{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ข้อมูลจากองค์กรสหประชาชาติ ระบุ ทุกปีทั่วโลกมีการจ่ายเงินสินบนราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีเงินอีกราว 2.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐที่รั่วไหลออกมาเนื่องจากการคอร์รัปชัน ซึ่งเมื่อรวมแล้วมีมูลค่ามากกว่าร้อยละ 5 ของ GDP ทั่วโลก
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International: TI) ประกาศค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perception Index: CPI) ปี 2560 จากการจัดอันดับ 180 ประเทศทั่วโลก โดยวัดระดับการรับรู้ทุจริตคอร์รัปชันในระบบการเมืองและหน่วยงานภาครัฐจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญและนักธุรกิจ พบว่า 2 ใน 3 ของ 180 ประเทศทั่วโลก ได้คะแนนต่ำกว่า 50 คะแนนหรือต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม 100 คะแนน มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 43 คะแนน ซึ่งเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านๆ มา ภาพรวมสถานการณ์คอร์รัปชันโลกไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นแต่อย่างใด
ประเทศที่ได้อันดับความโปร่งใสสูงที่สุดในโลกคือ นิวซีแลนด์ ได้ 89 คะแนน ตามด้วย เดนมาร์ก (88 คะแนน) ฟินแลนด์ (85 คะแนน) นอร์เวย์ (85 คะแนน) สวิตเซอร์แลนด์ (85 คะแนน) และสิงคโปร์ (84 คะแนน)
ส่วนประเทศไทยของเรา ได้คะแนนความโปร่งใสอยู่ที่ 37 คะแนน ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 96 ได้คะแนนดีขึ้นกว่าปีก่อน 2 คะแนน แต่ถือว่าทั้งคะแนนและอันดับลดลง ถ้าเทียบกับคะแนนที่ไทยเคยได้ในปี 2557-2558 ที่อยู่ที่ 38 คะแนน มีอันดับความโปร่งใส่อยู่ที่อันดับ 85 และ 76 ของโลก
ในอาเซียน ไทยได้คะแนนอยู่ในอันดับที่ 4 ร่วมกับอินโดนีเซีย (37 คะแนน) รองจากสิงคโปร์ (84 คะแนน) บรูไน (62 คะแนน) และมาเลเซีย (47 คะแนน) อันดับต่อจากไทยและอินโดนีเซีย ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา ตามลำดับ
การทุจริตคอร์รัปชัน ถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่บั่นทอนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของทุกประเทศ ทำลายรากฐานและสถาบันประชาธิปไตยโดยการบิดเบือนกระบวนการเลือกตั้ง ซึ่งจะส่งผลต่อหลักนิติธรรมและการพัฒนาของระบบราชการ
ที่ประชุมใหญ่ของสมัชชาแห่งสหประชาชาติ ได้มีมติเห็นชอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต พ.ศ. 2546 (United Nations Convention against Corruption-UNCAC, 2003) อย่างเป็นเอกฉันท์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546
หลังจากนั้นประเทศภาคีสมาชิก 191 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาดังกล่าว ระหว่างวันที่ 9-11 ธันวาคม 2546 ณ เมืองเมอริด้า ประเทศเม็กซิโก และได้มีการประกาศให้วันที่ 9 ธันวาคมของทุกปีเป็น วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (International Anti-Corruption Day) นับจากนั้นเป็นต้นมา
โครงการพัฒนาสหประชาชาติ (United Nations Development Programme) และสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime) รณรงค์เนื่องในวันต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันสากลภายใต้ คอนเซ็ปท์ Corruption Your 'NO' Counts ขณะที่ไทย ปีนี้รณรงค์ภายใต้แนวคิด “Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต : 4.0 จุดจบคอร์รัปชัน" โดยนายกรัฐมนตรีร่วมประกาศเจตนารมณ์ ยืนยันการป้องกันปราบปรามและต่อต้านการทุจริตเป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องเร่งแก้ไข ด้วยการสร้างจิตสำนึกการชิงชังต่อการทุจริตให้เป็นวัฒนธรรมของสังคมไทย
ขอขอบคุณข้อมูล
https://www.transparency.org/news/feature/corruption_perceptions_index_2017
https://www.transparency.org/cpi2015#results-table
https://www.transparency.org/cpi2014/results
http://ethics.nso.go.th/Images/POster.pdf
http://www.un.org/en/events/anticorruptionday/
https://www.awarenessdays.com/awareness-days-calendar/international-anti-corruption-day-2018/
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS