{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นางวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่ภาครัฐที่มีการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ ตั้งแต่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย พบว่ายอดใช้บัตรเครดิตซิตี้ลดลงในเดือนเมษายนถึง เดือนพฤษภาคม แต่ยอดใช้บัตรเครดิตก็กลับมาเพิ่มสูงขึ้นและเริ่มเติบโตอีกครั้ง นอกจากนี้ในช่วงล็อคดาวน์ ซิตี้พบว่ายอดใช้บัตรเครดิตสำหรับสินค้าและบริการออนไลน์มีการเติบโตเพิ่มขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ ที่เติบโตขึ้นร้อยละ 51 หรือการช็อปปิ้ง ออนไลน์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งซิตี้มีการร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำอาทิ แกร็บ และ ลาซาด้า ในการนำเสนอโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษต่าง ๆ เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า นอกจากนี้ยอดการจับจ่ายใช้สอยสิ่งของจำเป็น เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ตพบมีการเติบโตเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่งดการเดินทางออกไปสถานที่สาธารณะ ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง และมีความจำเป็นในการทำอาหารรับประทานกันเอง ในขณะที่ด้านยอดใช้จ่ายในหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับสุขภาพหรือประกันก็มีการเติบโตที่สูงขึ้นร้อยละ 170 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ส่วนยอดใช้จ่ายในหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับการเดินทาง สายการบิน และโรงแรม โดยเฉพาะยอดใช้จ่ายในต่างประเทศนั้นได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งซิตี้ได้ดำเนินการปรับกลยุทธ์โดยมุ่งเน้นไปที่โปรโมชั่น และสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมมาตรการของรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
สำหรับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซิตี้พบว่าผู้บริโภคมีความต้องการด้านสินเชื่อที่มากขึ้น รวมถึงต้องการแบ่งเบาภาระการชำระเงินในแต่ละเดือน โดยซิตี้ได้อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าปัจจุบันที่ถือบัตรเครดิตซิตี้ และ บัญชีซิตี้ เรดดี้เครดิตในการขอสินเชื่อเพิ่มเติมภายใต้วงเงินสินเชื่อที่มีอยู่ รวมถึงสามารถเลือกผ่อนชำระยอดหนี้ที่มีอยู่ให้เป็นยอดผ่อนชำระแบบรายเดือนได้ ซึ่งลูกค้าสามารถสมัครรับบริการได้อย่างสะดวกรวดเร็วได้ตลอดเวลาผ่านทางซิตี้ โมบายล์ แอปพลิเคชัน โดยไม่ต้องส่งเอกสารเพิ่มเติม นอกจากนี้ซิตี้ยังมีมาตรการช่วยเหลือด้านการชำระเงินสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 เป็นต้นมา ไม่ว่าจะเป็นการพักชำระหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อบุคคล การยืดระยะเวลาผ่อนชำระสินเชื่อ ตลอดจนการลดอัตราดอกเบี้ยให้กับลูกค้า ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าที่ได้รับความช่วยเหลือจากซิตี้แล้วเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตามไตรมาสที่ 2 ซิตี้พบว่าจำนวนลูกค้าที่หันมาใช้บริการดิจิทัล แบงก์กิ้ง มีจำนวนเติบโตสูงขึ้นมาก คิดเป็นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยฟีเจอร์ที่ลูกค้าใช้บริการมากที่สุด ได้แก่ การดูรายละเอียดยอดใช้จ่ายบัตรเครดิต หรือสินเชื่อ การดูใบแจ้งยอดบัญชีผ่านทางซิตี้ โมบายล์ แอปพลิเคชัน อีกทั้งการรณรงค์ละเว้นการสัมผัสเพื่อเลี่ยงการติดเชื้อไวรัส ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่าลูกค้าจำนวนมากหันมาใช้บริการชำระเงินผ่านทางโมบายล์ แอปพลิเคชันของธนาคารต่าง ๆ แทนการไปชำระเงินตามช่องทางการชำระเงินต่างๆ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดในช่วงระยะเวลาเพียง 2 เดือน ทั้งนี้ซิตี้ได้มุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อนำเสนอสิทธิประโยชน์ หรือรูปแบบการบริการใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค โดยยึดมั่นการทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุดจากบริการที่ได้รับ
ในขณะที่บริการด้านการบริหารความมั่งคั่ง ซิตี้โกลด์ (Citigold) และ ซิตี้ ไพรออริตี้ (Citi Priority) ก็มีการปรับกลยุทธ์ในการให้บริการลูกค้า โดยปกติเจ้าหน้าที่จะดำเนินการนัดหมายพบปะพูดคุยและให้บริการลูกค้าโดยเจอหน้ากัน แต่เมื่อเกิดการล็อคดาวน์ทำให้สาขาของซิตี้ต้องปิดให้บริการชั่วคราว ซิตี้จึงสร้างรูปแบบและช่องทางการประสานงานติดต่อลูกค้าโดยให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมผ่านทางโทรศัพท์ รวมถึงสามารถทำการอนุมัติรายการผ่านทางซิตี้ โมบายล์ แอปพลิเคชัน แทนการเซ็นเอกสาร ซึ่งบริการดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า พร้อมกันนี้ซิตี้ยังดำเนินการปรับรูปแบบการพบปะลูกค้ากลุ่มย่อย รวมถึงเปลี่ยนรูปแบบการจัดสัมมนาเป็นการใช้วิดีโอคอนเฟอเรนซ์หรือเว็บบินาร์ โดยที่ลูกค้ายังคงได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการลงทุนที่อัพเดทจากผู้บริหาร รวมถึงผู้เชี่ยวชาญของซิตี้ได้โดยตรงเหมือนเดิม
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS