BPP ซื้อ CCGT “Temple I” ในสหรัฐฯ เข้าพอร์ต

บ้านปู เพาเวอร์ หรือ BPP ลงนามในสัญญาซื้อขายเพื่อลงทุนในบริษัท Temple Generation Intermediate Holdings II, LLC ผ่านบริษัทย่อย Temple Generation I, LLC หรือ “Temple I” ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ขนาด 768 เมกะวัตต์ ที่ตั้งอยู่ในรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

นายกิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายเพื่อลงทุนในบริษัท Temple Generation Intermediate Holdings II, LLC ผ่านบริษัทย่อย Temple Generation I, LLC หรือ “Temple I” ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ขนาด 768 เมกะวัตต์ ที่ตั้งอยู่ในรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นประเทศที่ 7 ที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ มูลค่าการลงทุนรวม 430 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 14,147 ล้านบาท จากการทำสัญญาผ่านบริษัท BKV-BPP Power LLC ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 คิดเป็นเงินลงทุน 215 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ เทียบเท่า 7,074 ล้านบาท ส่งผลให้บ้านปู เพาเวอร์ มีกำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุน 384 เมกะวัตต์

“การลงทุนของบ้านปู เพาเวอร์ ในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ “Temple I” ครั้งนี้ถือเป็นการต่อยอดระบบนิเวศ(Ecosystem) จากบริษัทแม่ที่ดำเนินธุรกิจผลิตก๊าซธรรมชาติอยู่แล้วในสหรัฐฯ และสอดคล้องกับทิศทางการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (High Efficiency, Low Emissions: HELE) อยู่ในสถานะที่มีการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างกระแสเงินสดได้ทันที จุดเด่นของโรงไฟฟ้าแห่งนี้แบ่งได้เป็น 5 ข้อหลัก คือ 1. เป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยี Combined Cycle Gas Turbines หรือ CCGT ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ผสมผสานกระบวนการทำงานของ Gas Turbine (กังหันก๊าซ) กับ Steam Turbine (กังหันไอน้ำ) เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้การผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2. ตั้งอยู่ในรัฐเท็กซัสซึ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง เนื่องจากมีจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงและเป็นหนึ่งในศูนย์กลางเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว 3. เป็นโรงไฟฟ้าที่จัดอยู่ในลำดับการเรียกจ่ายไฟฟ้า (Merit Order)[1] ที่ดี เหมาะกับสภาพการแข่งขันในตลาด Electric Reliability Council of Texas หรือ ERCOT ที่มีการซื้อขายไฟฟ้าแบบเสรี 4. มีความพร้อมด้านการขนส่งและการจัดเก็บก๊าซ (Gas Storage) ซึ่งมีส่วนช่วยให้บริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความยืดหยุ่นในการเดินเครื่องเพื่อผลิตไฟฟ้าให้สอดรับกับรูปแบบความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ 5. มีสัญญาระยะยาว 30 ปี สำหรับการสำรองน้ำสำหรับกระบวนการผลิต ทำให้เกิดเสถียรภาพและเอื้อต่อกระบวนการผลิตในระยะยาว และมีระบบจัดการน้ำทิ้งที่ดี สามารถลดการปล่อยน้ำเสียจนเกือบเป็นศูนย์ (Near Zero Liquid Discharge Facility)”

สำหรับการลงทุนในครั้งนี้อยู่ภายใต้เงื่อนไขการปิดตามธรรมเนียม (Customary Closing Conditions) คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จตามเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในสัญญา และคาดว่า BPP จะรับรู้รายได้ภายในไตรมาส 4/2564 บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าขยายกำลังผลิตไฟฟ้าอย่างยั่งยืนด้วยสัดส่วนที่สมดุลระหว่างพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไปและพลังงานหมุนเวียน โดยมองหาโอกาสการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยี HELE ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในตลาดที่มีความเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้าและมีนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง

จากการลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ “Temple I” ส่งผลให้ในปัจจุบัน บ้านปู เพาเวอร์มีกำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนรวม 3,300 เมกะวัตต์เทียบเท่า โดยภายในปี 2564 ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าที่คาดว่าจะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เพิ่มอีก 3 แห่ง ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมหวินเจา (Vinh Chau) ระยะที่ 1 ในเวียดนาม กำลังผลิต 30 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่นอีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เคเซนนุมะ (Kesennuma) กำลังผลิต 20 เมกะวัตต์ และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ชิราคาวะ (Shirakawa) กำลังผลิต 10 เมกะวัตต์

[1] Merit Order คือ ลำดับการสั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าซึ่งเรียงตามต้นทุนการผลิตที่ต่ำสุด ให้ตรงตามความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีในขณะนั้น


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment