จุดอ่อนแผนแม่บทยุทธศาสตร์ขาติ (4)

Amazing AEC กับเกษมสันต์

บทความเดลินิวส์ฉบับวันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2562

ตอน จุดอ่อนแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ (4)

แผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการท่องเที่ยวนั้น เขียนไว้ว่าในอนาคตอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะมีการแข่งขันที่รุน แรงมากยิ่งขึ้นเนื่องจากหลายประเทศจะใช้การท่องเที่ยวในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ ดังนั้นไทยจึงต้องพัฒนายก ระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับความต้องการของ นักท่องเที่ยว โดยมีการตั้งเป้าหมายว่าเมื่อถึงปีพ.ศ. 2580 สัดส่วน GDP การท่องเที่ยวต่อ GDP ประเทศต้องเพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวเมืองหลักและเมืองรอง เป็น 60 : 40 และอันดับความสามารถทางการแข่งขัน ด้านการท่องเที่ยวของไทย โดย Travel & Tourism Competitiveness Index (TTCI) ต้องอยู่ 1 ใน 24 อันดับแรกของโลก

TTCI จัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของไทยไว้ที่ 34 จากทั้งหมด 136 ประเทศที่มีการจัดอัน ดับกัน ประเทศที่มีความสามารถดีที่สุดในโลกสามอันดับแรกคือ สเปน ฝรั่งเศส และสหรัฐตามลำดับ โดยมีญี่ปุ่นได้อันดับ ที่ 4 ทำได้ดีที่สุดจากเอเชีย ส่วนประเทศในอาเซียนที่เก่งกว่าไทยคือ สิงคโปร์ อันดับที่ 13 และมาเลเซียอันดับที่ 26 ขณะที่ ประเทศเพื่อนบ้านแม้จะเก่งวันเก่งคืน แต่อันดับความสามารถก็ยังตามหลังไทยค่อนข้างห่าง เวียดนามได้อันดับที่ 67 สปป.ลาวอันดับที่ 94 และกัมพูชาอันดับที่ 101

การจัดอันดับของ TTCI นั้นไม่ได้จัดลำดับความเก่งจากจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวซึ่งไทยเราทำได้ดี ติดอันดับต้นๆของโลก โดยเฉพาะด้านรายได้ แต่จัดจากความสามารถทั้งสิ้น 12 ด้าน ด้านที่ไทยเราทำได้ดี 5 อันดับแรก โดยตัวเลขในวงเล็บคือลำดับความสามารถล่าสุดซึ่งจัดเมื่อพ.ศ. 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับ 136 ประเทศ คือ ทรัพยากร ธรรมชาติ (7) โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการท่องเที่ยว (16) ความสามารถในการแข่งขันด้านราคา (18) โครงสร้างพื้นฐานการ เดินทางทางอากาศ (20) ความพร้อมด้านวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว (37)

ส่วนด้านที่เราทำได้แย่มาก 3 อันดับสุดท้ายคือ สุขภาพและสุขอนามัย (90) ความปลอดภัยใน ชีวิตและทรัพย์สิน (118) และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม (122) ปัญหาทั้งสามด้านนี้คนไทยคงรู้ดีว่าไม่ใช่ปัญหาเฉพาะนักท่องเที่ยวเท่านั้นแต่ยัง เป็นปัญหาใหญ่และเรื้อรังของคนไทยเช่นกัน ดังนั้นถ้าจะทำให้ไทยมีอันดับความสามารถทางการท่องเที่ยวดีขึ้นนั้นจะ ต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ได้ซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย การตั้งเป้าโดยมีตัวชี้วัด ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากอันดับที่ 118 ในปัจจุบันให้ดีขึ้นไปติด 55 อันดับแรก และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมจากอันดับที่ 122 ให้ดีขึ้นไปติด 80 อันดับแรก เป็นการตั้งเป้าที่ท้าทาย เป็นเรื่องดีมากซึ่งจะต้องทำให้ได้ แต่ความสามารถด้านสุขภาพและสุขอนามัยของนักท่องเที่ยวซึ่ง ปัจจุบันได้อันดับที่ 90 คนเขียนแผนแม่บทคงไม่คิดว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข จึงไม่มีเป้าหมายและตัวชี้วัดที่จะ พัฒนาและปรับปรุงปัญหานี้ให้ดีขึ้น น่าเป็นห่วง

เมื่อเจาะลึกแผนย่อยการท่องเที่ยวซึ่งมี 6 ด้านคือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชิงธุรกิจ เชิงสุขภาพ ทางน้ำ การท่องเที่ยว เชื่อมโยงภูมิ ภาคและการพัฒนาระบบนิเวศการท่องเที่ยวนั้น เป้าหมายและตัวชี้วัดของ 5 เรื่องแรกเน้นไปที่การขยายตัว รายได้เป็นหลัก ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าคนเขียนแผนแม่บทนั้นให้ความสนใจเรื่องรายได้จากการท่องเที่ยวเพียงเรื่องเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เน้นแต่รายได้ ก็ย่อมจะส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของสิ่งแวด ล้อมและการท่องเที่ยวอย่างแน่นอน

ส่วนแผนย่อยการท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค ซึ่งเขียนไว้ดีมากว่ามีแนวทางที่จะพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยง ระหว่างประเทศในภูมิภาค โดยใช้ประโยชน์จากโครงข่ายคมนาคมที่มีอยู่แล้วและกำลังจะเกิดขึ้นใหม่ ส่งเสริมและบูรณา การความร่วมมือภายใต้กรอบความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคและอาเซียน พัฒนาและยกระดับพิธีการผ่านแดนของการ เดินทางในทุกรูปแบบอย่างไร้รอยต่อส่งเสริมการตลาดร่วมกันกับอาเซียน แต่กลับมีเป้าหมายเพียงเป้าหมายเดียวคือไทย เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวในอาเซียน ตัวชี้วัดก็มีเพียงตัวเดียวคืออัตราการขยายของจำนวนนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติที่เดินทางผ่านแดนระหว่างไทยกับอาเซียน แผนแม่บทฯจึงชี้ชัดว่าเราอยากจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของ อาเซียนเพียงอย่างเดียว ส่วนการร่วมมือกับอาเซียนในมิติต่างๆที่เขียนไว้อย่างดีกลับไม่มีเป้าหมายและตัวชี้วัด ดังนั้นจึงมี ความเป็นไปได้สูงมากที่ไทยเราจะเน้นการท่องเที่ยวเฉพาะของบ้านเราประเทศเดียวเหมือนเดิม


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment