จุดอ่อนแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ (5)

Amazing AEC กับเกษมสันต์

บทความเดลินิวส์ฉบับวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2562

ตอน จุดอ่อนแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ (5)

ผมเขียนถึงจุดอ่อนแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติมา 4 ตอนแล้ว แต่ก็ยังมีอีกมากมายหลายจุดที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่ ถ้าเขียนทั้งหมดก็เกรงว่าจะยาวเกินไปเพราะมีจุดอ่อนเยอะมากเหลือเกิน เลยจะขอสรุปให้จบภายในอาทิตย์นี้และอาทิตย์ หน้าเท่านั้น โดยจะขอยกเอาจุดอ่อนที่เห็นได้อย่างชัดเจน

เริ่มกันที่ แผนแม่บทฯ การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม ซึ่งมีเป้าหมายให้คนไทยมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม ฯลฯ มีตัวชี้วัดคือ “ดัชนีคุณธรรม 5 ประการ” ประกอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต การมีจิตสาธารณะ การเป็นอยู่อย่างพอเพียง การกระทำอย่างรับผิดชอบ ความเป็นธรรมทางสังคม ต้องเพิ่มขึ้น 10 – 20 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละช่วง 5 ปี คำถามสำคัญก็คือ ดัชนีคุณธรรม 5 ประการที่จะใช้เป็นตัวชี้วัดนั้นจัดทำเสร็จหรือยัง? เพราะเท่าที่ติดตามผมพบว่าจนถึงเดือนมีนาคมปีนี้ ดัชนีคุณธรรม 5 ประการก็ยังจัดทำไม่เสร็จ

ส่วนการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรมซึ่งมีเป้าหมายคือคนไทยเป็นมนุษย์ที่มีความพร้อมทุกมิติตามมาตรฐานและสมดุลทั้งด้านสติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม มีจิตวิญญาณที่ดี เข้าใจในการปฏิบัติตนปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมดีขึ้น อ่าน แล้วน่าสนใจเพราะกว้างขวางครอบคลุมดี แต่กลับมีตัวชี้วัดเพียงตัวเดียวคือ “ประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไปมีกิจกรรมการ ปฏิบัติตนที่สะท้อนการมีคุณธรรมจริยธรรม” เพิ่มขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ทุกๆ 5 ปีนั้น กิจกรรมการปฏิบัติตนฯ ที่ว่าจะวัดกัน อย่างไร?ใครเป็นผู้วัด? และตัวชี้วัดตัวนี้ครอบคลุมดีและเพียงพอที่จะบอกได้ว่าเป้าหมาย ดังกล่าวบรรลุได้จริงหรือไม่?

แผนการส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ ให้เป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศ ส่งเสริมให้มีงานทำหลังเกษียณ สร้างเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพ การป้องกันโรคให้ผู้สูงอายุ พร้อมจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นมิตรับผู้สูงอายุและหลักประกันทางสังคมที่สอด คล้องกับความจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต เขียนไว้กว้างขวางครอบคลุมเหมาะสมกับการเป็นสังคมผู้สูงอายุของไทยเรา ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่ที่รอการแก้ไขในอนาคต แต่กลับเขียนตัวชี้วัดไว้เพียงตัวเดียวคือ “เปอร์เซ็นต์ของผู้สูงอายุที่มีงานทำ และรายได้เหมาะสม” ซึ่งลำพังการมีงานทำของคนสูงอายุนั้นจะไม่สามารถวัดเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างแน่นอน

แผนแม่บทฯ ด้านศักยภาพการกีฬาซึ่งเขียนเอาไว้ว่าให้ความสำคัญกับการกีฬาและนันทนาการบนฐานของวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างการพัฒนา สร้างสุขภาวะ พัฒนาจิตใจ สร้างความสามัคคีของคนในชาติ หล่อหลอมการ เป็นพลเมืองดี พัฒนาคุณภาพชีวิต ฯลฯ เขียนไว้อย่างดีอีกเช่นเคยแต่กลับมีตัวชี้วัดหลักเพียงตัวเดียวคือ “อายุเฉลี่ยของการ มีสุขภาพดี” เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากไม่น้อยกว่า 68 ปีในช่วงพ.ศ. 2561-65 แล้วค่อยๆเพิ่มไปถึงไม่น้อยกว่า 75 ปีเมื่อถึงปี พ.ศ. 2580 ทั้งที่ควรจะมีตัวชี้วัดที่หลากหลายครบถ้วนกว่านี้

แผนแม่บทฯ ด้านความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม ซึ่งเขียนไว้อย่างดีว่าการพัฒนาประเทศในระยะ 20 ปีข้างหน้า จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความเป็นธรรมและหลักประกันทางสังคมที่เป็นธรรมอย่างบูรณาการและเป็นระบบ ซึ่งมีการพูดถึงการปฏิรูปภาษีและการคุ้มครองผู้บริโภค แต่การปฏิรูปภาษีนั้นกลับไม่มีเป้าหมายและไม่มีตัวชี้วัด เช่นเดียว กับการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งเขียนไว้อย่างดีว่า จะพัฒนาระบบและกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพและสนับ สนุนองค์กรของผู้บริโภคให้มีความเข้มแข็ง ป้องกันการละเมิดสิทธิผู้บริโภค ฯลฯ แต่ก็ไม่มีเป้าหมายและตัวชี้วัดใดๆที่ เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคเลย

แผนแม่บทฯ ด้านการเติบโตอย่างยั่งยืนซึ่งมี 5 แผนย่อยที่เขียนไว้ครอบคลุมดีและมีตัวชี้วัดระดับสากลใช้ได้ แต่ในเรื่อง การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศ ที่มีเป้าหมายว่า คนไทยมีคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีตัวชี้วัดคือ “ดัชนีตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม” ซึ่งตั้งเป้าไว้ว่า 20 เปอร์เซ็นต์ใน ทุกๆช่วง 5 ปี ซึ่งเขียนไว้ลอยจึงไม่รู้ว่าเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของอะไร? ที่น่าตกใจกว่านั้นก็คือดัชนีตระหนักรู้ด้านสิ่ง แวดล้อมนั้นยังจัดทำไม่เสร็จหรือยังไม่มีนั่นเอง


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment