{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กรมศุลกากรเผย ระบบศุลกากรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Customs System: e-Coms) เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการตรวจปล่อยสินค้า ลดความเสี่ยงในการนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย เพิ่มความคล่อง ช่วยสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ
นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรได้อนุญาตให้บริษัท อีดับเบิ้ลยูทีพีดิจิตอล เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งเขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ eWTP Thailand Duty Free Zone ขนาด 200,000 ตร.เมตร ซึ่งสอดรับกับ พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 และประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในการส่งเสริมกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ และเสริมประสิทธิภาพการนำเข้าให้คล่องตัว โดยกรมศุลกากรได้ออกประกาศกรมศุลกากร ที่ 204/2562 ลงวันที่ 24 กันยายน 2562 รองรับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรในรูปแบบใหม่ที่จะมีขึ้นในเขตปลอดอากรดังกล่าว
กรมศุลกากรได้พัฒนาพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้กับเขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า ระบบศุลกากรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Customs System: e-Coms) เพื่อให้การปฏิบัตพิธีการศุลกากรในเขตปลอดอากรดังกล่าว มีความสะดวกรวดเร็ว มาตรฐานสากล และลดความเสี่ยงในการนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย พร้อมทั้งมั่นใจว่าการนำเข้าสินค้าจะเกิดความคล่องตัวมากขึ้น
ซึ่งตามประกาศกรมศุลกากรดังกล่าวข้างต้น กำหนดให้เขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีระบบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการรับมอบ ส่งมอบ การขนย้าย การเก็บรักษา การตรวจสอบสินค้าคงเหลือ และการตรวจปล่อยสินค้าที่ทันสมัย ได้แก่ เครื่องเอกซเรย์ ระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเทคโนโลยีระบุตัวตนของสินค้า ระบบสายพานลำเลียงสินค้า เครื่องชั่งน้ำหนักอิเล็กทรอนิกส์ ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่สามารถบันทึกภาพเหตุการณ์ บุคคล หมายเลขทะเบียนยานพาหนะ หมายเลขตู้คอนเทนเนอร์และ/หรือสิ่งของที่ผ่านเข้าออก ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลภาพย้อนหลังได้ไม่น้อยกว่า 60 วัน หรือระบบควบคุมอื่นใดเพิ่มเติมตามที่กรมศุลกากรกำหนด (ข้อกำหนดที่แตกต่างจากเขตปลอดอากรทั่วไป)
ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ผู้ประกอบกิจการในเขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ต้องส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับของที่นำเข้าเขตปลอดอากรดังกล่าว เข้าสู่ระบบ e-Coms ของกรมศุลกากรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ก่อนยานพาหนะที่ขนส่งของจะมาถึงท่า ที่ หรือด่านศุลกากร ที่นำเข้า โดยระบบศุลกากรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Coms) สามารถรองรับทุกประเภทการขนส่งสำหรับสินค้า
ที่นำเข้าเขตปลอดอากรและเมื่อมีการขนย้ายสินค้าจากระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Lock) เพื่อประโยชน์ในการควบคุมตรวจสอบได้ระหว่างการเคลื่อนย้าย และเมื่อมีสินค้าที่นำเข้าเก็บในคลังสินค้าจะมีการควบคุมด้วยระบบเอกซเรย์และเทคโนโลยีระบุตัวตนของสินค้า และเมื่อเริ่มการจัดทำบัญชีสินค้าคงคลังอิเล็กทรอนิกส์ (e-Inventory) แล้ว หากพนักงานศุลกากรมีเหตุสงสัยในความไม่ถูกต้องของสินค้านั้น ๆ จะทำการตรวจสอบสินค้าทางกายภาพเพิ่มเติม
สำหรับใบขนสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ฯ ที่มีภาระอากร ผู้ประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังไม่ต้องชำระค่าอากร จนกว่าจะครบกำหนด 14 วันนับแต่วันที่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรออกเลขที่ใบขนสินค้าตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้ให้สิทธิประโยชน์ไว้
รองอธิบดีกรมศุลกากร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมศุลกากรมุ่งมั่นในการส่งเสริมการจัดตั้งเขตปลอดอากร และพัฒนาระบบศุลกากรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Customs System: e-Coms) อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับระบบโลจิสติกส์ของโลกที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และเพื่ออำนวยความสะดวก ลดเวลา เพิ่มความเชื่อมั่น และเพิ่มความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ที่สำคัญจะมีส่วนในการสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศอีกทางหนึ่ง
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS