{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
การรถไฟฯ ร่วมกับภาคเอกชน จัดเดินขบวนรถสินค้าคอนเทนเนอร์บรรทุกเกลือ ระหว่างสถานีมาบตาพุด – ชุมทางบัวใหญ่ เพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าภายในประเทศ
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดเดินขบวนรถสินค้าคอนเทนเนอร์บรรทุกเกลือ ระหว่างสถานีมาบตาพุด – ชุมทางบัวใหญ่ ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับ บริษัท เอ็น. อี. (1992) จำกัด ณ สถานีมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เพื่อเป็นการสนับสนุนการขนส่งสินค้าจากแหล่งวัตถุดิบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงไปยังโรงงานผลิตในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับปริมาณการขนส่งสินค้า สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ
นายนิรุฒ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ความร่วมมือการเปิดเดินขบวนรถสินค้าคอนเทนเนอร์ บรรทุกเกลือ ระหว่างสถานีมาบตาพุด – ชุมทางบัวใหญ่ กับ บริษัท เอ็น. อี. (1992) จำกัด เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่มีส่วนสำคัญที่การรถไฟฯ ให้การสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางรถไฟจากแหล่งวัตถุดิบในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ส่งต่อไปยังโรงงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ภายใต้กรอบระยะเวลา 1 ปี โดยขนส่งสินค้าจากศูนย์กองเก็บตู้คอนเทนเนอร์ (Container Yard) ที่สถานีชุมทางบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ไปยังสถานีรถไฟมาบตาพุด จังหวัดระยอง ด้วยตู้คอนเทนเนอร์วางบนแคร่ จำนวน 25 แคร่ ความยาว 50 ตู้ บรรทุกน้ำหนัก 62 ตัน/เที่ยว อัตราค่าขนส่งแบบเหมาขบวนรถไปกลับเที่ยวละ 250,000.- บาท ปริมาณการขนส่งในแต่ละเดือน 15 ขบวน รวม 144 ขบวน คิดเป็นมูลค่าการขนส่งรวม 36 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางแผนที่จะพัฒนาความร่วมมือกับการรถไฟฯ ในระยะยาว โดยการลงทุนจัดหาตู้สินค้าเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าทางรถไฟโดยเฉพาะ เนื่องจากการขนส่งทางรถไฟสามารถอำนวยความสะดวกทั้งในด้านปริมาณการขนส่งและช่วยลดระยะเวลาการเดินทาง รวมทั้งช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ รัฐบาลได้ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนพัฒนาระบบรางให้เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ อาทิ รถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ และชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น เพื่อขนส่งสินค้าระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับภาคตะวันออก และท่าเรือแหลมฉบัง การใช้หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า น้ำหนักกดเพลา 20 ตัน ที่สามารถลากจูงได้สูงสุด 2,500 ตันต่อขบวน พร้อมแคร่บรรทุกตู้สินค้าที่สามารถเพิ่มปริมาณการขนส่ง รวมถึงการให้ความสำคัญต่อการเชื่อมโยงในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและศูนย์บริการโลจิสติกส์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า หรือการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ อาทิ ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า สถานีขนส่งสินค้า รวมทั้งการจัดหาอุปกรณ์การยกขนตู้สินค้าทางรถไฟ ในแนวเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับฐานการผลิตอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมของประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางรางถือเป็นระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ ประหยัดพลังงาน ปลอดภัยและมีความคุ้มค่า สามารถขนส่งได้ครั้งละจำนวนมากกว่าทางถนนหลายเท่าตัว อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการช่วยเพิ่มรายได้แก่การรถไฟฯ อีกทางหนึ่งด้วย
ซึ่งการรถไฟฯ เชื่อมั่นว่า การขนส่งสินค้าทางรางมีโอกาสขยายตัวได้มากในอนาคต โดยมีปัจจัยสนับสนุน เช่น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูง ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งทางถนนเพิ่ม การขนส่งทางรางจึงเป็นทางเลือกที่ช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งได้ ประกอบกับรัฐบาล กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฯ มีการลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เส้นทางรถไฟสายใหม่ รวมถึงมีการจัดหาหัวรถจักรรุ่นใหม่ ซึ่งจะเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งให้กว้างขึ้น ทำให้บริษัทขนส่งต่าง ๆ มีความเชื่อมั่นต่อการขนส่งสินค้าทางราง เห็นได้จากมีลูกค้าสนใจติดต่อเข้ามาเปลี่ยนโหมดมาใช้บริการขนส่งทางรถไฟอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยมีเป้าหมายในการยกระดับศักยภาพการขนส่งทางรถไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรถไฟฯ ได้มีการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีหนองคาย และ CY สถานีนาทา รวมถึงการเพิ่มขบวนรถสินค้า ทั้งรถจักร และรถพ่วง เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าให้สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ ในการสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตลอดจนรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าข้ามแดนไทย-สปป.ลาว ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง สปป.ลาว-จีน
อนึ่งการรถไฟฯ อยู่ระหว่างจัดหาโบกี้รถบรรทุกตู้สินค้า 965 คันมูลค่ารวมประมาณ 2,000 ล้านบาท จากปัจจุบันมีโบกี้รถบรรทุกตู้สินค้าราว 1,000 คัน ซึ่งใกล้เต็มศักยภาพแล้ว ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าใช้บริการขนส่งสินค้าทางรางราว 60 ราย แบ่งเป็นรายย่อยประมาณ 50 ราย ลูกค้าเหมารายใหญ่ 10 ราย ทั้งนี้ การรถไฟฯ ยังอยู่ระหว่างเจรจากับภาคเอกชนอีก 5-10 ราย เช่น ผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์, ไม้แปรรูป, เกลือ, ปุ๋ย เป็นต้น โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภาคในปีนี้
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS