{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ช้างพ่นน้ำเล่นสงกรานต์ อาจนำเชื้อวัณโรคสู่คนได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำและผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV แนะนำหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำที่ถูกพ่นออกจากงวงช้าง
วัณโรคเกิดจากการติดเชื้อไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) ที่สามารถแพร่กระจายได้ทางอากาศ ผ่านทางการไอ จาม หรือพูด ซึ่งละอองเสมหะเหล่านี้จะกระจายอยู่ในอากาศและมีชีวิตอยู่ได้หลายชั่วโมง พบว่าการไอหนึ่งครั้ง สามารถก่อให้เกิดละอองเสมหะมากถึง 3,000 ละอองเสมหะ
เชื้อวัณโรคยังแตกต่างจากเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆ เนื่องจากเชื้อวัณโรคสามารถอยู่ในร่างกายผู้ป่วยได้เป็นเวลานาน โดยไม่แสดงอาการใดๆ หากผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่ำลง อาการของวัณโรคถึงจะแสดงออกมานั่นเอง
นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อวัณโรคจากคนสามารถติดต่อสู่ช้างได้ โดยเฉพาะช้างเลี้ยง หรือช้างในปางช้าง หากควาญช้างเป็นวัณโรค เชื้อจะสามารถแพร่สู่ช้างได้นั่นเอง และเชื้อวัณโรคจากช้างยังสามารถติดต่อสู่คนได้ผ่านทางการพ่นน้ำ เพราะเชื้อวัณโรคอยู่ในสารคัดหลั่งในโพรงจมูกและงวงช้าง หากช้างตัวที่ติดเชื้อพ่นน้ำใส่คนที่เสี่ยงต่อการติดโรคนี้แล้ว ก็จะมีโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อไปได้ง่ายนั่นเอง
แต่ตามปกติแล้ว ปางช้างที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเล่นน้ำกับช้าง มักจะเป็นปางช้างที่ได้มาตรฐาน มีการตรวจสุขภาพของพนักงาน ควาญช้าง และช้างเป็นประจำทุกปี หากพบว่ามีช้างป่วยก็จะรีบทำการรักษาและไม่ให้ออกมาทำการแสดง และงดทำกิจกรรมร่วมกับคน สำหรับช้างที่สงสัยว่าป่วยจะมีการเก็บน้ำล้างงวงมาตรวจหาเชื้อทุก 3 เดือน ไม่พบเชื้อหลายครั้งติดต่อกันจึงจะมั่นใจว่าช้างตัวนี้ไม่มีเชื้อวัณโรคแล้ว
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรระวังการสัมผัสกับน้ำที่พ่นออกจากงวงช้างเป็นพิเศษ
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS