คุณหญิงกัลยา ให้การต้อนรับและชื่นชมเด็กไทยที่คว้าแชมป์โลกดาวเทียมจิ๋วที่สหรัฐฯ

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษกประจำตัวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารโรงเรียน คณะครู และนักเรียนจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งเป็นตัวแทนประเทศไทยสามารถคว้าชัยชนะในการประกวดแข่งขันประดิษฐ์ดาวเทียมจำลองขนาดจิ๋วจนได้รับรางวัลทั้ง 2 ทีม คือทีม Descendere คว้ารางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 1 และทีม “Gravity” ได้อันดับที่ 7 ในการแข่งขัน Annual CanSat Competition 2022 จาก 49 ทีม ทั่วโลก ณ มลรัฐ Virginia ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับเด็กนักเรียนซึ่งถือเป็นตัวแทนประเทศไทยที่สามารถคว้าชัยชนะการแข่งขันประดิษฐ์ดาวเทียมจำลองขนาดจิ๋วในระดับโลก ถือเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก รวมถึงขอชื่นชมผู้บริหารโรงเรียนอัสสัมชัญที่เล็งเห็นความสำคัญโดยได้มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีการบินและอวกาศ โรงเรียนอัสสัมชัญขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ บ่มเพาะนักเรียนให้ได้รับการฝึกฝน ต่อยอดความถนัดด้วยการลงมือปฏิบัติจริงในด้านเทคโนโลยีการบินและอวกาศ จนมีโอกาสได้นำเสนอผลงานทั้งในเวทีระดับประเทศ และเวทีระดับโลกจนเห็นผลงานเป็นที่ประจักษ์

โดยสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรูปแบบ STEM to STEAM ซึ่งนักเรียนจะมีความชำนาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์อย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะความสำเร็จส่วนหนึ่งต้องมาจากการทำงานเป็นทีม จึงต้องมีตัว A เพิ่มขึ้นมา ในที่นี้คือ Art of Working Together หรือศิลปะในการทำงานร่วมกันแบบเป็นทีม เป็นสิ่งที่นักเรียนในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องมีทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และทักษะการทำงานเป็นทีม จึงจะประสบความสำเร็จได้ในที่สุด ซึ่งกระบวนการทำงานในการประดิษฐ์ดาวเทียมจำลองขนาดจิ๋ว จะต้องอาศัยหลักการทำงานประกอบด้วย Mechanic, Electronic และ Programming ที่ใช้หลัก Coding ชั้นสูงมาประยุกต์ใช้ การที่ นักเรียนมีทักษะในขั้นออกแบบโปรแกรมได้ ส่วนหนึ่งมาจากรากฐาน Unplugged Coding ที่ต้องคิดวิเคราะห์ คิดแบบเป็นเหตุเป็นผล เป็นขั้นเป็นตอน คิดแบบมีตรรกะ และคิดโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ ซึ่ง Coding ถือเป็นนโยบายของรัฐบาลโดยดิฉันเป็นผู้ผลักดันอยู่ในขณะนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในภายภาคหน้าประเทศไทยจะสามารถมีแพลตฟอร์มเป็นของตัวเองเช่นเดียวกับในต่างประเทศ


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment