KBank Private Banking จัดสัมมนาออนไลน์ ยกระดับองค์กรสาธารณกุศลไทยให้รับมือกับโลกยุคโควิด

KBank Private Banking จัดงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “องค์กรสาธารณกุศลต้องปรับตัวอย่างไรในสถานการณ์ปัจจุบัน” พร้อมด้วยวิทยากรทรงคุณวุฒิเปิดมุมมองใหม่ ยกระดับองค์กรสาธารณกุศลไทยให้รับมือกับโลกยุคโควิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า KBank Private Banking ได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “องค์กรสาธารณกุศลต้องปรับตัวอย่างไรในสถานการณ์ปัจจุบัน” พร้อมด้วยวิทยากรทรงคุณวุฒิจาก 3 องค์กรชั้นนำที่มาร่วมเปิดมุมมองใหม่ ยกระดับองค์กรสาธารณกุศลไทยให้รับมือกับโลกยุคโควิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยวิสัยทัศน์ของ KBank Private Banking ว่า “ปรัชญาการดำเนินงานของ KBank Private Banking คือการส่งมอบความมั่งคั่งที่สมบูรณ์ (Perfect Wealth) ให้กับลูกค้า ซึ่งความสุขจากการให้และการแบ่งปันถือเป็นอีกส่วนที่สำคัญ เราจึงมุ่งมั่นและเน้นย้ำถึงความสำคัญของการแบ่งปันสู่สังคมอยู่เสมอ ผ่านกลยุทธ์ S-Sharing ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์หลักของเรา โดยมีเป้าหมายในการช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรสาธารณกุศลในประเทศไทยดำเนินงานอย่างมีศักยภาพ เพื่อผลักดันให้เกิดสังคมแห่งการแบ่งปันที่ยั่งยืนท่ามกลางภาวะที่โลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นางสาวโสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโส พาร์ตเนอร์ และผู้จัดการทั่วไป เฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย บริษัทที่ปรึกษาด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ระดับโลก กล่าวว่า ในวันที่ทุกอย่างถูกท้าทาย โลกแห่งการสื่อสารก็ต้องปรับตัวด้วยเช่นเดียวกัน แนวทางการประชาสัมพันธ์ที่ครอบคลุม พร้อมปรับเปลี่ยนตามรูปแบบการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้คนในสังคมได้อย่างทันท่วงที คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการสื่อสารเจตนารมณ์ที่ดีขององค์กรสาธารณกุศลให้ประสบผลสำเร็จ

“ด้วยความหลากหลายของกลุ่มผู้บริจาค และประเด็นทางสังคมซึ่งอยู่ในความสนใจในปัจจุบัน รูปแบบการสื่อสารจึงไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว โดยสามารถเริ่มวางแผนด้วยการตอบคำถามหลัก 5 ข้อ ดังนี้ 1) เป้าหมายขององค์กรคืออะไร ตอบโจทย์ของสังคมในวันนี้และอนาคตมากน้อยแค่ไหน 2) การสื่อสารมีความสม่ำเสมอ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ 3) ระบบการบริจาคมีความสะดวกสบาย ใช้งานง่าย ตรงกับพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริจาคเพียงใด 4) ประสบการณ์โดยรวมของผู้บริจาคควรเป็นอย่างไรเพื่อสร้างความประทับใจอยู่เสมอ และ 5) การบริหารเงินบริจาคมีการชี้แจงอย่างโปร่งใสและเห็นผลจริงหรือไม่ เมื่อตอบคำถามเหล่านี้ได้ องค์กรสาธารณกุศลก็จะสามารถวางกลยุทธ์การสื่อสารที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายของตนได้

ส่วน นายอาทิวราห์ คงมาลัย ผู้ก่อตั้งและประธานมูลนิธิก้าวคนละก้าว และทีมที่ปรึกษามูลนิธิ ได้เล่าถึงการดำเนินโครงการของมูลนิธิว่า “ก้าวแรกของเรา คือการเริ่มต้นจากพลังใจที่ต้องการจะให้ โดยการใช้พละกำลังและเสียงเล็กๆ ที่เรามี มาถ่ายทอดเรื่องราวปัญหาสังคมหรือการขาดแคลนในด้านต่างๆ ให้กับประชาชนทั่วประเทศ แม้ว่าวันนี้เราจะไม่สามารถออกมาทำกิจกรรมร่วมกันได้เนื่องจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป แต่พวกเราทุกคนก็ยังคงมีส่วนร่วมด้วยกันได้ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การวิ่งแบบ virtual run หรือการบริจาคผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ของเรา ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ แฟนเพจ รายการตลาดใจ เราได้มีการปรับเปลี่ยนตัวเองให้เป็นเหมือนพื้นที่ตรงกลาง เพื่อให้ทุกคนสามารถมาร่วมสมทบทุนหรือบริจาคสิ่งของจำเป็น โดยเราจะทำหน้าที่ช่วยส่งมอบกำลังใจเหล่านี้ไปให้กับกลุ่มคนหรือหน่วยงานที่ต้องการความช่วยเหลือต่อไป รวมถึงกิจกรรมใหม่ “ก้าวเพื่อน้อง” ที่มุ่งเน้นสนับสนุนหาทุนการศึกษาให้แก่น้องๆ ที่ขาดแคลน ซึ่งเรามีความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมนี้ในทุกๆ ปี

“หนึ่งสิ่งที่เราเน้นย้ำอยู่เสมอในการระดมทุนสำหรับทุกๆ โครงการ คือการสื่อสารอย่างจริงใจและโปร่งใส ทุกบาททุกสตางค์ที่เรารวบรวมได้จะนำไปบริจาคตามเป้าประสงค์ของโครงการ 100% โดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับการสรุปชิ้นงาน เช่น การทำวิดีโอสั้นๆ เพื่อบอกเล่าตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงผลลัพธ์ที่สำเร็จอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นเหมือนการสรุปปิดกล่องของขวัญที่ทุกคนมีส่วนร่วมด้วยกัน และที่สำคัญที่สุด เราอยากขอขอบคุณทุกกำลังใจดีๆ ที่ทุกคนมอบให้ และอยากเห็นทุกคนได้รับรอยยิ้มและภาพแห่งความสุขนี้ไปพร้อมๆ กันกับเราเสมอ”

ขณะที่นางสาวเอด้า จิรไพศาลกุล ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการกลุ่ม Thai Young Philanthropist Network และ CEO เทใจดอทคอม เล่าถึงการเข้าถึงกลุ่มผู้บริจาคในยุคปัจจุบันว่า “เมื่อผู้คนย้ายไปอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น รูปแบบการบริจาคจึงต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย กลุ่มผู้บริจาคหลักในยุคนี้ คือกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 20 – 50 ปี ที่ไม่เพียงแต่จะเปลี่ยนจากการบริจาคเป็นเงินสด เป็นการบริจาคผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังมองหาความสะดวกสบาย รวดเร็ว และชัดเจนในทุกๆ การบริจาค และเชื่อมั่นว่าการบริจาคนั้น คืออีกหนึ่งเครื่องมือในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่พวกเขาต้องการ

“เทใจ เป็นเหมือนพื้นที่ออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้โครงการต่างๆ มาเข้าร่วม พร้อมกับระบบการคัดกรอง ตรวจสอบ และติดตามผลที่ละเอียดและเชื่อถือได้ เราต้องการสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันในสังคมไทยให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดี เพื่อผลักดันให้เกิดการแบ่งปันและกระจายทรัพยากรไปในวงกว้างและทั่วถึง เพื่อส่งต่อไปยังกลุ่มคนที่ต้องการความช่วยเหลือมากขึ้น หลักการของ Crowdfunding ที่เน้นการรวบรวมข้อมูลของโครงการต่างๆ ที่มีความหลากหลายทางประเด็นสังคมมาไว้ในพื้นที่เดียวกัน และยังสามารถแจกแจงรายละเอียดการจัดสรรทุนในแต่ละโครงการได้ จึงเข้ามาตอบโจทย์ปณิธานนี้ได้อย่างลงตัว “ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อเข้าถึงความสนใจของกลุ่มผู้บริจาคใหม่ๆ มากขึ้น เรายังได้ให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลของผู้บริจาคที่เข้าร่วมสมาชิกกับเราในรูปแบบ social listening เพื่อศึกษาความสนใจและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการบริจาค และนำไปพัฒนาต่อยอดแพลตฟอร์มของเรา เพื่อร่วมสร้างชุมชนการบริจาคออนไลน์ที่แข็งแกร่งต่อไป” นางสาวเอด้า กล่าว


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment