COCOCO ผนึกกำลัง SCGP - ม.เกษตรฯ เสริมแกร่ง ESG ทั้งรีไซเคิลและสมการมะพร้าวสู่ Net Zero

บมจ. ไทย โคโคนัท COCOCO ประกาศลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ 2 หน่วยงาน นำโดย บมจ. เอสซีจี แพคเกจจิ้ง ภายใต้โครงการ “เก่าแลกใหม่ - Old for New by SCGP RECYCLE” และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้โครงการ “การวิจัยเพื่อสร้างสมการแอลโลเมตรีในการตรวจวัดมวลชีวภาพของต้นมะพร้าว (สมการมะพร้าวน้ำหอม/สมการมะพร้าวกะทิ)” เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านการวิจัย การสร้างองค์ความรู้ และการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเชิงพาณิชย์

ดร.วรวัฒน์ ชิ้นปิ่นเกลียว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย โคโคนัท จำกัด (มหาชน) หรือ COCOCO เปิดเผยว่า ด้วย บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านการวิจัย การสร้างองค์ความรู้ และการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ 2 หน่วยงาน ได้แก่

บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) ภายใต้โครงการ “เก่าแลกใหม่ - Old for New by SCGP RECYCLE” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการบริหารจัดการวัสดุรีไซเคิลจากการประกอบธุรกิจด้วยวิธีการรีไซเคิลและกระบวนการที่ยั่งยืน (Sustainability Solution) ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

สำหรับโครงการนี้มุ่งเน้นการปรับปรุงแนวทางการจัดการขยะกระดาษภายในองค์กร โดยลดการเผาไหม้และฝังกลบ พร้อมนำขยะกระดาษเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร และสามารถขยายผลเป็นต้นแบบให้กับบริษัทในเครือ นอกจากนี้ โครงการนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ความยั่งยืนของบริษัท โดยสนับสนุนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อทั้งองค์กรและภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้โครงการ “การวิจัยเพื่อสร้างสมการแอลโลเมตรีในการตรวจวัดมวลชีวภาพของต้นมะพร้าว (สมการมะพร้าวน้ำหอม/สมการมะพร้าวกะทิ)” โดยมีวัตถุประสงค์: เพื่อร่วมกันจัดทำข้อมูลด้านวิชาการ การศึกษาวิจัยเชิงวิชาการ ที่ปรึกษาด้านวิชาการเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

สำหรับโครงการนี้ให้ความสำคัญในการเข้าสู่กระบวนการจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กร โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำสมการแอลโลเมตรีสำหรับการตรวจวัดมวลชีวภาพของต้นมะพร้าวพร้อมทั้งตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติเพื่อให้สามารถนำสมการจากผลงานวิจัยมาเสนอต่อองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (“อบก.เพื่อขอการรับรองและนำไปใช้ในการประเมินศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของมะพร้าวอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและตอบสนองต่อเจตนารมณ์ของประเทศไทยในการมุ่งสู่การลดก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ โครงการนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ความยั่งยืนของบริษัทฯ โดยสนับสนุนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อทั้งองค์กรและภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment