{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ในยุคที่โลก รวมทั้งประเทศไทย กำลังต้องการพลังงานทางเลือกใหม่ ที่สร้างมลพิษให้แก่สิ่งแวดล้อมน้อยลง มาผลิตไฟฟ้า ทดแทนพลังงานจากฟอสซิล อย่างน้ำมัน ที่ก่อให้เกิดมลภาวะมายาวนาน
การจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานทางทดแทนจึงกลายมาเป็นนโยบายสำคัญของประเทศไทย มีการกำหนดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานทางเลือก อาทิ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ โรงไฟฟ้าพลังงานลม โรงไฟฟ้าขยะ เป็นต้น
จนทำให้เอกชนจำนวนต้องปรับเปลี่ยนแนวทางมาลงทุนสร้างหรือซื้อโรงงานไฟฟ้ามากมาย บางแห่งถึงกับเปลี่ยนธุรกิจหลักที่เคยดำเนินงานมาก่อนหน้านั้นก็มี
ล่าสุดแนวคิดในการให้ชุมชนมีโอกาสที่มีโรงไฟฟ้าเป็นของชุมชนเอง ก็เป็นนโยบยสำคัญที่จะทำให้โรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกเกิดขึ้นมาอีกมาก เพียงแต่จะเลือกทางเลือกที่จะตรงตามแนวคิดที่ว่า ปลอดภัย ไร้มลพิษ และเกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง
อย่างที่ ชุมชนหนองบัว จ.นครสวรรค์ ได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนขึ้นมา ด้วยการนำเทคโนโลยีที่มีความแตกต่าง แต่มีประสิทธิภาพสูงมาใช้ เป็นเทคโนโลยีจากประเทศออสเตรียที่ดำเนินการมาอย่างยาวนานแล้ว โดยมี บริษัท กุสซิ่ง รีนิวเอเบิ้ล เอ็นเนอร์จี (ประเทศไทย) จำกัด (GUSSING RENEWABLE ENERGY (THAILAND) CO.,LTD.) เป็นผู้นำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาร่วมกับ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)หรือ SCG
ในที่สุดก็เกิด โรงไฟฟ้าชุมชนหนองบัว และเริ่มเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าแล้ว
นายไมเคิล เมสเนอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กุสซิ่ง รีนิวเอเบิ้ล เอ็นเนอร์จี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า กุสซิ่งเป็นบริษัทเป็นผู้ดำเนินธุรกิจวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนนำเทคโนโลยีแก๊สเชื้อเพลิงสังเคราะห์แบบ Dual Fluidized bed biomass gasification (DFB) จากประเทศออสเตรีย ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกับบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เพื่อวิจัยและถ่ายทอดความรู้และสาธิตโรงไฟฟ้าชีวมวลในชุมชนหนองบัว เป็นต้นแบบ เพื่อสร้างพลังงานสะอาด รองรับความต้องการในการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นภายในประเทศ
โดยร่วมกันพัฒนาโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวลชุมชนหนองบัว ที่ตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ บนเนื้อที่กว่า 6 ไร่ ใช้งบลงทุนกว่า 100 ล้านบาท ขนาดกำลังการผลิต 1 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เริ่มการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2557 และเริ่มผลิตไฟฟ้าได้จริงในปี 2563
โรงงานไฟฟ้าชีวมวลชุมชนหนองบัว มีกระบวนการผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่สะอาดและทันสมัย ในรูปแบบเทคโนโลยีแก๊สเชื้อเพลิงสังเคราะห์แบบ Dual Fluidized bed biomass gasification (DFB) เป็นระบบปิด ใช้น้ำน้อย ไม่มีน้ำเสีย ใช้เชื้อเพลิงน้อย
หลักการทำงานใช้หลักการทำงานการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ ที่ไม่ใช่การเผาวัตถุดิบเชื้อเพลิงโดยตรง แต่ใช้ทรายร้อน ประมาณ 800-850 องศาเซ็นติเกรด เป็นตัวนำความร้อนไปเผาเชื้อเพลิง โดยจะมีช่องว่างระหว่างนำท่อแก๊สเป็นสุญญากาศเพื่อลดการสูญเสียความร้อน แล้วผ่านท่อน้ำวนด้วยระบบหล่อเย็น (Cooling Tower) เกิดเป็นไอน้ำ จนกลายเป็นแก๊สมีเทนบริสุทธ์ และผลลัพธ์ที่ได้คือก๊าซที่สะอาดและให้พลังงานซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าไฮโดรเจน หรือก๊าซธรรมชาติสังเคราะห์ (SNG) ในที่สุด โดยเทคโนโลยีดังกล่าวปราศจากมลพิษและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นส่วนช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจชุมชน จากการที่ประชาชนนำเศษของผลผลิตทางการเกษตรมาขาย ให้บริษัททำเชื้อเพลิง
นับว่าเป็นโรงงานไฟฟ้าพลังงานสะอาดแห่งแรกในเอเชีย และเป็นโรงงานไฟฟ้าชุมชนต้นแบบในเมืองไทย
“เพราะไฟฟ้านับเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยและมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทเลือกประเทศไทย เป็นฐานการผลิตพลังงานไฟฟ้าชีวมวลโครงการต้นแบบนำร่อง
นอกจากจะได้พลังงานสะอาด ไร้มลพิษแล้ว ประชาชนที่อยู่ในชุมชนยังได้ประโยชน์จากการนำเอาเศษไม้ไม่ว่าจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเกิดจากผลผลิตทางการเกษตร อย่าง มัน อ้อย ที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งมีอยู่มากในพื้นที่นำมาขาย สร้างรายได้ แม้อยู่ในช่วงนอกฤดูการผลิต โดยบริษัทรับซื้อตันละ 800-1,200 บาท
โดยช่วงเริ่มต้นบริษัทได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าประมาณ 60% และจะเพิ่มขึ้นให้เต็มกำลัง ทำให้ความต้องการวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น ก็เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้ชุมชน แล้วโรงงานไฟฟ้าเองก็สามารถขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้อีก ถ้าความต้องการมากขึ้น ซึ่งโรงงานไฟฟ้าต้นแบบจะอยู่ที่ 3 เมกะวัตต์ แต่เราใช้เพียงแค่ 1 เมกะวัตต์ ขณะที่เราได้ใบอนุญาตผลิตถึง 9 เมกะวัตต์” นายไมเคิล ระบุ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กุสซิ่งฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากโรงงานไฟฟ้าเดินเครื่องแล้ว บริษัทก็วางแผนนำเอาพลังงานความร้อนเหลือทิ้ง ( Waste heat) เปลี่ยนเป็นความเย็นภาย เพื่อสร้างห้องเย็น ( Cold storage room ) ให้กับชุมชนหนองบัวได้ใช้ประโยชน์ในการเก็บพืชผลทางการเกษตร หรือในด้านอื่น เป็นการต่อยอดออกไป พร้อมสร้างศูนย์สาธิตการผลิตไฮโดรเจนในชุมชนหนองบัวในปี 2564 ร่วมกับพันธมิตรสำนักวิจัยของไทย เพื่อฝึกอบรมผู้ประกอบการโรงงานในอาเซียนที่โรงงานไฟฟ้าชีวมวลชุมชนหนองบัว
นอกจากนี้บริษัทจะร่วมกับ SCG ส่งเสริมด้านการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าชุมชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากรัฐบาลยังคงเดินหน้านโยบายโรงไฟฟ้าชุมชน โดยตั้งเป้าจะสามารถขยายการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย 50 เมกะวัตต์ อีกจำนวน 15-20 โครงการในปี 2563-2565 ด้วยระบบ GRETHA DFB ในราคาคงที่และกำหนดการก่อสร้างที่เชื่อถือได้ ซึ่งมีต้นทุนการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกะวัตต์ ด้วยเทคโนโลยี DFB ในประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาท
ส่วนล่าสุดบริษัทร่วมกับ SCG สร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ประเทศญี่ปุ่นเสร็จเป็นที่เรียบร้อย และเตรียมเดินระบบเพื่อเริ่มทดสอบกำลังผลิตภายในปี 2563 ผ่านสัญญาระบบบล็อกเชน ซึ่งติดตามการจัดหาวัตถุดิบและการเปลี่ยนเป็นพลังงาน ส่งผลดีต่อเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS