{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ใครจะคิดว่า...สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. จะสามารถหารายได้จากการบริหารคลื่นความถี่ในช่วงเวลาเพียง 6 ปี ได้เงินประมูลมากถึง 3.25 แสนล้านบาท ยังไม่นับรวมรายได้จากการจัดประมูลหมายเลขโทรศัพท์มือถือสุดสวยที่จัดขึ้นอีก 253 ล้านบาท
ข้อมูลจาก กสทช. ระบุว่า เงินที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่ทีวีดิจิทัลและเลขสวย ได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและหักเข้ากองทุน ก่อนนำส่งเข้ารัฐ ซึ่งตั้งแต่ปี 2558 จนถึงเดือนเมษายน 2561 มียอดเงินประมาณ 113.766 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในปี 2561 กสทช. ได้เตรียมจัดให้มีการประมูลคลื่นมือถือ 1800 MHz จำนวน 3 ชุด 2x15 MHz ในช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งหากเป็นไปตามแผน สามารถประมูลได้ทั้งหมด ก็จะมีรายได้จากการประมูลไม่ต่ำกว่า 1.12 แสนล้านบาท ถ้าคิดจากราคาเริ่มต้นประมูล 37,457 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาสุดท้ายจากการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ในครั้งก่อน
ยังไม่นับคลื่นความถี่ 850 MHz ที่จะได้คืนมา แต่กันไว้ใช้สำหรับรถไฟฟ้าความเร็วสูง คลื่นความถี่ 2600 MHz จำนวน 80 MHz ที่ได้รับคืนมาจาก บมจ.อสมท. และคลื่นความถี่ 700 MHz ที่ให้ทีวีดิจิทัล ใช้อยู่ ที่อนาคตอาจถูกนำมาร่วมประมูลเพิ่มขึ้น
ทว่า กลุ่ม “ทรู” ออกมาให้ข่าวว่าจะไม่ร่วมการประมูล หลังจากได้ศึกษาหลักเกณฑ์การประมูลแล้ว เห็นว่าไม่ค่อยได้ประโยชน์กับบริษัทมากนัก
เครือ “เอไอเอส” ก็อาจตัดสินใจเช่นเดียวกับทรู เพราะยังมีภาระจากการประมูลคราวก่อน รวมถึงสิ่งที่มีอยู่ในมือก็ยังรองรับธุรกิจได้
จะเหลือแค่ “ดีแทค” ที่แม้ว่าจะเข้าร่วมประมูล แต่ก็อาจตัดสินใจใหม่ได้ หลังจากเข้าไปร่วมใช้คลื่นความถี่ 2300 MHz กับ บมจ. ทีโอที ที่จะปรับรูปแบบและประคับประคองได้ระยะหนึ่งเช่นเดียวกัน
เมื่อผู้เล่นมีน้อย คลื่นความถี่มีอยู่มาก ขณะที่ตลาดมือถือในประเทศไทยอาจไม่ได้ขยายตัวโตพรวดพราดเหมือนเก่า ดูได้จากจำนวนหมายเลขโทรศัพท์ที่ กสทช.ได้อนุมัติไปแล้ว แต่ยังเหลืออีกจำนวนมาก
กสทช. เองก็น่าจะทำใจ หากเหลือผู้เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz เพียงรายเดียว หรืออาจไม่มี
ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องเสียหน้า
เพียงแต่ กสทช.อาจไม่ได้ปั๊มเงินเข้ารัฐได้มากมายเหมือนแต่ก่อน หรืออาจต้องรอจังหวะเวลา
คิดอีกมุมหนึ่ง อาจทำให้ กสทช. กลับไปคิดทบทวนถึงบทบาทที่แท้จริงขององค์กรว่า ที่แท้จริงแล้ว เป็นองค์กรที่ควบคุมดูแล
เป็นองค์กรที่จะเข้าไปเสริมสร้างประสิทธิภาพการให้บริการ การเพิ่มศักยภาพของเครือข่าย การเพิ่มเข้าถึงของประชาชน รวมไปถึงการป้องกันดูแลให้ผู้รับสัมปทานดำเนินการภายใต้กฎระเบียบเป็นสำคัญ
ไม่ใช่เป็นองค์กรที่แสวงหาเพียงแค่รายได้
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS