{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย วอนสภาผู้แทนฯ รับฟังเสียงตัวแทนจากภาคเอกชนโรงงานน้ำตาล เพื่อให้สะท้อนเจตนารมย์ของกฎหมายที่ใช้ดูแลชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลที่
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) และประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สมาคมฯ ได้พยายามเรียกร้องให้มีตัวแทนจากผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทราย เข้าไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและมุมมองให้รอบด้านต่อร่างแก้ไข พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ เป็นประธานคณะกรรมการ เนื่องจากการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ. ดังกล่าว จะถูกนำมาใช้เพื่อดูแลสร้างความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่อยู่ในอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ โรงงานน้ำตาล เป็นหนึ่งในกลไกของระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และเป็นผู้ที่รับผลกระทบโดยตรงจากกฎหมายฉบับดังกล่าว มีความกังวลหลายประเด็นในสาระสำคัญของกฎหมาย โดยเฉพาะการเพิ่มเติมคำนิยาม “ผลพลอยได้” โดยให้รวมกากอ้อย กากตะกอนกรอง และเอทานอล รวมอยู่ด้วยนั้น มองว่า เป็นการขัดต่อหลักการ เนื่องจากโรงงานซื้ออ้อยเพื่อผลิตน้ำตาล ส่วนกากอ้อย และเศษ หิน ดิน ทราย และสิ่งสกปรกอื่นๆ ที่ติดมากับอ้อย ไม่สามารถผลิตเป็นน้ำตาลได้ และถือเป็นของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตตามข้อปฏิบัติของ พ.ร.บ. โรงงาน ซึ่งเป็นภาระที่โรงงานต้องลงทุนเพื่อกำจัดของเสียดังกล่าว โดยนำไปกากอ้อยไปเผาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า หรือทำภาชนะบรรจุภัณฑ์ ส่วนกากตะกอนกรอง ที่เกิดจากสิ่งสกปรกติดมากับอ้อย เช่น อิฐ หิน ดิน ทราย ก็นำไปผลิตทำเป็นปุ๋ย ซึ่งมีโรงงานน้ำตาลเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่นำของเสียมาสร้างมูลค่าเพิ่ม และต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ อาทิ โรงสีข้าวที่ได้แกลบ โรงงานหีบน้ำมันปาล์ม ที่ได้เศษกากทะลายปาล์ม ที่เป็นของเสียต้องกำจัด หรือนำไปสร้างมูลค่า เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ การเสนอกำหนดคำนิยาม “น้ำตาลทราย” โดยให้หมายความรวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ (มิใช่ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) ที่ผลิตได้จากอ้อย น้ำอ้อย หรือน้ำตาลทราย นั้น ขัดกับหลักธุรกิจ เพราะโรงงานที่ผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เอทานอล น้ำอัดลม และผลิตภัณฑ์ชีวเคมี เป็นต้น ไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทราย และไม่ได้เป็นนิติบุคคลเดียวกับผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาล
“มีหลายประเด็นที่เราพยายามเรียกร้องและนำเสนอมุมมองและแสดงความคิดเห็น สะท้อนถึงผู้แทนในชั้นกรรมาธิการให้รับฟังเสียงของผู้ประกอบการ เนื่องจากเราเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียภายใต้กฎหมายฉบับนี้ แต่กลับไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมแต่อย่างใด จึงขัดต่อเจตนารมย์ของกฎหมายที่ต้องการผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปมีส่วนร่วมเสนอแนะแก้ไขกฎหมาย เพื่อนำพาให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายมีความเข้มแข็งและยั่งยืน” นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี กล่าว
ส่วนประเด็นการแก้ไขสาระกรณีราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิต และจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้ายต่ำกว่าขั้นต้น โดยให้นำส่วนต่างที่เกิดขึ้นไปหักจากราคาขั้นต้นปีถัดไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดนั้น โรงงงานน้ำตาลต้องการให้คงข้อกำหนดตาม พ.ร.บ. ฉบับเดิม ที่ให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายชดเชยส่วนต่างให้โรงงานเช่นเดิม เนื่องจากรายได้กองทุนเป็นเงินที่จัดเก็บจากชาวไร่อ้อยและโรงงานไม่เกี่ยวข้องกับเงินภาครัฐ อีกทั้ง มีการเสนอแก้ไขมาตรา 27 เพื่อให้กองทุนสามารถกู้เงินได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และไม่มีเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอีกต่อไป จึงไม่ขัดกับข้อตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) แต่อย่างใด
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS