{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
แกร็บเตรียมจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนพาร์ทเนอร์คนขับ-ร้านค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยมูลค่าตั้งต้นสูงถึง 275 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แกร็บ โฮลดิ้งส์ ประกาศแผนการก่อตั้งกองทุนที่ชื่อว่า “GrabForGood” หรือ “แกร็บเพื่อชีวิตที่ดีกว่า” เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการต่างๆโดยมุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพาร์ทเนอร์คนขับ พาร์ทเนอร์ร้านค้า รวมถึงผู้คนในสังคมโดยรวมทั่วทั้งภูมิภาคเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวซึ่งมีมูลค่าตั้งต้นจากการประเมินมูลค่าในปัจจุบันอยู่ที่ 275 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นั้น ประกอบด้วย เงินสดจำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และหุ้นของบริษัทซึ่งมีมูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ แอนโทนี ตัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง ฮุยหลิงตัน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท และหมิงหม่า ประธานบริษัท ยังได้ร่วมสมทบกองทุนดังกล่าวด้วยหุ้นบริษัทมูลค่ารวม 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากสินทรัพย์ส่วนตัวด้วย
แอนโทนี ตัน กล่าวเสริมว่า ในช่วงเริ่มต้น กองทุน GrabForGood นี้จะถูกนำมาใช้กับโครงการเร่งด่วนอย่างการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในพื้นที่ที่ยังขาดแคลน และด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการมีส่วนในการพัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับประเทศที่แกร็บดำเนินธุรกิจอยู่ เราจึงวางแผนที่จะดำเนินโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยสร้างรากฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ผู้คนในสังคมเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาผ่านกองทุนนี้ด้วย
กองทุน GrabForGood จะมุ่งให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว อาทิ การส่งเสริมด้านการศึกษา การให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มคนหรือชุมชนที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมถึงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย โดยบริษัทจะจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษากองทุน (Fund Advisory Board) ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของพาร์ทเนอร์และชุมชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการแสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำทรัพย์สินจากกองทุนดังกล่าวเพื่อไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
โดย แกร็บ จึงเตรียมจัดสรรงบประมาณ 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากกองทุนดังกล่าวเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดหาและอำนวยความสะดวกในการฉีดวัคซีนให้กับพาร์ทเนอร์คนขับที่ผ่านเกณฑ์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนจากรัฐบาลในประเทศต่างๆ ความพยายามดังกล่าวถือเป็นการตอบสนองต่อผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บริการในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งระบุว่า 92% ของผู้ใช้บริการแกร็บยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งนี้ แกร็บได้เริ่มประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดหาวัคซีน พร้อมพยายามจัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนในประเทศต่างๆ ให้กับพาร์ทเนอร์คนขับที่ผ่านการคัดเลือก
ให้ทุนสนับสนุนโครงการที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
แกร็บจะมีการกำหนดโครงสร้างและรูปแบบของการบริหารกองทุน GrabForGood อย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ จะเริ่มจัดสรรเงินจากกองทุนดังกล่าวเพื่อใช้ในโครงการอื่นๆ เมื่อมูลค่าของกองทุนฯ สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยบริษัทฯ จะร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษากองทุนพิจารณาและเปิดเผยรายละเอียดให้ทราบต่อไป สำหรับโครงการที่กองทุนนี้มุ่งให้การสนับสนุน ประกอบด้วย
โครงการเพื่อช่วยเหลือพาร์ทเนอร์แกร็บ
การสนับสนุนการทำประกันผ่าน GrabInsure : จากผลการสำรวจในเดือนพฤษภาคม 2563 พบว่าอัตราการทำประกันของพาร์ทเนอร์คนขับแกร็บมีเพียง 13% เท่านั้น โดยสาเหตุหลักที่ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่ได้ทำประกันคือความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน ดังนั้น แกร็บจึงได้วางแผนในการออกแบบโปรแกรมการทำประกันรูปแบบต่างๆ ภายใต้ GrabInsure (หรือแบรนด์อื่นโดยเป็นไปตามกฏหมายในแต่ละประเทศ) เพื่อให้พาร์ทเนอร์แกร็บสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ประกันโดยได้รับส่วนลดพิเศษ
การให้ทุนการศึกษา โดยมุ่งให้การสนับสนุนด้านการเงินกับกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศธุรกิจของแกร็บ ที่ยังขาดโอกาสทางด้านการศึกษา
การสนับสนุนกลุ่มคนพิการหรือผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย เพื่อช่วยให้กลุ่มคนเหล่านี้ช่วยเหลือตัวเองได้ สามารถเดินทางและเข้าถึงโอกาสในการสร้างรายได้ โดยการสนับสนุนเงินทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ อาทิ การปรับปรุงยานพาหนะ การสนับสนุนค่าเรียนสอนขับรถ หรือแม้แต่การจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น เช่น รถเข็นหรือเครื่องช่วยฟัง เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มของแกร็บในการหารายได้ให้กับตัวเองได้ในอนาคต
โครงการส่งเสริมสังคมเพื่อสร้างประโยชน์ในวงกว้างให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โครงการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางด้านการเงินและทักษะทางด้านดิจิทัล: อาทิ การจับมือกับสถาบันการศึกษาหรือสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อให้ความรู้และพัฒนาเครื่องมือในการส่งเสริมการเข้าถึงทักษะด้านดิจิทัล การเพิ่มผลผลิต และการพัฒนาศักยภาพทางการเงิน
การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: การให้ทุนสนับสนุนหรือสร้างแรงจูงใจในเทคโนโลยีหรือกิจกรรมที่ช่วยลดหรือทำให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เพื่อมุ่งป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน รวมถึงมลภาวะทางขยะ
การบรรเทาสาธารณภัย: ให้การสนับสนุนทางการเงินกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติต่างๆ
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS