{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กรมเจ้าท่าพอใจผลประเมิน ตัวชี้วัดความสำเร็จ 7 แผนปฏิบัติการขนส่งทางน้ำ ปี 2560-2565 การขนส่งทางน้ำไทย และการให้บริการมีศักยภาพบนพื้นฐานความปลอดภัย เติบโตอย่างต่อเนื่อง หนุนการแข่งขันของกองเรือไทย การให้บริการท่าเรือ เข้าเกณฑ์มาตรฐานสากล พร้อมรองรับการขยายตัวเศรษฐกิจไทย
นายสมชาย สุมนัสขจรกุล รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านวิชาการ เปิดเผยว่า กรมเจ้าท่าได้ทำวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการขนส่งทางน้ำของกรมเจ้าท่าตั้งแต่ปี 2560-2565 โดยสามารถชี้วัดความสำเร็จในด้านการพัฒนาระบบขนส่งทางน้ำให้มีการเชื่อมโยง มีมาตรฐาน เกิดความสะดวก ปลอดภัย และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ สามารถดำเนินการได้ตามแผนยุทธศาสตร์ จากตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ของกรมเจ้าท่า ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในด้านการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีของไทย ที่สามารถยกระดับโครงสร้างพื้นฐานให้มีการเชื่อมโยงระบบขนส่งอื่นๆ ทั้งการขนส่งผู้โดยสารสินค้า การให้บริการท่าเรือ การกำกับดูแลอู่ต่อเรือ กองเรือไทย และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อให้ประชาชน ผู้ประกอบการได้รับความสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง มีความปลอดภัย รวมไปถึงการสนับสนุนภาคการส่งออกให้มีความเข้มแข็ง
ทั้งนี้ ในการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จที่กำหนดไว้ใน 7 ด้าน ปี 2560-2565 ประกอบด้วย
1.สัดส่วนปริมาณการขนส่งทางน้ำต่อปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งหมดภายในประเทศมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจากระดับ 12% เป็น 15% ในปี 2565
2.ผู้ใช้บริการขนส่งทางน้ำ ท่าเรือ ร่องน้ำ มีความพึงพอใจอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80%
3.อัตราการเกิดอุบัติเหตุของการขนส่งทางน้ำ (จำนวนครั้งของอุบัติเหตุต่อจำนวนเที่ยวเดินเรือทั้งหมด) ลดลงจากฐานปี 2554 (9.54%) อยู่ที่ 7.15% ในปี 2565
4.อัตราผู้เสียชีวิตในระบบขนส่งทางน้ำ (รายต่อประชากรแสนคน) มีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากฐานปี 2560 (0.018 รายต่อประชากรแสนคน) ลดลงเหลือ 0.011 รายต่อประชากรแสนคนในปี 2565
5.จำนวนการตรวจตราเรือประมง เพื่อสนับสนุนการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว และการค้ามนุษย์ซึ่งการดำเนินงานสิ้นสุดไปตั้งแต่ปี 2562 ที่มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ สามารถดำเนินการตรวจตราไปจำนวน 400 ครั้ง (ปี 60-62) ชี้ให้เห็นความต่อเนื่องในการเข้าไปตรวจตราของกรมเจ้าท่า
6.ความพึงพอใจของนายจ้างที่รับนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว และผ่านการฝึกอบรมเข้าปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับสูงถึง 80% ตลอดทั้งแผน และ
7.อัตราการเติบโตระวางบรรทุกของกองเรือพาณิชยไทยขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอส มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2560 (6.495 ล้านเดทเวทตัน) โดยปี 2565 เพิ่มขึ้นเป็น 7.307 ล้านเดทเวทตัน
อย่างไรก็ตาม กรมเจ้าท่า ยังคงเดินหน้าในการสนับสนุนกิจการกองเรือของไทยให้มีการพัฒนา เพื่อรองรับกับการเปิดประเทศและการฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยภายหลังการเผชิญกับวิกฤติแพร่ระบาดโควิด19 ในช่วงที่ผ่านมา โดยจะอาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย กฎหมายว่าด้วยการเดินเรือไทย กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมพาณิชยนาวี และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ควบคู่ไปกับการศึกษา วิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำให้มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาความร่วมมือเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายระบบการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีของไทยมีการจัดระเบียบการขนส่งทางน้ำและกิจการพาณิชยนาวีให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล สร้างความร่วมมือและประสานงานกับองค์การและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ในด้านการขนส่งทางน้ำ การพาณิชยนาวี และพันธกรณีตามอนุสัญญาฯ ความตกลงระหว่างประเทศ เป็นต้น
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS