{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
EXIM BANK ระดมสมอง ชี้ทางรอด SMEs ไทยต้องรุกตลาดส่งออก
ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวเปิดงาน “EX1M Solution Forum” Ep. 1 หัวข้อ “อนาคต SMEs ไทยเติบโตสู่ Supply Chain โลก” ซึ่งจัดขึ้นทางออนไลน์แก่สื่อมวลชนและสาธารณชนที่สนใจ ว่า นับเป็นครั้งแรกของการเปิดเวทีระดมสมอง เพื่อนำเสนอประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขในการขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อชี้ให้เห็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งมี SMEs เป็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่ แต่ยังไม่สามารถขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและภาคส่งออกไทยไปข้างหน้าได้ดีมากเท่าที่ควร ทางออกหรืออาจจะเป็นทางรอดของปัญหา ได้แก่ การทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันการเงินอย่าง EXIM BANK และภาคธุรกิจเพื่อสร้าง Supply Chain ที่แข็งแรง ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่สามารถสนับสนุนและเสริมความแข็งแรงให้กับผู้ประกอบการ SMEs ได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน โดยมีเครื่องมือทางการเงินและการบริหารความเสี่ยงเป็นกลไกช่วยให้ทุกภาคส่วนดำเนินธุรกิจไปได้อย่างไม่ติดขัด แม้จะได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นเป็นระลอกทั่วโลก
ส่วนดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวในหัวข้อ “อนาคต SMEs ไทยเติบโตสู่ Supply Chain โลก” ว่า ในการแก้ปัญหา “ความย้อนแย้ง” ในเชิงโครงสร้างของ SMEs ไทย โดยเฉพาะการที่ SMEs ไทยมีจำนวนมากถึง 3.1 ล้านรายหรือ 99.5% ของผู้ประกอบการทั้งระบบ แต่มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจเพียง 35% ของ GDP รวมเท่านั้น สาเหตุสำคัญมาจาก SMEs ไทยส่วนใหญ่ค้าขายภายในประเทศเป็นหลัก ขณะที่ผู้ส่งออก SMEs มีจำนวนไม่ถึง 1% ของ SMEs ทั้งระบบ ซึ่งการขยายตลาดภายในประเทศมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น เศรษฐกิจไทยโตต่ำ โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาขยายตัวเพียง 2% ตลาดมีขนาดไม่ใหญ่ จำนวนประชากรเพียง 66 ล้านคน ยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยยังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมากถึง 18% ของประชากรรวม
ทางรอดของ SMEs ไทยจึงได้แก่ การเข้าไปเชื่อมโยงในวงจรการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งทำได้ 2 แนวทาง โดยแนวทางแรก คือ การยกระดับไปเป็นผู้ส่งออก ซึ่งแนวทางนี้อาจต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาองค์ความรู้และเสริมประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ส่วนแนวทางที่สอง สามารถทำได้ทันที ได้แก่ การสนับสนุนให้ SMEs เข้าไปอยู่ใน Supply Chain ของผู้ส่งออก โดยให้ธุรกิจส่งออกที่มีความแข็งแรงและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ Supply Chain ค้ำจุนผู้ประกอบการ SMEs ให้มีโอกาสขายสินค้าเพิ่มมากขึ้นและยาวนานภายใต้ Supply Chain ที่แข็งแรงดังกล่าว ซึ่งคาดว่าปัจจุบันมี SMEs ไทยจำนวนไม่น้อยเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain ผู้ส่งออกไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจากภาคส่งออกไทยพึ่งพาวัตถุดิบในประเทศ (Local Content) ถึงเกือบ 70% ของมูลค่าส่งออกรวม
นอกจากนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ Global Supply Chain เปลี่ยนไปในหลายมิติและทุกขั้นตอน ตั้งแต่การหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่งและกระจายสินค้า การขาย และตัวสินค้า รูปโฉมการค้าเปลี่ยนมาใช้วัตถุดิบจากแหล่งใกล้ ๆ มากขึ้น มีการนำระบบ Automation มาใช้มากขึ้นเพื่อลดการสื่อสารระหว่างแรงงานในกระบวนการผลิต ต้องวางแผนขนส่งหลากหลายช่องทาง รวมทั้งทำประกันและปรับเทอมการค้าให้ครอบคลุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น การขายสินค้าใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น และสินค้าต้องสอดรับกับเทรนด์ใหม่ ๆ ของโลก มีความโดดเด่นน่าจดจำ เพื่อสร้างการจดจำและความจงรักภักดีต่อแบรนด์
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS