{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายศิรัตน์ รัตนไพฑูรย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน (CFO) และตัวแทนฝ่ายบริหารของ บริษัท วาว แฟคเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ “W” เปิดเผยถึงกรณีที่ปรึกษาการเงินอิสระ (IFA) ให้ความเห็นว่าผู้ถือหุ้นไม่ควรอนุมัติการทำรายการซื้อธุรกิจ “Domino’s Pizza” ว่า บริษัทไม่ได้กังวลใจ เนื่องจากสิ่งที่ IFA มองส่วนใหญ่ก็สอดคล้องกับมุมมองของบริษัทต่อธุรกิจนี้ ทั้งเรื่องประโยชน์จากการเข้าลงทุน ความเสี่ยงของธุรกิจ ซึ่ง IFA ก็มองว่าเป็นความเสี่ยงตามปกติของธุรกิจนี้และเรามีแผนรับมือความเสี่ยงไว้แล้ว
ส่วนประเด็นที่ IFA เห็นต่างนั้น บริษัทมองว่าเป็นการมองธุรกิจในมุมที่ต่างกัน เช่น ประเด็นเรื่องค่าตอบแทนการซื้อธุรกิจที่ IFA มองว่าสูงกว่ามูลค่าธุรกิจที่ IFA ได้ประเมิน เรื่องนี้ต้องบอกว่าสมมติฐานเกือบทั้งหมดที่ IFA ใช้ประเมินมูลค่ากิจการแทบจะไม่ต่างกับที่เราใช้ จุดที่ต่างมีแค่เรื่องการเติบโตของจำนวนบิลต่อสัปดาห์ต่อสาขา (AWO) ที่ IFA มองการเติบโต อิงตามการเติบโตของยอดขายของแต่ละสาขาที่ 5.5% ต่อปี แต่เรามองการเติบโตที่ 15% ต่อปี ในปี 2565 – 2566 และเติบโตประมาณ 4.6% ต่อปี ในปีที่เหลือ ซึ่งต้องบอกว่าที่มองแบบนี้เพราะมองเห็นจุดแข็งของแบรนด์ และจุดที่สามารถปรับปรุงเพื่อเสริมความแข็งแกร่งได้อีก และมั่นใจว่าทำได้ทันทีในปีแรกที่เข้าลงทุน โดยเฟสแรกคือการปรับปรุงรูปแบบ Website ให้สะดวกและง่ายต่อการสั่งซื้อสินค้ามากขึ้น รวมถึงการพัฒนาความระบบขนส่งสินค้าและ Call Center ให้มีมาตรฐาน การนำระบบเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการ และที่สำคัญที่สุดคือการปรับปรุงมาตรฐานของแป้งและหน้าพิซซ่าให้คงที่ ซึ่งไม่ว่าลูกค้าจะสั่งจากสาขาไหนหรือด้วยวิธีการไหนความอร่อยและมาตรฐานของสินค้าต้องเท่ากัน และก็มีแผนจะออกพิซซ่าหน้าใหม่ๆ ที่ถูกปากคนไทย และเหมาะสมกับแต่ละเทศกาลอีกด้วย ซึ่งถ้าเราทำได้ตามแผนที่พูดมา การเพิ่มยอดขายอย่างก้าวกระโดดในปี 2565-2566 ก็มั่นใจว่าเป็นไปได้
ส่วนประเด็นเรื่องเงื่อนไขการซื้อขายกิจการที่ W ทำกับผู้ขายไม่เป็นธรรมนั้น นายศิรัตน์ กล่าวว่า เงื่อนไขดังกล่าวได้ผ่านการเจรจามาอย่างยาวนานและบริษัทได้ใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการเจรจาจนได้มาซึ่งเงื่อนไขตามที่ได้เปิดเผยต่อผู้ถือหุ้นแล้ว และเป็นเงื่อนไขสุดท้ายที่ผู้ขายจะยินยอมสำหรับการขายธุรกิจครั้งนี้ มากไปกว่านั้น W ก็ไม่ใช่เจ้าเดียวที่สนใจซื้อธุรกิจนี้จากผู้ขายอีกด้วย
สำหรับประเด็นที่ว่ากิจการจะมีผลการดำเนินงานที่ขาดทุนในช่วงแรกของการลงทุนและจะเริ่มเห็นกำไรจากการดำเนินงาน (EBIT) หลังปีที่ 5 ของการเข้าลงทุน บริษัททราบดีในเรื่องผลขาดทุนในระยะแรกของการลงทุน และมีการเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องเม็ดเงินที่ต้องใช้ และแผนพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับผลขาดทุนและพลิกฟื้นกิจการให้มีผลกำไรโดยเร็ว โดยจากการคาดการณ์ ถ้าพิจารณาในมุมกระแสเงินสด (EBITDA) จะพบว่า EBITDA ของกิจการจะเริ่มเป็นบวกในปี 2565 หรือใช้เวลาเพียง 3 ปี หลังการเข้าลงทุนเท่านั้น
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS