{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ เอสซีจี เคมิคอลส์ ร่วมจัดการแข่งขัน “SCG Bangkok Business Challenge @ Sasin 2022 – Global Competition” การแข่งขันแผนธุรกิจ Startup ระดับโลกภาคภาษาอังกฤษ 8 - 10 กรกฎาคม 2565 ที่สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์
ศาสตราจารย์ ดร. เอียน เฟนวิค (Prof. Ian Fenwick, Ph.D.) ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ เปิดเผยว่า ศศินทร์ ร่วมกับ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือเอสซีจีซี (SCGC) จัดการแข่งขัน “SCG Bangkok Business Challenge @ Sasin 2022 – Global Competition” การแข่งขันแผนธุรกิจ Startup ระดับโลกภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 20 ยาวนานที่สุดในเอเชีย ภายใต้แนวคิด “Striving for a Sustainable World” สำหรับปีนี้ มีทีมจากทั่วโลกสมัครเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 124 ทีม จาก 55 สถาบันอุดมศึกษา ใน 19 ประเทศ ครอบคลุม 5 ทวีป และมีทีมที่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศทั้งสิ้น 19 ทีม พร้อมด้วยทีมชนะเลิศจากการแข่งขันรอบประเทศไทยอีก 1 ทีม รวมทั้งสิ้น 20 ทีม ซึ่งจะทำการแข่งขันในวันที่ 8 - 10 กรกฎาคม 2565 ที่สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์
โดยการแข่งขันนี้เป็นการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของนิสิต นักศึกษา และผลักดันให้นำแนวคิดแบบผู้ประกอบการมาใช้เพื่อสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน ความยั่งยืน (Sustainability) เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก หากธุรกิจต่างๆ ยังไม่คำนึงถึงและยังไม่เริ่มต้นการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนตั้งแต่ตอนนี้ ทุกอย่างจะสายเกินแก้ไข ผมหวังว่าผู้เข้าแข่งขันจะสร้างแรงบันดาลใจและได้เชื่อมโยงกันและกันในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด และวิธีในการดำเนินธุรกิจเพื่อโลกที่ดีขึ้น ฉลาดขึ้น และยั่งยืนขึ้น ซึ่งพวกเขาสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในธุรกิจใหญ่หรือ Startup ของตัวเองก็ตาม”
ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม และรองผู้จัดการใหญ่ New Business บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือเอสซีจีซี (SCGC) กล่าวว่า การแข่งขัน SCG Bangkok Business Challenge @ Sasin เป็นการแข่งขันระดับนานาชาติที่จะสร้างเครือข่ายทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดย SCGC ให้ความสำคัญกับการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และการพัฒนาความร่วมมือแบบ Open Innovation เราจึงนำ Resource พร้อมองค์ความรู้ และเน็ตเวิร์กต่าง ๆ มาช่วยเสริมและต่อยอดให้การแข่งขันมีความสมบูรณ์และเกิดผลลัพธ์มากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากจำนวนทีมที่เข้ามาแข่งขันแล้วสามารถพัฒนาต่อเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจมากถึง 30% และมีการระดมทุนเป็นมูลค่าถึง $230M การนำ Startup ที่แข็งแกร่งที่สุดในแต่ละภูมิภาคของโลกมาแข่งขันเสนอแผนธุรกิจ ผ่านการให้คำปรึกษาโดยบริษัทชั้นนำ หรือผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการถอดวิธีคิดของ Startup อื่น ๆ ว่ามีวิธีคิดอย่างไรในการผลักดันให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดแรงผลักดันในการพัฒนา Ecosystem ในระดับโลก ตลอดจนสร้างมิตรภาพที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นคอนเนกชันระหว่าง Startup ที่เข้าแข่งขัน ซึ่ง SCGC พร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อให้เกิด Startup ระดับ “ยูนิคอร์น” ในเวทีการประกวดอย่างต่อเนื่อง
โดยการแข่งขันในปีนี้ เป็นความร่วมมือของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin School of Management) กับ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือเอสซีจีซี (SCGC) ร่วมด้วยผู้สนับสนุนหลักได้แก่ บมจ. ธนาคารกสิกรไทย ผู้ร่วมสนับสนุนได้แก่ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าวิคเตอร์ อีกทั้งยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิมากประสบการณ์จากหลากหลายภาคส่วน อาทิ ดร. แอนดรูว์ สต๊อท์ซ (Dr. Andrew Stotz) CEO บริษัท A. Stotz Investment Research คุณสุรสิทธิ์ สัจจะเดช Co-Founder & CEO บริษัท Hungry Hub คุณชวิมน ลาภประเสริฐพร Director บริษัท Thip Capital คุณศจีกานต์ เพรสคอทท์ Principal บริษัท AddVentures by SCG มาร่วมเป็นกรรมการตัดสิน คัดเลือกเฟ้นหาสุดยอดทีมที่ดีที่สุดที่คู่ควรกับรางวัลเกียรติคุณพระราชทาน H.M. The King’s Award จากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รางวัลเกียรติคุณพระราชทาน H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn’s Sustainability Award จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และรางวัลเงินสดรวมมูลค่า 57,500 เหรียญสหรัฐ หรือราว 2,000,000 บาท
สำหรับ 20 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ Global Competition ได้แก่
AttentionID จาก Prasetiya Mulya University ประเทศอินโดนีเชีย
Carbotech จาก Putra Busines School ประเทศมาเลเซีย
CoffeeTogether จาก Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์
CoVrick จาก Asian Institute of Management ประเทศฟิลิปปินส์
DECAP Research & Development จาก University of British Columbia ประเทศแคนาดา
Defire จาก Asian Institute of Technology ประเทศไทย
Earthen จาก Arizona State University ประเทศสหรัฐอเมริกา
huCap Financing จาก National University of Singapore ประเทศสิงคโปร์
Neocycle จาก University of Calgary ประเทศแคนาดา
Peko Produce จาก McGill University ประเทศแคนาดา
Pili Seal จาก Mapúa University ประเทศฟิลิปปินส์
Reezo จาก University of Oregon ประเทศสหรัฐอเมริกา
Scire Technology จาก Bicol University ประเทศฟิลิปปินส์
Sparc จาก Duke University ประเทศสหรัฐอเมริกา
Tripsome.com จาก French-Azerbaijani University ประเทศอาเซอร์ไบจาน
UltrAgro จาก Universiti Teknologi PETRONAS ประเทศมาเลเซีย
Visualize Your Cake, Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์
WeKare จาก National Yang Ming Chiao Tung University ประเทศไต้หวัน
Wellnesi จาก National Yang Ming Chiao Tung University ประเทศไต้หวัน
YaBEZ จาก มหาวิทยาลัยปทุมธานี ประเทศไทย
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS