังคม
นอกจากนี้ ในครึ่งหลังของปี 2565 ธนาคารจะริเริ่มเข้าทำธุรกิจสินเชื่อที่ดินและขายฝาก เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนถูกลงและเป็นธรรมสำหรับคนไทย โดยการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2565 และการอนุมัติสินเชื่อ Digital Lending โดยใช้ Alternative Data เริ่มโครงการต้นแบบในเดือนพฤศจิกายน 2565 รวมถึงเร่งรัดการช่วยเหลือฟื้นฟูคุณภาพชีวิตประชาชนผ่านโครงการสร้างงานสร้างอาชีพ ตั้งเป้าช่วยผู้เดือดร้อนได้ถึง 200,000 รายภายในสิ้นปี
สำหรับผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา การลดต้นทุนทางธุรกิจและควบคุมค่าใช้จ่ายดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารมีกำไรสุทธิ (ณ 30 มิ.ย. 65) จำนวน 15,831 ล้านบาท คาดการณ์กำไรทั้งปี 2565 ที่ 29,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยในปี 2564 ที่ผ่านมา ธนาคารสามารถนำส่งรายได้เข้ารัฐ เป็นจำนวนเงิน 15,978 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 4 จากรัฐวิสาหกิจ 58 แห่ง พร้อมกับความสามารถรักษาระดับ NPLs ได้ 2.67% ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) 160% และมีเงินสำรองรวม (Total Provision) และเงินสำรองทั่วไป (General Provision) สูงสุดเป็นประวัติการณ์.
ทั้งนี้ธนาคารออมสินได้ปรับยุทธศาสตร์เป็น “ธนาคารเพื่อสังคม” เมื่อปี 2563 โดยได้ประกาศเจตนารมณ์ชัดเจนในการลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงสินเชื่อของประชาชนฐานรากด้วยดอกเบี้ยที่เป็นธรรม และ “ยึดหลักนำกำไรจากการประกอบธุรกิจปกติ มาสนับสนุนภารกิจเชิงสังคม” ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการเสริมความแข็งแกร่งของธนาคารด้วยในเวลาเดียวกัน ด้วยบทบาทและภารกิจเพื่อสังคมตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดผลสำเร็จมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมในทุกมิติ และสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมในวงกว้าง
ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ธนาคารออมสินได้ดำเนินการตามนโยบายที่รัฐบาลมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการส่งต่อความช่วยเหลือให้ประชาชนและภาคธุรกิจ ผ่านมาตรการและโครงการต่าง ๆ กว่า 45 โครงการ มีประชาชนได้รับประโยชน์และความช่วยเหลือแล้วจำนวนกว่า 13 ล้านราย โดยเป็นผู้ที่ได้รับสินเชื่อ 5.7 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ไม่เคยมีประวัติเครดิตและเป็นการเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เป็นครั้งแรกมากถึง 2.76 ล้านราย สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจแล้วเป็นเม็ดเงินกว่า 195,000 ล้านบาท รวมถึงการช่วยเหลือประชาชนที่ตกงานหรือขาดรายได้ให้สามารถกลับมามีอาชีพ และสร้างรายได้ กว่า 100,000 ราย นอกจากนี้ ได้ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายโดยการปรับโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ NPLs อีกร่วม 4 ล้านราย โดยส่วนหนึ่งของโครงการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 สินเชื่อเสริมพลังฐานราก สินเชื่อช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยว สินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระและผู้มีรายได้ประจำ สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ และอีกมากมาย รวมถึงมาตรการพักชำระหนี้ โครงการผ่อนปรนภาระหนี้ไม่ให้เสียประวัติการเงิน ตลอดจนการฟื้นฟูและฝึกทักษะอาชีพเพื่อช่วยสร้างรายได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ ธนาคารยังประสบความสำเร็จในการริเริ่มโครงการใหม่ ที่ช่วยให้คนฐานรากและ SMEs ได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินในระบบ ด้วยต้นทุนที่ถูกลงและเป็นธรรม ได้แก่ (1) การเข้าทำธุรกิจจำนำทะเบียนมอเตอร์ไซค์ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงช่วยกดโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยของธุรกิจนี้ให้ลดต่ำลง จาก 28% ลงเหลือ 16 - 18% โดยอนุมัติสินเชื่อให้คนฐานรากแล้วกว่า 1 ล้านราย และ (2) การปล่อยสินเชื่อโดยพิจารณาจากที่ดินซึ่งเป็นหลักประกัน ในโครงการสินเชื่อ SMEs มีที่ มีเงิน ทำให้สามารถอนุมัติสินเชื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงเวลายากลำบากแล้วเป็นวงเงินกว่า 21,000 ล้านบาท ตอกย้ำการขับเคลื่อนบทบาทธนาคารเพื่อสังคมที่ตั้งเป้าช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการเงินได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือและโครงการเพื่อสังคมต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นผลมาจากการพัฒนายกระดับบริการ Mobile Banking ที่ทำให้สามารถปล่อยสินเชื่อผ่านแอป MyMo ได้มากถึง 1.6 ล้านราย และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวน 5.4 แสนราย ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 โดยที่ลูกค้าประชาชนไม่ต้องไปติดต่อที่สาขา
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS