{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
SAPPE ร่วมกับ ไทย เฮมพ์ เวลเนส ลงนาม MOA ส่งเสริมเกษตรกรเชียงรายปลูกกัญชง คาดเริ่มเพาะปลูกในพฤษภาคมนี้
นางสาวปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) หรือ SAPPE เปิดเผยว่า บมจ.เซ็ปเป้ ร่วมกับ บจ.ไทย เฮมพ์ เวลเนส ลงนามความร่วมมือและบันทึกข้อตกลง (MOA) ในโครงการ ส่งเสริมการปลูกพืชกัญชง เพื่อการผลิตและสร้างอาชีพให้กับเกษตรกรและกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย โดยแนวทางความร่วมมือในครั้งนี้ จะสนับสนุนการลงทุนสำหรับต้นกล้ากัญชง ปุ๋ยอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์คุณภาพสูง เพื่อเพิ่มผลผลิต พร้อมจัดทีมนักวิชาการให้คำแนะนำการปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติตามข้อกฎหมาย กับเกษตรกร รวมไปถึงรับซื้อผลผลิตสำหรับพื้นที่เพาะปลูก 200 ไร่
โดยบริษัทได้เดินหน้าศึกษาการทำธุรกิจกัญชา-กัญชงแบบเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยธุรกิจต้นน้ำ บริษัทได้นำความเชี่ยวชาญ จาก บจ.ไทย เฮมพ์ เวลเนส ซึ่งประกอบกิจการปลูกกัญชงเพื่อนำมาสกัดโดยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์
นอกจากนี้ ยังเป็นองค์กรธุรกิจที่มีความร่วมมือกับมูลนิธิวนเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีนักวิชาการเชี่ยวชาญด้านการวิจัยสายพันธุ์กัญชง รวมถึงประธานและรองประธานบริษัท บจ.ไทย เฮมพ์ เวลเนส เป็นแพทย์เชี่ยวชาญที่เปิดคลินิกรักษาโดยมีบัตรอนุญาตในการใช้สารสกัดจากกัญชง กัญชารักษาผู้ป่วย มีฐานการผลิตอยู่ที่จ.เชียงราย และจ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกกัญชง อีกทั้งยังได้รับการรับรองพื้นที่แปลงปลูกด้วยมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ระดับสากล ปัจจุบันอยู่ระหว่างยื่นขอใบอนุญาตสกัดสาร CBD จากพืชกัญชง ส่วนเกษตรกรอยู่ในขั้นตอนการยื่นขออนุญาตปลูกกัญชง คาดว่าจะได้เริ่มทำการเพาะปลูกในเดือนพฤษภาคมนี้ โดยจะนำผลผลิตที่ได้ สกัดเป็นสาร CBD และน้ำมันเมล็ดกัญชง (hemp seed oil) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเห็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในเดือนกันยายน และนำสารสกัดดังกล่าวต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในอนาคต อาทิ อาหารและเครื่องดื่มผสมสารสกัดจากกัญชงพร้อมรับประทาน ซึ่งจะดำเนินการขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างถูกต้อง ก่อนพัฒนาผลิตออกสู่ตลาด
ดร.เสฐียรพงษ์ แก้วสด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย เฮมพ์ เวลล์เนส จำกัด กล่าวว่า ไทย เฮมพ์ เวลล์เนส จำกัด ได้ส่งเสริมการเพาะปลูกกัญชง เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนเข้าสู่โรงงานสกัด การทำงานได้ร่วมมือกับสำนักงานเกษตรอำเภอ ในพื้นที่จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนขึ้น เพื่อขอรับอนุญาตในการปลูกกัญชง โดยมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้ความช่วยเหลือในการพิจารณาอนุญาตในการปลูก โดยได้จัดตั้งคณะทำงานที่เป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สนับสนุนความรู้ในเชิงเทคนิค การกำกับดูแลควบคุมคุณภาพเพื่อให้ได้ผลผลิตเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด อีกทั้งยังได้ประสานความร่วมมือกับทางมูลนิธิวนเกษตรอินทรีย์ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา เข้ามาวางระบบงานส่งเสริมให้ความรู้เกษตรกรเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืนต่อไป
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS