{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็สเผยภาพรวมธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพไตรมาส 1/2563 แข็งแกร่ง จัดเก็บหนี้ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ยังปกติ กระแสเงินสดเพียงพอ
นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจของบริษัทยังเป็นไปตามเป้าหมาย เพราะ มีพอร์ตบริหารหนี้สะสมในปัจจุบันอยู่ที่ 177,000 ล้านบาท และสามารถทยอยรับรู้รายได้จากกระแสเงินสด (Cash collection) ที่สามารถเก็บเข้ามาได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 10 ปี
โดยบริษัทได้ประเมินในช่วงไตรมาสแรกของปี สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นปัจจัยกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจและประชาชนในวงกว้าง จึงได้ปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด แม้ภาพรวมไม่ได้กระทบบริษัท เพราะ JMT ยังสามารถผลิตกระแสเงินสดและสร้างความมั่นคงของกำไรสุทธิได้อย่างแข็งแกร่ง ขณะที่สถานการณ์ในปัจจุบัน มองว่าจะมีแนวโน้ม NPL ในระบบเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินจะมีการทยอยขายหนี้ด้อยคุณภาพออกมามากขึ้น เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ JMT สามารถขยายพอร์ตสินทรัพย์ด้อยคุณภาพได้ JMT เป็นอันดับหนึ่งในธุรกิจบริหารสินทรัพย์แบบไม่มีหลักประกัน และขยายมายังสินทรัพย์แบบมีหลักประกัน ตั้งเป้าปีนี้วางงบลงทุนซื้อหนี้เข้ามาบริหารที่ 4,500 ล้านบาท สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
สำหรับภาพรวมการจัดเก็บหนี้ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส 1/2563 การเก็บเงินสด (Cash collection) ยังเป็นไปตามปกติ ใกล้เคียงกับช่วงก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ปัจจุบันบริษัท ยังบริหารจัดการได้ และในแง่การลงทุนซื้อหนี้ใหม่ ก่อนหน้านี้ ประกาศปิดดีลการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพประเภทไม่มีหลักประกันเข้ามาบริหารมูลค่ารวมเกือบ 3,000 ล้านบาท จากสถาบันการเงินชั้นนำแห่งหนึ่ง สะท้อนความไว้วางใจจากสถาบันการเงิน และเป็นสัญญาณว่าปีนี้น่าจะมีหนี้ออกมาจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างประมูลเข้าซื้อหนี้ด้อยคุณภาพในไตรมาส 2/2563 เพิ่มเติมอีก
ด้านธุรกิจประกัน ภายใต้การบริหารของ บริษัท เจพี ประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัทย่อยที่ JMT ถือหุ้น 55% มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี จากเบี้ยประกันภัยเติบโตขึ้นและมีคุณภาพ โดยเฉพาะการตอบรับอย่างท่วมท้นของผลิตภัณฑ์ประกันภัยไวรัสโควิด-19 ในการนำเสนอช่องทางการขายของบริษัทในเครือ ประกอบกับ มองว่าการลดต้นทุนด้วยการปรับพอร์ตที่มีอัตราส่วนความเสียหาย (Loss ratio) และเพิ่มสินค้ากลุ่ม Non-motor ที่อัตรากำไรดีกว่าเพิ่มขึ้น
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS