{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) โชว์กำไรสุทธิปี’64 ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ แตะ 2,229.27 ล้านบาท บอร์ดสั่งจ่ายปันผลระหว่างกาลอัตรา 0.12 บาทต่อหุ้น ปี 65 ตั้งเป้ารายได้โตปีละ 20% พร้อมอัดงบลงทุน 3 ปี (2565-2567) ไว้ที่ 20,000 ล้านบาท หนุนการเติบโตได้ต่อเนื่อง
ดร.สมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานงวดปี 2564 (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564) บริษัทมีกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่มีกำไรสุทธิ 2,229.27 ล้านบาท ส่วนรายได้รวมเท่ากับ 9,868.13 ล้านบาท อย่างไรก็ตามบริษัทฯ มีกำไรในส่วนกำไรปกติของธุรกิจ (ไม่มีรายการจำหน่ายเงินลงทุน) จำนวน 2,251.52 ล้านบาท เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันกับปีก่อนแสดงเพียง 1,188.42 ล้านบาท ซึ่งถือว่ากำไรปกติของธุรกิจเติบโตขึ้น 90% โดยหากนับรวมกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนจะแสดงจำนวน 3,425 ล้านบาท
ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผล สำหรับงวดครึ่งหลังปี 2564 จากกำไรในปีและกำไรสะสม ให้กับผู้ถือหุ้นเป็นเงินสดในอัตราหุ้นละ 0.12 บาท รวมเป็นเงินปันผลจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 1,068 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้จ่ายเงินปันผลงวดครึ่งปีแรกไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.06 บาท รวมจ่ายเงินปันผลงวดปี 2564 ในอัตรา 0.18 บาทต่อหุ้น โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 วันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) คือวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 และกำหนดจ่ายเงินปันผล ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2565
สำหรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจในปี 2565 ดร.สมบูรณ์ กล่าวว่า กลุ่มบริษัทยังคงเร่งผลักดันการเติบโตธุรกิจทุกภาคส่วน โดยธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ซึ่งคิดเป็น 60% ของยอดขายทั้งหมด ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตในมือรวมทั้งสิ้น 642 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ประเทศไทย เวียดนาม มาเลเซีย และญี่ปุ่น ซึ่งปีนี้ตั้งเป้าหมายกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 700 เมกะวัตต์ และเพิ่มกำลังการผลิตไปแตะระดับ 1,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2566
โดยธุรกิจงานรับเหมาก่อสร้างและวางระบบทางด้านวิศวกรรม (EPC) คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 21.41% ของรายได้รวม ปัจจุบันมีงานในมือ(Backlog) ประมาณ 4,500 ล้านบาท ซึ่งทยอยรับรู้รายได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งปีนี้บริษัทมีแผนเตรียมเข้าร่วมประมูลโครงการใหม่ๆ ที่จะเปิดให้ประมูลกว่า 50,000 ล้านบาท และคาดว่าบริษัทมีโอกาสได้รับงานประมาณ 7-10% ของมูลค่างานทั้งหมด ขณะที่มีแผนจะนำ บริษัท กันกุล พาวเวอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (GPD) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ GUNKUL และถือหุ้นใน บริษัท ฟิวเจอร์ อีเล็คทริคอล คอนโทรล จำกัด (FEC) เข้าจดทะบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในปี 2565
ธุรกิจกัญชง-กัญชา การเพาะปลูกและโรงสกัดยังดำเนินการได้ตามแผน ซึ่งประมาณต้นเดือนเมษายนนี้ บริษัทจะเตรียมเปิดคลินิกแพทย์แผนไทยเพื่อให้บริการลูกค้า และจำหน่ายผลิตภัณ์กัญชง กัญชาปลายน้ำ ครบวงจร ณ อาคาร Pearl Bangkok ชั้น 2 ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชม และเข้ารับบริการได้ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2565
ด้านธุรกิจ “โกดังไฟฟ้าดอทคอม” ตลาดออนไลน์ของอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าและโซลาร์ร่วมมือกันระหว่าง GUNKUL SPECTRUM หน่วยนวัตกรรมธุรกิจพลังงานของ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) กับ เอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) ด้วยแนวคิด Add Energy To Cart จากการเปิดตัวมาเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน มียอดขายเป็นที่น่าพอใจและคาดว่าจะเป็นช่องทางการจำหน่ายที่เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต
ขณะเดียวกัน กลุ่ม GUNKUL ยังสร้างโอกาสทางธุรกิจโดยร่วมมือกับ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ORI จัดตั้งบริษัทร่วมทุน ภายใต้ชื่อ บริษัท ออริจิ้น กันกุล เอ็นเนอร์ยี จำกัด เพื่อร่วมกันดำเนินกิจการด้านพลังงานทดแทน/พลังงานสะอาดในโครงการที่อยู่อาศัยในกลุ่มธุรกิจบ้านจัดสรรภายใต้บริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) BRI โดยในเฟสแรกจะเริ่มติดตั้งโซลาร์รูฟและนำร่องสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าระยะยาว หรือ Private PPA (Power Purchase Agreement) กับพื้นที่ส่วนกลางโครงการ แกรนด์ บริทาเนีย ราชพฤกษ์-พระราม 5 และโครงการแกรนด์ บริทาเนีย บางนา กม.12
นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับ บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) JMART และบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) SINGER ตั้งบริษัทร่วมทุน ธุรกิจ Solar Rooftop-สถานีชาร์จรถไฟฟ้า (EV Charging Station)-กัญชง กัญชาเพื่อสุขภาพ-จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและโซลาร์โซลูชั่น เป็นการผสมผสานมิติเชิงพาณิชย์เสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจเดิม ซึ่งจะทำให้พลังงานจับต้องได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้วยการทำธุรกิจ EV Charging Station ตอบรับกับวิสัยทัศน์ Zero-Carbon Ecosystem
ทั้งนี้ กลุ่ม GUNKUL เล็งเห็นการเติบโตและการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต จึงวางงบลงทุนใน 3 ปี (2565-2567) ไว้ที่ 20,000 ล้านบาท เฉลี่ยประมาณ 7,000-8,000 ต่อปี โดยแบ่งลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนประมาณ 15,000 ล้านบาท เพื่อซื้อโรงไฟฟ้าขนาด 400-500 เมกะวัตต์ ลงทุนในธุรกิจกัญชง 2,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือประมาณ 3,000 ล้านบาท ลงทุนในธุรกิจงานก่อสร้างโรงงานและคลังสินค้า (Built-to-Suit) จำนวน 10 แห่ง ถือเป็นการเตรียมความพร้อมในการเติบโตของเครือบริษัท โดยกลุ่มบริษัท วางเป้าหมายการเติบโตไว้ไม่ต่ำกว่าปีละ 20%
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS