พาณิชย์เข็นอีคอมเมิร์ซตั้งเป้าทำเงิน5.35 ล้านล้านบาท ในปี 65

พาณิชย์วางแผนแผนขับเคลี่อนอีคอมเมิร์ซแห่งชาติ ตั้งเป้าสร้างรายได้กว่า 5.35 ล้านล้านบาท ในปี 65

นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นำโดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอีคอมเมิร์ซอย่างเป็นรูปธรรม รองรับการก้าวเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ New Normal ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ ซึ่งนำเข้าและผ่านเป็นมติครม.เมื่อวันที่ 30 ส.ค.64

โดยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ e-Commerce มีบทบาทสำคัญอย่างต่อเนื่องในการเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล Digital Economy ซึ่งเป็นนโยบายหลักของการพัฒนาประเทศไทย เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในโลกที่มุ่งสู่ยุคระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่หลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในนามรัฐบาลจึงได้มอบหมายให้คณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมในทุกมิติที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซของประเทศ โดยตั้งเป้าเพิ่มการเติบโตของการค้าอีคอมเมิร์ซ จากปี 2562 ที่มีมูลค่า 4.03 ล้านล้านบาท ให้มีมูลค่า 5.35 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.32 ล้านล้านบาท ภายในปี 2565

"การจัดทำแผนฉบับนี้ จะช่วยสนับสนุน 5 แนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 ของกระทรวงพาณิชย์ ในการให้ความสำคัญในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางธุรกิจ โดยกระทรวงพาณิชย์ได้การดำเนินการขับเคลื่อนและพิจารณากลั่นกรองร่วมกับ 20 หน่วยงาน 8 กระทรวง รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แผนฉบับนี้สามารถผลักดันการค้าออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ในทุกระดับและทุกภาคส่วน ตั้งแต่ในระดับประเทศ ซึ่งจะช่วยพัฒนาและส่งเสริมแพลตฟอร์มของไทยให้มีความเข้มแข็ง ลดความได้เปรียบของแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ และลดความซ้ำซ้อนในการทำงานของทุกภาคส่วน ซึ่งจะนำไปสู่การมีระบบ Big Data ของประเทศที่มีประสิทธิภาพ การเพิ่มรายได้ด้วยการขยายโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาดทั้งในและตลาดต่างประเทศให้กับผู้ประกอบการรวมถึงเกษตรกรไทย และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจด้วยการลดต้นทุนและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำที่สะดวกยิ่งขึ้น การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทย รวมถึงการพัฒนายกระดับโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านการค้าออนไลน์ทั้งระบบ ผู้ซื้อสินค้าจะมีความสะดวกสบายในการซื้อของออนไลน์ยิ่งขึ้น ภายใต้ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มแข็งเพื่อสร้างความมั่นใจในการทำธุรกรรมออนไลน์” นางมัลลิกา กล่าว

นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ.2564-2565) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 1. การพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ (e-Marketplace) เพื่อส่งเสริมการค้าภายในประเทศและการค้าข้ามพรมแดน (Enhancement and Promotion) 2. การพัฒนาสภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในทุกด้านให้พร้อมรองรับการเติบโตของการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Ecosystem and Enabling Factors) 3.การสร้างความเชื่อมั่นในธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Trust and Sustainability) 4. การพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้สามารถใช้ประโยชน์จากธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Competency Building) พร้อมทั้งรองรับการเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุมการก้าวเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และสอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

ขณะที่นายฉันทพัทธ์ ปัญจมานนท์ ผู้อำนวยการสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล ระบุด้วยว่าแผนนี้ทำมา 4 ปี แล้วมาสำเร็จในปีนี้ยุครองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นายจุรินทร์ ก่อนเข้าอนุมัติในคณะรัฐมนตรีวันนี้ เนื่องจากเป็นนโยบายที่สอดรับกับสถานการณ์การค้าในโลกยุคใหม่และกระทรวงพาณิชย์เป็นส่วนหนึ่งจะต้องปรับตัวขณะเดียวกันก่อนแผนนี้จะได้รับการอนุมัติจากครม.นั้น ทางกระทรวงพาณิชย์โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้รับนโยบายให้ปรับกลยุทธ์ในการทำงานโดยเฉพาะการทำการค้าออนไลน์และการเจรจาข้ามประเทศด้วยระบบออนไลน์มาอย่างต่อเนื่องจากนโยบายโดยการนำของนายจุรินทร์ จนสร้างปรากฏการณ์ตัวเลขส่งออกที่ผ่าน OBM Online Business Matching ด้วย


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment