{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
เป็นคำถามในวงการทีวีดิจิทัล และโต้เถียงกันว่าสิ่งที่รัฐ โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท) วางแผนเสียอย่างดิบดี ทำไมถึงสร้างความขุ่นข้องแหนงใจให้วงการทีวีดิจิทัล
โดยเฉพาะเมื่อศาลปกครองกลางพิพากษาให้ บริษัทไทยทีวี ของ นางพันธ์ทิพา ศกุนต์ไชย หรือ เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล สามารถบอกเลิกสัญญาการประมูลทีวีดิจิทัลได้ และ กสทช. ต้องคืนเงินค้ำประกัน 1,500 ล้านบาท แม้จะไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายเพิ่มเติม ก็บ่งบอกถึงสภาพปัญหาการวางแผนโปรโมททีวีดิจิทัลที่ผ่านมาได้พอสมควร แม้ กสทช.จะยื่นอุทธรณ์ ก็เป็นเรื่องอนาคตที่ยังบอกไม่ได้
แล้วการที่ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.ในฐานะประธาน กสท. ผู้วางแผนทีวีดิจิทัลออกมาให้ข้อมูลรับว่า ปัญหาของทีวีดิจิทัลเกิดจากหลายปัจจัย
1. การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ที่มีการแก้ไข พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และการกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 จากที่กำหนดให้เงินประมูลทีวีดิจิทัลนำมาพัฒนาอุตสาหกรรมทีวีของประเทศ เป็นรายได้เข้าแผ่นดิน ทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลทำได้ช้า
2. การแจกคูปองทีวีดิจิทัล เพื่อแลกซื้อกล่องดิจิทัล (SET TOP BOX) ซึ่งมีขึ้นตอนการแจกและการอนุมัติของ กสทช.มีความล่าช้า ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ส่วนราคาที่กำหนดไว้ 690 บาท จากราคาที่ตั้งไว้ 1,100-1,200 บาทนั้น ก็ไม่จูงใจให้ประชาชนแลกกล่อง และไม่จูงใจให้ผู้ผลิตกล่องออกมา เพราะกำไรไม่น่าสน สุดท้ายมีผู้ใช้คูปองแลกเพียง 9 ล้านใบจากทั้งสิ้น 22.9 ล้านใบ
3. การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งกระทบไปถึงภาวะเศรษฐกิจในช่วงต้นปี 2557 มีความซบเซา กระทบต่อการเริ่มต้นของทีวีดิจิทัล
4. ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลไม่สามารถผลิตเนื้อหารายการให้มีความหลากหลายและแตกต่างได้ขณะที่พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยการดูทีวีผ่านแพลตฟอร์มบนสมาร์ทโฟน มากขึ้น
5. เม็ดเงินโฆษณาที่มีอยู่อย่างจำกัดถูกกระจายออกไป ไม่สามารถทำรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้
ดังนั้น กสทช. เห็นว่า หากไม่ให้การดูแลเยียวยาธุรกิจทีวีดิจิทัล ก็อาจทำให้เกิดปัญหามากขึ้นต่อไป จึงได้นำเสนอแผนให้รัฐมาช่วยเหลือ คือ การพักชำระค่าประมูลออกไปเป็นเวลา 3 ปี และ การแบ่งเบาค่าเช่าใช้โครงข่ายทีวีดิจิทัล ซึ่ง กสทช.จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ 50% เป็นระยะเวลา 24 เดือน
คาดว่ามาตรการที่ออกมา จะช่วยโอบอุ้มให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลมีเงินทุนเหลือไปพัฒนาเนื้อหารายการที่ดี มีความแตกต่าง สร้างประโยชน์และความน่าสนใจดึงดูดผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลอีกทอดหนึ่ง
อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ การควบคุมธุรกิจ OTT ที่ กสทช.ไม่ดำเนินการ เพราะหากไม่ดูแล ก็อาจสร้างความไม่เป็นธรรมต่อธุรกิจทีวีไทยได้
อย่างไรก็ตาม แม้คนใน กสทช.จะออกมาให้เหตุผลถึงสิ่งที่เกิดความเสียหายในระบบทีวีดิจิทัล จนรัฐต้องเข้าไปอุ้ม แต่ไม่บอกว่า บุคคลที่อยู่ในกระบวนการเหล่านี้จะมีใครต้องร่วมกันรับผิดชอบกันบ้าง
หรือปล่อยให้ กสทช. ชุดใหม่เข้ามารับช่วงกันต่อ
ที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป...เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น????
------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก - เว็บไซต์ไทยรัฐ , นสพ.ประชาชาติธุรกิจ
-----------------
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS