สสว.พัฒนา SME ACCESS ช่วย SME ทำธุรกิจยุคใหม่

สสว. พัฒนาระบบ SME ACCESS ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อ SME เต็มรูปแบบ เน้นปรับรูปแบบการให้บริการ MSME ในด้านต่าง ๆ สู่รูปแบบ e-Service เตรียมความพร้อมในการดำเนินธุรกิจในอนาคต

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว.ได้พัฒนา "ระบบให้บริการ SME ACCESS” ที่เป็นการบูรณาการส่วนงานที่ทำหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ประกอบการ SME ในรูปแบบดิจิทัลของ สสว. ทั้งหมด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องผู้ประกอบการ SME และจะเป็น Infrastructure ของระบบการส่งเสริม SME ของประเทศที่สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มของบริบททางสังคมและเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งประกอบด้วยเว็บไซต์ SME ONE (Web Portal) SME Academy 365 (ระบบการเรียนรู้ออนไลน์) SME Coach (ระบบฐานข้อมูลที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญหรือที่สามารถให้คำแนะนำผู้ประกอบการ MSME) และ แอปพลิเคชัน SME Connext

และเพื่อให้สอดรับกับเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับการปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบในการให้บริการของภาครัฐ สสว. ได้มีการปรับรูปแบบการให้บริการ MSME ในด้านต่างๆ สู่รูปแบบ e-Service เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร องค์ความรู้ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งนี้ การให้บริการในรูปแบบ e-Service หรือ “ระบบให้บริการ SME ACESSS”

ทั้งนี้ สสว. ได้ดำเนินการพัฒนาระบบการให้บริการผู้ประกอบการ SME ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 โดยเริ่มจากการต่อยอดการบูรณาการงบประมาณการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ด้วยการพัฒนา Website Portal หรือเว็บไซต์ smeone.info ที่รวบรวมข้อมูลการส่งเสริมและโครงการในการพัฒนาผู้ประกอบการ SME ของภาครัฐและเอกชนมากกว่า 50 หน่วยงาน มาไว้ในที่เดียวกัน เพื่ออำนวยความสะดวกและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลการส่งเสริมของรัฐบาลให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงการพัฒนาแอปพลิเคชัน SMECONNEXT สำหรับการประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมต่างๆ ของ สสว. และการเป็นชุมชน (Community) ของผู้ประกอบการ SME ที่เคยใช้บริการของ สสว.

ซึ่งการให้บริการด้วยระบบดิจิทัลออนไลน์ของ สสว. ได้รับกระแสตอบรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อเกิดสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ในช่วงปลายปี 2562 จนถึงปัจจุบัน เห็นได้จากจำนวนผู้ใช้งานเว็บไซต์ smeone ที่มีผู้เข้าใช้บริการเพิ่มขึ้นจาก 9,287 ราย ในปี 2561 เพิ่มเป็น 332,741 ราย ในปี 2563 และมีจำนวน 580,185 ราย ในปี 2564 ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากความจำเป็นของเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment