{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ดิทโต้ (ประเทศไทย) หรือ DITTO นำทีมผนึก 3 ยักษ์ใหญ่ธุรกิจไอที AIT G-Able และ MFEC เซ็นสัญญารับงานโครงการใหญ่จากกรุงไทยคอมพิวเตอร์ เซอร์วิสเซส มูลค่าเกือบ 1 พันล้านบาท เดินหน้าโครงการ Hybrid CSOC ระยะเวลา 5 ปี
นายฐกร รัตนกมลพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการบริหาร บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “DITTO” เปิดเผยว่า บริษัทฯ ร่วมกับผู้แทนจากบริษัทพันธมิตรอีก 3 รายซึ่งเป็นผู้ประกอบการชั้นนำในธุรกิจไอที ในนามธุรกิจค้าร่วม ADGM ร่วมลงนามในสัญญาดำเนินโครงการ Hybrid CSOC กับผู้แทนจากบริษัท กรุงไทยคอมพิวเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด (KTBCS) ในเครือธนาคารกรุงไทย มูลค่าโครงการกว่า 939 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี เพื่อดำเนินการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประเภทฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ จัดหาบุคลากรและปรับปรุงกระบวนการทำงาน รวมถึงปรับปรุงสถานที่ในการปฏิบัติงานเพื่อรับมือและป้องกันภัยคุกคามด้านไซเบอร์
สำหรับธุรกิจค้าร่วม ADGM ประกอบด้วย บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นแกนนำโดยถือสัดส่วนทั้งหมด 40% ส่วนพันธมิตรอีก 3 บริษัทประกอบด้วย บริษัท แอ็ดวานซ์อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ AIT บริษัท จีเอเบิล จำกัด หรือ G-Able และบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ถือสัดส่วนรายละ 20% เท่า ๆ กัน โดยจะรับผิดชอบการให้บริการตามความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัท
ทั้งนี้ DITTO จะมุ่งเน้นการบริหารจัดการข้อมูลที่มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว และขยายการให้บริการที่ต้องใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการโจมตีและการโจรกรรมข้อมูลอีกด้วย
“ทั้ง 4 บริษัทที่มาร่วมงานกันในนามธุรกิจค้าร่วม ADGM ครั้งนี้ ล้วนเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอทีมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และได้รับการยอมรับว่าอยู่ในระดับแนวหน้าของวงการนั้น ๆ มีทุนจดทะเบียนที่น่าเชื่อถือ รวมถึงมีผลงานทั้งงานภาครัฐและเอกชนมากมาย ที่สำคัญมีบุคคลากรที่มีประสบการณ์ มีความรู้และความเชี่ยวชาญสูง” นายฐกร กล่าว
นายฐกร กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับโครงการ Hybrid CSOC เป็นการพัฒนาระบบและกระบวนการรับมือรวมถึงการป้องกันภัยคุกคามด้านไซเบอร์ให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นตรงตามมาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย เนื่องจากมีบริษัทที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่หลากหลายมาทำงานร่วมกัน ซึ่งการดำเนินโครงการ Hybrid CSOC จะทำให้ลูกค้าและผู้ใช้บริการของธนาคารมีความมั่นใจในความปลอดภัย ทั้งในด้านเงินฝาก ข้อมูลส่วนตัวที่แจ้งไว้กับธนาคาร ก็จะมีความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันสถาบันการเงินและผู้ประกอบการในภาคธุรกิจต่างๆ ตระหนักถึงความปลอดภัยของข้อมูล ทั้งข้อมูลในส่วนของลูกค้าที่มาทำธุรกรรมและข้อมูลอื่น ๆ ของธนาคารมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันได้เกิดกรณีการโจมตีและโจรกรรมข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่มากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการโจมตีและโจรกรรมข้อมูลแต่ละครั้ง องค์กรที่ถูกโจมตีจะต้องจ่ายเงินจำนวนมหาศาล ทำให้สถาบันการเงินตระหนักและตื่นตัวในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS