{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
“หนังสือ” คือสิ่งประดิษฐ์อันสวยงามที่มีพลังมหาศาลในการแบ่งปันความรู้ อย่างไม่แบ่งแยกพรมแดนความเป็นมนุษย์ ไม่มีเส้นกำหนดขีดคั่นเรื่องกาลเวลา เป็นพลังสำคัญในการขจัดความยากจน และสร้างสันติภาพ
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก กำหนดให้วันที่ 23 เมษายนของทุกปี เป็น “วันหนังสือและลิขสิทธิ์โลก” เพื่อรำลึกถึงนักเขียนชื่อก้องโลก ทั้ง วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) มีเกล เซร์บันเตส (Miguel Cervantes) และ อินกา กากิลาโซ เด ลา เวกา (Inca Garcilaso de la Vega) ที่เสียชีวิตลงพร้อมกันในวันที่ 23 เมษายน ค.ศ.1616 และวันที่ 23 เมษายน ยังตรงกับวันเกิดของนักเขียนชื่อดังอีกหลายคน อาทิ โมรีส ดรูอง (Maurice Druon) ฮัลดอร์ ลัคเซส (Halldór Laxness)
ที่ประชุมยูเนสโกที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2538 จึงลงฉันทามติกำหนดให้วันที่ 23 เมษายนของทุกปี เป็นวันหนังสือโลก เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของหนังสือ และคุณค่าของการอ่าน ไปพร้อมกับเรียนรู้จากโลกแห่งจินตนาการผ่านตัวหนังสือที่ไม่มีสื่อไหนมาเทียบได้
ทุกๆปี ยูเนสโกร่วมกับองค์กรนานาชาติที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมหนังสือ จะร่วมกันคัดเลือก “เมืองหนังสือโลก” (World Book Capital) ขึ้น ซึ่งในปีนี้ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลก โดยกรีซตั้งเป้าให้ประชากรทั่วประเทศ รวมถึงผู้อพยพและผู้ลี้ภัยได้มีโอกาสในการเข้าถึงหนังสืออย่างถ้วนหน้า
สำหรับประเทศไทย เคยได้รับคัดเลือกให้เป็น “เมืองหนังสือโลก” เมื่อปี 2556 และคณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี เป็น "วันรักการอ่าน" โดยกำหนดให้ปี 2552-2561 เป็น “ทศวรรษแห่งการอ่าน”
จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2558 พบว่า คนไทยใช้เวลาอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้นเป็น 66 นาทีต่อวัน (จากปี 2556 ที่ใช้เวลาอ่าน 37 นาทีต่อวัน) เป็นการอ่านหนังสือหรือบทความทุกประเภท ทั้งที่เป็นรูปเล่ม เอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
ด้านกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทำแผนแม่บทส่งเสริมการอ่านของประเทศ มีเป้าหมายผลักดันให้คนไทยอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้นเป็น 90 นาทีต่อคนต่อวัน ให้ได้ภายในปี 2564
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS