{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดาร 15 จังหวัดของภาคอีสาน ในเดือนพฤศจิกายน 2498 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ทรงเห็นความทุกข์ยาก ปัญหาขาดแคลนน้ำ และทรงสังเกตเห็นกลุ่มเมฆปริมาณมากปกคลุมเหนือพื้นที่ระหว่างเส้นทางก่อนมีพระราชดำริว่า “น่าจะมีลู่ทางที่คิดค้นหาเทคนิคด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้ฝนตกได้”
.
ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ก่อนพระราชทานโครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง” ให้ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับไปดำเนินการ กระทั่ง 20 กรกฎาคม 2512 ได้ทดลองทำฝนเทียมกับเมฆในท้องฟ้าครั้งแรก บริเวณวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ด้วยการใช้น้ำแข็งแห้ง (Dry-Ice) โรยที่ยอดของกลุ่มก้อนเมฆ ซึ่งผลเป็นที่น่าพอใจ เพียงแต่ยังไม่อาจควบคุมให้ฝนตกในบริเวณที่ต้องการได้ พระองค์ได้พระราชทานคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง เปลี่ยนที่ทดลองไปยังจุดแห้งแล้งอื่นๆ ก่อนประสบความสำเร็จ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นใน พ.ศ.2518
.
อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีฝนหลวง นวัตกรรมที่สามารถเอาชนะภัยธรรมชาติ เป็นที่รู้จักและยอมรับกันอย่างแพร่หลายได้รับสิทธิบัตรคุ้มครองจากกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป จำนวน 30 ประเทศ (2548) และฮ่องกง (2549) และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อปวงชนชาวไทย ในปี 2545 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นนั่นเอง
.
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS