{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
คุณโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) ผู้นำด้านธุรกิจพลังงานทดแทนแบบครบวงจร เปิดเผยถึง บริษัทได้จัดตั้งหน่วยงานสายพันธุ์ใหม่เพื่อเข้ามาดูแลสายงานที่เกี่ยวข้องด้านนวัตกรรม ในชื่อ “GUNKUL SPECTRUM” เพื่อสร้างความเชื่อมโยงด้านพลังงานไปกับสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยพร้อมการสร้างมุมมองใหม่ให้กับผู้บริโภคว่า พลังงานไม่ใช่เรื่องไกลตัว ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ด้านนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในทุกตารางเมตรของประเทศได้อย่างแท้จริง
โดย GUNKUL SPECTRUM จะเข้ามาดูแลภารกิจในการสร้างนวัตกรรมที่ไม่ใช่แค่ Disruptive technology แต่ต้องเป็นการสร้างใน Speed ที่เรียกได้ว่าเป็น Speed of Light ด้วยไอเดียที่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ทุกวัน แต่การปรับตัวอย่างรวดเร็วและการทำให้เกิดขึ้นได้จริงเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างนวัตกรรมในยุค Post-pandemic era ผ่านกระบวนการทำงานของพนักงานที่เป็นกลุ่มคนเจนเนอเรชั่นใหม่ๆ ในองค์กร ภายใต้การนำทีมของ "คุณนฤชล ดำรงค์ปิยวุฒิ" ผู้บริหารเจนเนอเรชั่นที่ 2 ของ GUNKUL
ซึ่ง SPECTRUM ในเชิงวิทยาศาสตร์ SPECTRUM คือ ช่วงแสงที่สายตาคนสามารถมองเห็นได้ จึงสะท้อนภาพของ GUNKUL SPECTRUM ที่จะเป็นตัวแทนของแหล่งพลังงานที่จับต้องได้ เป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่น จริงใจ และยังสามารถสื่อถึงแสง หรือพลังงานที่ส่องไปถึงชีวิตของคนไทยทุกคน ด้วยแสงที่ไม่ย่อท้อ ไม่สิ้นสุด
ในเชิงธุรกิจ GUNKUL SPECTRUM มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมต่อไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มลูกค้าทั่วไป (End User) ซึ่งเป็นการทำตลาดในรูปแบบ B2C (Business-to-Consumer) หลังจากที่ได้มีการขยายขอบเขตการทำธุรกิจเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เน้นการทำตลาดในรูปแบบ B2B (Business-to-Business) เป็นหลัก โดยมีผลิตภัณฑ์นวัตกรรม (Product Innovation) เป็นเครื่องมือสำคัญในการเจาะตลาดใหม่
คุณนฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ Head of Energy Innovation Pioneer กรรมการบริหาร / ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจและวางแผนกลยุทธ์ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) กล่าวว่า ปรัญชาของ GUNKUL SPECTRUM เกิดจากความเชื่อที่ว่า Energy is a Human Right พลังงานเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนที่พึงจะได้รับ GUNKUL SPECTRUM จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อทำหน้าที่สร้างความเชื่อมโยงด้านพลังงานไปกับสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ ขณะเดียวกันก็มุ่งทลายข้อจำกัดทางพลังงานเดิมๆ ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์แหล่งพลังงานใหม่ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น และเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงให้เกิดขึ้นในทุกตารางเมตรของประเทศอย่างแท้จริง ภายใต้วิสัยทัศน์ของ Thailand's First Energy Trendsetter ที่ได้กำหนดไว้เป็นเป้าหมายขององค์กร
ความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์ด้านพลังงาน คือ การมีรูปแบบที่ไม่สามารถคาดเดาทิศทางได้ ส่งผลให้ผลลัพธ์ (Outcome) จากทีม GUNKUL SPECTRUM สามารถออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่จับต้องได้ เป็นบริการที่ให้ผู้คนเข้าไปใช้งาน หรือในลักษณะของข้อมูลความรู้ที่ทางทีมต้องการจะส่งต่อ และจุดประกายให้บุคคลภายนอกที่มีความสนใจเหมือนกันได้มีโอกาสต่อยอดความคิดนั้น โดยมี GUNKUL SPECTRUM จะเป็นผู้ช่วยคิด ช่วยสร้าง และยังสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ และเครือข่ายทั้งหมดของกันกุลเอ็นจิเนียริ่งได้อีกด้วย ซึ่งแกนภารกิจของ GUNKUL SPECTRUM จะแบ่งออกเป็น 3 แกนด้วยกัน
1. Energy Reformation - ภารกิจในการทลายข้อจำกัดทางพลังงานเดิมๆ
2. Energy explorer – ภารกิจในการค้นหาแหล่งพลังงานใหม่ที่มีความยั่งยืน
3. Ecosystem builder – ภารกิจในการสร้างระบบนิเวศของ Smart Energy
ส่วนการจะทำให้ผลิตภัณฑ์ของ GUNKUL SPECTRUM มีลูกเล่นที่น่าสนใจ หรือเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในระดับประเทศ หรือระดับภูมิภาคได้นั้น ทางทีมเชื่อในการนำความเชี่ยวชาญออกไปแลกเปลี่ยน หรือร่วมพัฒนากับพันธมิตรที่มีมองเห็นศักยภาพในอุตสาหกรรมพลังงาน มีความเชี่ยวชาญในสาขาอุตสาหกรรมของตนเอง และที่สำคัญเข้าใจในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องและตอบโจทย์พฤติกรรมผู้ใช้พลังงานในอนาคต
สำหรับหนึ่งในโปรดักท์ด้านพลังงานของ GUNKUL SPECTRUM ซึ่งได้รับสิทธิ์ในการทำ Sandbox หรือโครงการนำร่องร่วมกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงาน หรือที่รู้จักกันในชื่อของ PEER-TO-PEER ENERGY TRADING PLATFORM ซึ่งได้จับมือร่วมกับ “AIS” ผู้นำทางด้านนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อต่อยอดให้โปรดักท์นี้มีความครบวงจรและเข้าถึงด้ยเครือข่ายผู้ใช้งานกว่า 41 ล้านคน
คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายงานขับเคลื่อนนวัตกรรม เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอสมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับ กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง ในการนำระบบ Mobile ID ที่พัฒนาภายใต้เทคโนโลยี Block Chain เข้ามาสนับสนุนการทำงานของ Energy Trading Market หรือตลาดซื้อขายพลังงานเป็นครั้งแรก ซึ่งในอนาคตจะมีโอกาสเปิดให้ประชาชนเข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนไฟฟ้าได้อย่างเสรี โดย Blockchain จะเข้ามาช่วยบริหารจัดการธุรกรรมการซื้อขายไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพ ขณะที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายไฟฟ้าจะสามารถเชื่อมต่อเข้า Blockchain ผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือ Mobile ID ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย จึงช่วยสร้างความมั่นใจและน่าเชื่อถือให้ผู้บริโภค ทั้งยังเป็นการขยายศักยภาพเทคโนโลยีและดิจิทัล แพลตฟอร์มที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคที่เป็น End Consumer อย่างแท้จริง
ขณะที่คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร Head of Venture Builder บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด กล่าวว่า การเข้ามาเป็น Collaborative Learning Partner กับ GUNKUL SPECTRUM ในอนาคต จะสามารถร่วมสร้างธุรกิจประเภท Tech-startup หรือ นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ และสังคม โดย SCB 10X สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด และมีศักยภาพที่จะเป็นผู้ให้การสนับสนุนในด้านความคิด การทดลองจนไปถึงจุดที่ธุรกิจสามารถสเกลได้ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการให้การสนับสนุนด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรม การเข้าถึงเทคโนโลยี กลยุทธ์การนำเสนอธุรกิจสู่ตลาด หรือ go-to market strategy รวมไปถึงแชร์เซอร์วิสอื่นๆ เพื่อให้นวัตกรสามารถโฟกัสการสร้างธุรกิจได้อย่างเต็มที่ และถ้าสามารถสร้างไอเดียจนสำเร็จ จนมีโอกาส spin off ออกเป็นบริษัทใหม่ที่ลงทุนร่วมกันได้ด้วยในอนาคต (Share ownership)”
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทีม GUNKUL SPECTRUM มีผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในขั้นตอนการเตรียมการผลิตออกมาในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้ประชาชนได้ทดลองใช้งาน เช่น VOLT ENERGY MARKETPLACE แพลตฟอร์มแมตช์ชิ่งผู้ติดตั้ง Solar Rooftop กับลูกค้าที่สนใจ โดย VOLT จะเริ่มต้นให้บริการในลักษณะของ B2C (Business-to-Consumer) ที่ GUNKUL SPECTRUM มั่นใจว่า จะสามารถต่อยอดเป็น Marketplace แบบครบวงจรในลักษณะของ B2B ได้ ที่จะช่วยสร้าง Ecosystem ของผู้ซื้อ ผู้ขาย และผู้ใช้พลังงาน
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS