{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
คลังเผยเศรษฐกิจไทยในเดือนเมษายน 2564 ยังคงขยายตัวได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า แต่ต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19
นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนเมษายน 2564 ยังคงขยายตัวได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2564 อย่างใกล้ชิดต่อไป” โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณรถจักรยานยนต์
จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 65.8 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัด
ผลทางฤดูกาลขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.7 สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่แท้จริงที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.8 ต่อปี ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 60.8 และ 92.4 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงมาที่ระดับ 46.0 จากระดับ 48.5 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวล
ต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน อย่างไรก็ดี มาตรการกระตุ้นการบริโภค โดยเฉพาะโครงการเราชนะ และโครงการ ม33 เรารักกัน ยังช่วยสนับสนุนกำลังซื้อของผู้บริโภคได้ในระดับหนึ่ง
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 16.5 ต่อปี สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 93.1 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
หลังขจัดผลทางฤดูกาลขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 สำหรับการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ลดลง
ร้อยละ -1.6 ต่อปี อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล พบว่า ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.2 ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ เช่นเดียวกันกับภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวร้อยละ 40.4 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลขยายตัวร้อยละ 1.7
มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการส่งออกสินค้ารวมในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ
อยู่ที่ 21,429.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 13.1 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวที่สูงสุดในรอบ 36 เดือน นอกจากนี้เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้าไม่รวมน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย พบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 25.7 ต่อปี โดยสินค้า
ที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ 1) สินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 135.9 และ 55.5 ต่อปี ตามลำดับ 2) สินค้าเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะ ยางพารา และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 85.2 และ 40.0 ต่อปี ตามลำดับ 3) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และโทรศัพท์และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น
4) สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และถุงมือยาง
ที่ยังคงมีคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง และ 5) กลุ่มสินค้าเกี่ยวเนื่องกับภาคการผลิตที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว เช่น เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจำแนกเป็นรายตลาด
คู่ค้าหลักของไทย พบว่า ตลาดคู่ค้าหลักของไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดสหรัฐ จีน สหภาพยุโรป และเอเชียใต้ ขยายตัวที่ร้อยละ 9.0 21.9 52.5 และ 149.9 ต่อปี ตามลำดับ
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานขยายตัวเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยบริการด้านการท่องเที่ยว พบว่า ในเดือนเมษายน 2564 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ (Special Tourist Visa: STV) รวมถึงนักท่องเที่ยว
กลุ่มสิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) และนักธุรกิจ จำนวน 8,529 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร และจีน ในขณะที่การท่องเที่ยวภายในประเทศ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยขยายตัว
ร้อยละ 5,261.5 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับภาคเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสำคัญ อาทิ มันสำปะหลัง และผลผลิต
ในหมวดปศุสัตว์ เช่น สุกร และไก่ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 84.3
จากระดับ 87.3 ในเดือนมีนาคม 2564 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ในเดือนเมษายน 2564 แต่ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง
เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าระดับราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้น สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564
อยู่ที่ร้อยละ 54.3 ต่อ GDP ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. 2561 ส่วนเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564 อยู่ในระดับสูงที่ 250.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS