{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์ เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ในการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) วันที่ 21-22 พ.ค. ที่ผ่านมา ทางการจีนไม่เปิดเผยตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจแบบเฉพาะเจาะจงเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1994 โดยให้เหตุผลว่าความไม่แน่นอนสูงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และเศรษฐกิจโลก ทำให้ประมาณการณ์ได้ยาก พร้อมคาดการณ์กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัว โดยประเมินว่าอัตราการว่างงานจะอย่ที่ 6% สูงขึ้นจาก 5.5% ในปีที่ผ่านมา ในขณะที่จำนวนตำแหน่งงานในเขตเมืองอยู่ที่ 9 ล้านตำแหน่ง เพิ่มขึ้นจาก 11 ล้านตำแหน่งในปีที่ผ่านมา จากเหตุผลดังกล่าวทำให้จีนยังส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ผ่านการใช้มาตรการการคลัง โดยตั้งเป้าการขาดดุลในปี 2020 ที่ระดับไม่ต่ำกว่า 3.6% ของ GDP สูงขึ้นจาก 2.8% ในปีที่ผ่านมา คิดเป็นตัวเงินสูงถึงกว่า 5 แสนล้านดอลลลาร์ และในขณะเดียวกันเตรียมออกตราสารหนี้พิเศษวงเงิน 1 ล้านล้านหยวน หรือราว 1.4 แสนล้านดอลลาร์ เพื่ออัดฉีดสู่ระบบเศรษฐกิจ สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจที่อาจอ่อนแอกว่าที่ทางการเคยประเมินไว้ ทำให้มีความเสี่ยงที่จีนจะไม่สามารถซื้อสินค้าจากสหรัฐฯเพิ่มขึ้นด้วยวงเงินสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ ตามสัญญาการค้าที่ทำไว้ก่อนหน้านี้ได้
นอกจากนี้อีกประเด็นสำคัญคือการที่จีนเตรียมออกกฏหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่สำหรับฮ่องกง ซึ่งเป็นการให้อำนาจทางการจีนดำเนินการได้อย่างเด็ดขาดในการควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบในฮ่องกง สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจชัดเจนของจีนที่จะเข้าแทรกแซงและจัดการกับสถานการณ์การประท้วงที่ยืดเยื้อมานาน อย่างไรก็ตามก็ทำให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยเริ่มมีความเคลื่อนไหว และท้ายที่สุดอาจจะนำไปสู่การประท้วงและความวุ่นวายที่มากขึ้นกว่าเดิมในฮ่องกง ยิ่งไปกว่านั้นก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโดนัล ทรัมป์ ก็เคยส่งสัญญาณว่าจะมีมาตรการการตอบโต้หากจีนใช้ยาแรงกับกลุ่มผู้ประท้วงในฮ่องกง สร้างความกังวลว่าสงครามการค้ารอบใหม่จะปะทุขึ้นอีกครั้ง
สำหรับเศรษฐกิจไทยน่าจะโดนผลกระทบโดยตรงไม่มากนัก เพราะสถานการณ์ความไม่สงบในฮ่องกงเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงประมาณปลาย มี.ค. 2019 และตึงเครียดมากที่สุดราว 4Q19 ส่งผลให้เศรษฐกิจฮ่องกงเข้าสู่ภาวะถดถอย อัตราการขยายตัวติดลบติดต่อกัน 4 ไตรมาส (QoQ SA) ต่อเนื่องจนถึงช่วง 1Q20 ที่โดนผลกระทบจาก COVID-19 เข้ามาซ้ำเติม ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญของฮ่องกง โดยไทยมีมูลค่าส่งออกไปตลาดฮ่องกงสูงเป็นลำดับที่ 6 มีสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกไปตลาดฮ่องกงสูงเป็นลำดับที่ 6 มีสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อุปกรณ์และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า ผลไม้สดแช่เย็น/แช่แข็งและแห้ง อัญมณีและเครื่องประดับ และโทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ โดยคิดเป็นสัดส่วนรวมที่ประมาณ 70% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด อย่างไรก็ดีการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังฮ่องกง ส่วนหนึ่งใช้เพื่อเป็นฐานการกระจายสินค้าไปยังจีนและประเทศอื่นๆในเอเชีย จะมีก็เพีบงบางส่วนที่เป็นการใช้เพื่ออุปโภคบริโภคและค้าปลีกในตลาดฮ่องกงเอง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผลกระทบเชิงลบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงที่ผ่านมาถือว่าไม่รุนแรง เนื่องจากการประท้วงไม่ได้กระทบต่อระบบการขนส่งหรือภาค Logistics ที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งของฮ่องกงมากนัก
หากพิจารณาสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุด 5 ลำดับแรกก็จะพบว่า ในช่วง 4Q19 มีเพียงการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยบวกกับผู้ซื้อหลักในตลาดค้าปลีกคือนักท่องเที่ยวชาวจีนลดลงถึง 67% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และถ้าเปรียบเทียบกับในช่วง 1Q20 ที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้จีนเริ่มปิดเมืองในช่วงตั้งแต่ ม.ค.-ก.พ. ที่ผ่านมา กางส่งออกไปตลาดฮ่องกงโดนผลกระทบมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ จะมีก็เพียงการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่พลิกขยายตัว +110% เนื่องจากเป็นการเร่งส่งออกก่อนปิดเมือง ดังนั้น แม้ว่าจะเกิดเหตุประท้วงรอบใหม่ ยังประเมินว่าผลกระทบระยะสั้นโดยตรงต่อภาคเศรษฐกิจจริงของไทยน่าจะยังจำกัด อย่างไรก็ตามหากเหตุการณ์บานปลายจนกระทบต่อระบบการขนส่งของฮ่องกง จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ผลกระทบมีมากขึ้น
ในทางกลับกันประเด็นที่น่าจะมีน้ำหนักกดดันบรรยากาศการลงทุนระยะสั้นมากกว่า คือความกังวลว่าจะเกิดความขัดแย้งรอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯกับจีน ต่อมาตรการตอบโต้ของสหรัฐฯหลังจากนี้ รวมถึงแนวทางการเข้ามาจัดการกับปัญหาความไม่สงบภายในของฮ่องกงที่ทางการจีนอาจจะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น นอกจากนี้แนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวจนจีนอาจจะไม่สามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้ากับสหรัฐฯ ล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู้สงครามทางการค้ารอบใหม่
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS