{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
20 มีนาคม พ.ศ. 2530 ยาซิโดวูดีน หรือเอแซดที (Zidovudine หรือ AZT หรือ ZDV) ยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีชนิดแรก ได้รับการรับรองให้ใช้กับเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์
ยาซิโดวูดีน นอกจากจะเป็นยาที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อเอชไอวีแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด จากการศึกษาพบว่า สามารถลดการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกได้ถึง 70% และไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
หากผู้ป่วยได้รับยาซิโดวูดีนติดต่อกันนานๆ อาจทำให้เชื้อ HIV เกิดการดื้อยาได้ ปัจจุบันจึงนิยมใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสชนิดอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและป้องกันการดื้อยาของเชื้อ
HIV และ AIDS ต่างกันอย่างไร
HIV หรือ Human Immunodeficiency Virus เป็นเชื้อไวรัส ไม่ใช่โรค ผู้มีเชื้อเอชไอวีจะไม่ใช่ผู้ป่วย เพราะยังไม่มีอาการแสดง แต่ในช่วง 2-3 สัปดาห์หลังรับเชื้อ อาจมีอาการคล้ายเป็นหวัดไม่สบาย ปวดหัว ต่อมน้ำเหลืองโต แต่อาการเหล่านี้จะหายไปเอง ผู้ที่ติดเชื้อในระยะที่ 1 นี้จะไม่รู้ว่าตนเองมีเชื้อ เรียกว่า “ผู้มีเชื้อเอชไอวี” หรือ “ผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี” ในระยะแรกหลังจากติดเชื้อร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อต้านเชื้อไวรัสแต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้หมด เชื้อไวรัสจะยังคงอยู่ในเม็ดเลือดและแพร่กระจายต่อไปจนทำลายเม็ดเลือดขาว ซึ่งจะทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายลดลง หากไม่ได้รับยาต้านไวรัสในระยะนี้ อาจทำให้เข้าสู่ระยะที่เป็นโรคเอดส์เต็มขั้นได้
AIDS หรือ Acquired Immune Deficiency Syndrome กลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีไปสู่ระยะมีอาการเป็นโรคเอดส์ ในช่วงนี้เม็ดเลือดขาวจะถูกทำลาย ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ ทำให้ติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่างๆ เช่น วัณโรค โรคปอดอักเสบ หรือมะเร็งบางชนิด ซึ่งโรคฉวยโอกาสเหล่านี้สามารถรักษาได้ หลายโรคก็สามารถป้องกันได้ หากไม่ได้รับเชื้อเพิ่มและได้รับยาต้านไวรัสสม่ำเสมอ ผู้ป่วยเอดส์จะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเองด้วย
ข้อมูลของโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ระบุว่า ในปี 2559 มีผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีทั่วโลกจำนวน 36.7 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 2.1 ล้านคน มีผู้ติดเชื้อใหม่ 1.8 ล้านคน มีผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส 20.9 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ 1 ล้านคน
ขณะที่ข้อมูลของศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ระบุว่า สิ้นปี 2559 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีกว่า 420,000 คน ในจำนวนนี้มีผู้ติดเชื้อใหม่กว่า 6,200 คน เฉลี่ยวันละ 17 คน และตลอดทั้งปีมีผู้เสียชีวิตกว่า 15,000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขการเสียชีวิตที่สูง อาจเป็นเพราะผู้ติดเชื้อไม่กล้าตรวจเลือด ทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จนร่างกายได้รับเชื้ออื่นๆ จนเกิดเป็นโรคฉวยโอกาสตามมา
แม้จำนวนผู้ติดเชื้อจะคงที่ แต่ยังคงเป็นตัวเลขที่สูง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงวางเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ไว้ว่า ภายในปี 2573 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต้องไม่เกิน 1,000 คน ต้องลดอัตราการเสียชีวิตไม่เกิน 4,000 คน โดยจะเร่งพัฒนาเทคโนโลยีในการวิเคราะห์และตรวจผลให้รวดเร็วขึ้น เพื่อส่งผลดีต่อการรักษาผู้ป่วยในระยะแรก รวมถึงรณรงค์ให้คนตื่นตัวป้องกันโรคเอดส์มากขึ้น
การพัฒนาทางด้านการรักษา มียาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพ ถือเป็นเรื่องดี โรคที่เคยรักษาไม่ได้กลับรักษาให้หายได้ แต่ในข้อดีนี้ กลับทำให้คนไทยส่วนใหญ่เลิกตื่นกลัวกับโรคนี้ เพราะคิดว่ายังไงก็รักษาได้ แต่อย่าลืมไปว่า “อโรคยา ปรมาลาภา”
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS