{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) แนะนำศึกษาโครงการ Food Tech Valley แหล่งผลิตอาหารของยูเออีที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตพืชผลทางการเกษตร มาปรับใช้ช่วยเพิ่มความเข้มแข็งให้กับไทย
นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ หาโอกาสส่งออกให้กับผู้ประกอบการไทยตามนโยบายนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และได้รับรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ ถึงการสร้างเขตเศรษฐกิจแห่งใหม่ (Economic Zone) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารที่สะอาดและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และยังทำหน้าที่เป็นศูนย์บ่มเพาะสําหรับนักวิจัย ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบที่มีศักยภาพในการวางแผนอนาคตของอุตสาหกรรมอาหาร
โดยโครงการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเมืองสมัยใหม่แบบบูรณาการ จะมีการผลิตพืชผลมากกว่า 300 ชนิด โดยใช้เทคนิคการทำฟาร์มที่ทันสมัย และจะเป็นศูนย์กลางสำหรับอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สะอาดในอนาคต มีการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและการวิจัยสำหรับนําไปใช้ในการแปรรูปอาหารและการเกษตร การใช้เทคนิคทำฟาร์มสมัยใหม่ เช่น การทำฟาร์มในแนวตั้ง (Vertical Farming) การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ (Aquaculture) และการปลูกพืชไร้ดิน (Hydroponics) เพื่อสร้างความมั่นคงในการผลิตอาหารพืชผักสด และลดการสูญเสียทรัพยากร โดยโครงการ เปิดตัวเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา และเฟสแรกของโครงการเรียกว่า Food Tech Valley เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารให้ยูเออีได้เพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า ซึ่งเกษตรกรรุ่นใหม่ ผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทย ควรจะศึกษา และพิจารณานำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในกระบวนการผลิตทางการเกษตร ก็จะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มศักยภาพการผลิตได้เพิ่มขึ้น
นายปณต บุณยะโหตระ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ กล่าวว่า ไทยได้มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในภาคการเกษตร เช่น การใช้ Blockchain Agriculture ช่วยบริหารจัดการพื้นที่ทางการเกษตรและพัฒนาระบบชลประทานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) บินสำรวจพื้นที่ เพื่อจัดเก็บข้อมูลดิน ความชื้นในอากาศ และข้อมูลแร่ธาตุต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ด้วย Big Data Analytics และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาด้านการเกษตรของยูเออี หากไทยและยูเออีสามารถร่วมมือกันในด้านการพัฒนาการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารได้ ก็จะทำให้ทั้งสองประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับด้านคุณภาพและปริมาณการผลิต ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าการเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรไทยให้ก้าวไปสู่การทำการเกษตรแบบยั่งยืน
สำหรับโครงการ Food Tech Valley ประกอบด้วย 4 คลัสเตอร์สำคัญ ได้แก่
1.กลุ่มเทคโนโลยีการเกษตรและวิศวกรรม จะมีฟาร์มแนวตั้งที่จะใช้เทคโนโลยีอาหารล่าสุดในการปลูกพืชที่สำคัญตลอดทั้งปี และยังมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการนวัตกรรมด้านชีววิศวกรรม (Bioengineering) ระบบควบคุมอัตโนมัติที่สามารถเริ่มต้นการทำงานได้เองผ่านการรันโปรแกรมที่วางเอาไว้ เพื่อช่วยในการควบคุม สั่งงาน หรือรับคำสั่งงานต่างๆ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotics) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และสิ่งสนับสนุนอื่นเพื่อเสริมสร้างความสามารถในระบบนิเวศอาหาร
2. ศูนย์กลางในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีธุรกิจเกษตรไว้ที่จุดเดียว จะช่วยยกระดับความสามารถผู้ประกอบการในการแข่งขันทางธุรกิจ ทำหน้าที่เป็นศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการ มีโรงงานเฉพาะทางผลิตอาหารชนิดใหม่สำหรับร้านอาหาร และการเพิ่มขีดความสามารถและนวัตกรรม การบริการธุรกิจร้านอาหารแบบยั่งยืนและพอเพียง ช่วยลดการสูญเสียและการเหลือทิ้งทรัพยากร
3.ศูนย์ด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ระดับโลก เพื่อฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร และสนับสนุนสถานประกอบการด้านอาหาร จัดหาสิ่งอํานวยความสะดวกโดยการใช้หุ่นยนต์เกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตและพืชทนแล้ง รวมทั้งการประยุกต์การเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตโปรตีนทางเลือก และศูนย์ R&D จะศึกษาการใช้ AI ในการตรวจสอบ วิเคราะห์ และจัดการพืชผลทางการเกษตร และตรวจจับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นความพยายามในการวิจัยความมั่นคงด้านอาหารโดยการทำการเกษตรจากการกลั่นน้ำทะเล การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ทำการเกษตร โภชนพันธุศาสตร์ หรือ Nutritional Genomics เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโภชนาการ สมรรถภาพร่างกายและพันธุกรรม ทำให้ทราบถึงความต้องการสารอาหารที่จำเป็น เป็นต้น
4.ศูนย์กลางโลจิสติกส์อัจฉริยะ จะมีระบบจัดเก็บอาหารที่ให้บริการจัดเก็บแบบอัตโนมัติ ควบคุมด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บอาหาร และใช้เทคโนโลยี Big Data มาใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพการขนส่ง ในการวางแผนดำเนินการและควบคุมประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าคงคลังในกระบวนการ และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งาน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคสามารถติดตามคุณภาพอาหารแหล่งกําเนิดอาหารและส่วนประกอบ การเก็บรักษา การส่งมอบเพื่อให้แน่ใจว่าเกิดประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานอาหาร
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS