GSK แนะเร่งสร้างความตระหนักรู้เรื่อง “สุขภาพช่องปาก” แก่ประชาชน

จีเอสเค แนะ ควรเร่งสร้างความตระหนักรู้เรื่อง “สุขภาพช่องปาก” แก่ประชาชน เพื่อสร้าง “สุขภาพที่ดีแบบองค์รวม”

จากผลการงานวิจัยล่าสุดโดยอิปซอส ร่วมกับ จีเอสเค คอนซูเมอร์ เฮลธ์แคร์ กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 4500 คนใน 9 ประเทศ ซึ่งรวมกลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทยด้วย 500 คน พบประเด็นที่น่าสนใจจากกลุ่มตัวอย่างชาวไทยว่า มีคนไทยเป็นส่วนน้อยที่มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบของการมีสุขภาพช่องปากที่ดี ซึ่งมีต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าไปส่งเสริมพฤติกรรมในการดูแลช่องปากที่ดี เพื่อทำให้ผู้บริโภคเห็นว่า หากพวกเขาไม่ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี ซักวันหนึ่งรอยยิ้มอันสดใสบนใบหน้าอาจจะหายไปได้

บรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างยอมรับว่า สุขภาพช่องปากมีความเชื่อมโยงกับสุขภาพร่างกายอย่างแยกจากกันไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม คนในสังคมยังมีระดับการตระหนักรู้ต่ำจนน่ากังวล จากประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อมีการแปรงฟันอย่างถูกวิธี การดูแลช่องปากที่ดี และการไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ

ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปากที่ดีในระหว่างตั้งครรภ์

ในระหว่างตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้นสามารถเปลี่ยนแปลงแนวทางที่ร่างกายตอบสนองต่อการสะสมของคราบจุลินทรีย์ในฟัน และอาจจะส่งผลให้เกิดอาการเหงือกบวม ซึ่งเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคเหงือก สตรีที่ตั้งครรภ์ซึ่งมีภาวะโรคเหงือกขั้นรุนแรง หรือโรคปริทันต์อักเสบ มีโอกาสเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด มีภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือให้กำเนิดบุตรที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย ดังนั้น พฤติกรรมการดูแลช่องปากที่ดีและการไปรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น

อย่างไรก็ตาม มีเพียงร้อยละ 61 ของผู้ตอบแบบสำรวจเท่านั้น ที่ตระหนักว่าการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีจะช่วยส่งเสริมการตั้งครรภ์ที่ดี และลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ แต่ในหมู่ผู้ตอบแบบสอบถามสูงวัย พบว่า หลายคนยังมีความตระหนักรู้ต่ำเกี่ยวกับความเสี่ยงของการมีสุขภาพช่องปากที่ไม่ดีซึ่งมีผลต่อการตั้งครรภ์ ส่วนอีกร้อยละ 71 ของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี รับรู้ถึงความเสี่ยงนั้น แต่ตัวเลขดังกล่าวกลับลดลงเหลือร้อยละ 52 สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงไม่ทราบถึงความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพช่องปากและโรคเบาหวาน

การดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ดีพออาจทำให้เหงือกอักเสบและเกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดยากขึ้น และเกิดการตอบสนองต่ออินซูลิน ในทางกลับกัน ระดับกลูโคสที่สูงในน้ำลายของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคฟันผุ และระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอาจทำให้เกิดบาดแผลได้ทั่วไป เช่น ในปาก ซึ่งจะรักษาให้หายได้ช้ากว่า

ในขณะที่ร้อยละ 69 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุระหว่าง 18-29 ปี ตระหนักดีว่าสุขภาพช่องปากที่ดีมีผลดีต่อการช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยจัดการกับโรคเบาหวานได้ ตัวเลขนี้ลดลงเหลือร้อยละ 62 สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โดยกลุ่มคนอายุมากกว่า 50 ปีที่มีความเสี่ยงสูง มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 มากขึ้น สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างการตระหนักรู้และการเข้าไปให้ความรู้กับคนกลุ่มนี้

ผู้คนรับรู้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพช่องปากกับโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น

งานวิจัยแสดงให้เห็นอีกครั้งว่าผู้ที่ป่วยโรคเหงือกขั้นรุนแรงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากแบคทีเรียที่เข้าไปทำลายเหงือก สามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปทั่วร่างกายและทำให้เกิดการอักเสบได้

โดยร้อยละ 63 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ทราบดีว่าพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

การศึกษาชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของการไปพบกับทันตแพทย์เป็นประจำ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้นเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพช่องปากและสุขภาพโดยรวม ผู้ตอบแบบสอบถามที่ไปพบทันตแพทย์บ่อยขึ้นในช่วงของการระบาดโรคโควิด-19 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า ต่างตระหนักถึงผลกระทบของสุขภาพช่องปากในทุกสภาวะที่สำรวจมากขึ้น

ร้อยละ 76 ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไปพบทันตแพทย์บ่อยขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ด้วยทราบดีถึงการสุขภาพช่องปากที่ดี ช่วยเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์ที่ดีไปด้วย เมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามทั่วไปที่ทราบถึงข้อมูลดังกล่าว เฉลี่ยร้อยละ 58

ร้อยละ 77 ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ไปพบทันตแพทย์บ่อยขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ตระหนักดีว่าสุขภาพช่องปากที่ดีช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ เมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามทั่วไปที่ทราบถึงข้อมูลดังกล่าว เฉลี่ยร้อยละ 65

ร้อยละ 74 ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ไปพบทันตแพทย์บ่อยขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ตระหนักดีว่าสุขภาพช่องปากที่ดีจะช่วยจัดการกับโรคเบาหวานได้ เมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามทั่วไปที่ทราบถึงข้อมูลดังกล่าว เฉลี่ยร้อยละ 62

นายอีเมอร์สัน อากีนัลโด ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไต้หวัน ของ จีเอสเค คอนซูเมอร์ เฮลธ์แคร์.กล่าวว่า การมีสุขภาพที่ดีไม่ใช่แค่การไปวิ่งหรือออกกำลังกายในยิม แล้วได้ภาพสวยๆ เพื่อโพสต์ลงโซเชียลมีเดียเท่านั้น แต่การมีสุขภาพที่ดีอาจจะเป็นพฤติกรรมทั่วๆ ไปที่เราสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน แต่กลับสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ และไม่มีข้อยกเว้นสำหรับพฤติกรรมการดูแลช่องปากที่ถูกต้อง เช่น การแปรงฟันเป็นประจำโดยใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพสำหรับผู้บริโภคที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ (เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก และไหมขัดฟัน) ดังนั้น เราต้องทำให้ประชาชนเห็นว่า หากผู้คนนำพฤติกรรมเหล่านี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม ก็จะสามารถสร้างกระทบเชิงบวกให้กับสุขภาพโดยรวมได้ และในที่สุดก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ในระยะยาวได้

ในฐานะที่เป็นบริษัทด้านการดูแลสุขภาพชั้นนำระดับโลก จีเอสเคร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด่านหน้า ไม่ว่าจะเป็น เภสัชกร ทันตแพทย์ และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อร่วมเป็นพลังให้กับผู้บริโภคสามารถดูแลสุขภาพที่ดีในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งช่วยลดปัญหาความกดดันที่เกิดขึ้นกับระบบให้บริการสุขภาพอีกด้วย


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment