{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กระทรวงพาณิชย์ ชี้ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในสวิตเซอร์แลนด์ การขยายตัวต่อเนื่อง เป็นโอกาสในการส่งออกของไทยที่จะวางแผนเจาะตลาด
นางสาวปิตินันทน์ สมานวรวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองแฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยด้านการทำการเกษตรอินทรีย์ของสวิตเซอร์แลนด์ ได้เผยแพร่ผลการสำรวจผู้บริโภคเกี่ยวกับตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ จำนวน 500 คน โดยพบว่าตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของสวิตเซอร์แลนด์มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคมั่นใจว่าจะบริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์มากขึ้นในอนาคต โดยมีการคาดการณ์แนวโน้มการบริโภคในปี 2563 จะสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
ผลการสำรวจยังพบว่าชาวสวิสประมาณ 80% มีการจับจ่ายซื้อสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์เป็นครั้งคราว และ 15% มีการจับจ่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นปกติ มีเพียงแค่ 1.3% เท่านั้น ที่ไม่เคยซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์เลย โดยมีมูลค่าการซื้อเฉลี่ยประมาณ 300 ฟรังก์ต่อคนต่อปีในปี 2560 และเพิ่มเป็น 360 ฟรังก์สวิสต่อคนต่อปีในปี 2561 ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีการจับจ่ายซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์มากที่สุดในโลก
นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่าผู้หญิงมีแนวโน้มการบริโภคสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์สูงกว่าผู้ชาย และสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นที่นิยมในเขตเมืองมากกว่าเขตชนบท และทางภาคตะวันตกของประเทศนิยมมากกว่าภาคอื่นๆ
นางสาวปิตินันทน์กล่าวว่า เหตุผลที่ชาวสวิสนิยมซื้อสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ เพราะเห็นว่าเป็นอาหารที่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่เป็นธรรมชาติ โดยมีเหตุสำคัญที่ซื้อสินค้า ก็คือ การเลี้ยงสัตว์โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของสัตว์มากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ ปริมาณยาฆ่าแมลงและสารตกค้างที่เป็นอันตรายน้อยลง การใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงปศุสัตว์น้อยลง การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ และการได้รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงเป็นโอกาสในการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย เจาะเข้าสู่ตลาดสวิตเซอร์แลนด์ เพราะไทยเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้หลากหลาย ทั้งอาหารและไม่ใช่อาหาร และยังมีสินค้าเกษตรนวัตกรรม ที่นำสินค้าเกษตรมาผลิตอีกเป็นจำนวนมาก
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS