{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
รายงาน Circularity Gap Report 2025 (CGR®) ที่จัดทำร่วมกันระหว่าง Circle Economy และ Deloitte Global ซึ่งเผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม 2568 พบว่า วัสดุที่ใช้ทั่วโลกปริมาณ 106 พันล้านตันต่อปีนั้น มีเพียงร้อยละ 6.9 ที่มาจากแหล่งรีไซเคิล โดยเป็นปริมาณที่ลดลงร้อยละ 2.2 จากปี 2558 โดยหนึ่งในปัจจัยมาจากอัตราการใช้วัสดุทั่วโลกมีการเพิ่มขึ้นเร็วกว่าการเติบโตของประชากร ส่งผลให้เกิดปริมาณขยะมากกว่าที่ระบบรีไซเคิลในปัจจุบันจะรองรับได้ นี่จึงเป็นการเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการกำหนดเป้าหมายเศรษฐกิจหมุนเวียนระดับโลก การเปลี่ยนแปลงในระดับระบบ และความร่วมมือระดับพหุภาคี
นับเป็นครั้งแรกที่รายงาน CGR® ได้วิเคราะห์การไหลเวียนของวัสดุ การสะสม และการไหลออกจากเศรษฐกิจโลก ซึ่งสนับสนุนหรือชะลอการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยประเมินสถานะปัจจุบันอย่างครอบคลุม พร้อมกำหนดเป้าหมายเบื้องต้น เพื่อช่วยลดการใช้วัสดุและเพิ่มการใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียนทั่วโลก ทั้งนี้ การวิเคราะห์โดยใช้ดัชนีชี้วัดด้านการหมุนเวียน 11 ข้อในการช่วยกำหนดให้กลไกต่าง ๆ (เช่น ความยั่งยืนทางการเกษตร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน) สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนได้ โดยมุ่งเน้นศักยภาพต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์
พร้อมกันกับรายงาน CGR 2025 นั้น Circle Economy ได้เปิดตัว CGR® แดชบอร์ด ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลนับล้านรวบรวมตั้งแต่เริ่มจัดทำรายงานประจำปี โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดทำข้อมูลการใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียนให้สามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง เพื่อช่วยให้ผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำธุรกิจ และผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก สามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลครบถ้วน
ถึงแม้ว่าการใช้วัสดุรีไซเคิลจะเพิ่มขึ้น 200 ล้านตัน จากปี 2561 ถึงปี 2564 แต่การใช้วัสดุโดยรวมกลับเพิ่มขึ้นเร็วกว่ามาก ส่งผลให้ความก้าวหน้าในการใช้วัสดุรีไซเคิลถูกลดทอนไป ทั้งนี้ รายงานได้แนะนำให้ลดการพึ่งพาทรัพยากรใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการนำวัสดุรีไซเคิลใช้ในกระบวนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรตลอดการดำเนินงานและห่วงโซ่คุณค่าเพื่อลดของเสีย รวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงความทนทาน และการแบ่งระบบออกเป็นส่วนต่าง ๆ (Modularity) เพื่อที่จะสะดวกและประหยัดต้นทุนในการซ่อมบำรุง
แค่การรีไซเคิลวัสดุเพียงอย่างเดียวโดยไม่ลดการบริโภค ก็สามารถทำให้การใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียนทั่วโลกเพิ่มจากร้อยละ 6.9 เป็นร้อยละ 25 ได้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนี้เป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ เนื่องจากวัสดุบางชนิดยังคงมีความยากในการจัดเก็บ ข้อจำกัดในการเก็บและขนส่งวัดสุอันตราย รวมถึงการรีไซเคิลมีความซับซ้อนหรือมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีมาตรการที่ลดการใช้วัสดุโดยรวม ควบคู่ไปกับการเพิ่มความพยายามในการรีไซเคิล ดังที่รายงานฉบับนี้ได้เสนอแนะ
ระบบรีไซเคิลในปัจจุบัน ไม่เพียงพอต่อการจัดการกับวิกฤตขยะโลกและในบางพื้นที่ ยังขาดมาตรฐานด้านการดำเนินงานและประสิทธิภาพที่เหมาะสม จึงเป็นโอกาสที่ผู้นำธุรกิจในทุกภาคส่วนจะปรับปรุงระบบรีไซเคิลและลดปริมาณการเกิดขยะ ด้วยหลักการออกแบบแบบหมุนเวียน การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงการเก็บขยะ รวมถึงการนำแร่หายากกลับไปใช้ใหม่สำหรับขยะที่มีมูลค่าสูง เป็นต้น
นอกจากนั้น วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ส่วนใหญ่มาจากขยะอุตสาหกรรมและการรื้อถอน ต่างกับขยะครัวเรือนที่มีบทบาทเพียงเล็กน้อย เพียงร้อยละ 3.8 ของวัสดุรีไซเคิลทั้งหมดมาจากสิ่งของประจำวันที่ผู้บริโภคใช้และทิ้ง
“จากการวิเคราะห์ของเรา ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า แม้ในโลกแห่งอุดมคติ เราก็ไม่สามารถแก้ไขวิกฤติด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโลกที่มนุษย์ในปัจจุบันกำลังเผชิญอยู่ หรือที่เรียกว่า Triple planetary crisis ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยการรีไซเคิลเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงระบบที่จำเป็นจึงต้องใช้การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การปรับใช้ศักยภาพของการใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียนที่มีอยู่แล้ว เช่น อาคารและโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการชีวมวลอย่างยั่งยืนและการหยุดส่งวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ไปยังหลุมฝังกลบ โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากภายนอกตัวเรา แต่เราทุกคนต่างต้องตัดสินใจ มีความกล้า และลงทุนเพื่อนำโซลูชั่นแบบหมุนเวียนไปใช้ในทั้งห่วงโซ่คุณค่า” อีวอน โบโจห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Circle Economy กล่าว
รายงานได้เสนอให้มีการกำหนดเป้าหมายเศรษฐกิจหมุนเวียนระดับโลก เพื่อลดการใช้วัสดุและความต้องการพลังงาน ควบคู่ไปกับการเพิ่มอัตราการรีไซเคิล ซึ่งสามารถทำได้โดยการส่งเสริมหลักการออกแบบแบบหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์และส่วนประกอบที่มีอยู่ และการรับรองว่าการใช้วัสดุรีไซเคิลจะเป็นบรรทัดฐานสำหรับธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมและภูมิภาค
รัฐบาลมีโอกาสที่จะช่วยสนับสนุนการใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียน ผ่านนโยบายต่าง ๆ รวมถึงการสนับสนุนด้านการเงินและความร่วมมือในระดับพหุภาคี การกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและสนับสนุนความคิดริเริ่มแบบหมุนเวียนจะทำให้สามารถสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียน ซึ่งหมายรวมถึงการเปลี่ยนภาระภาษีจากแรงงานไปสู่การใช้วัสดุ การปรับเปลี่ยนเงินอุดหนุนจากกิจกรรมแบบเส้นตรง และการสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการการใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียนต่าง ๆ
เดวิด ราเคาว์สกี้ พาร์ทเนอร์ ดีลอยท์ สหราชอาณาจักร โกลบอลลีดเดอร์ของการใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียน กล่าวว่า “ผู้นำธุรกิจที่การณ์ไกลไปมากกว่าการปฏิบัติเชิงรุกตามกฎระเบียบเพื่อตอบรับแนวคิดการใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียนนั้น จะสามารถช่วยองค์กรในด้านคุณค่าและโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ รวมถึงลดต้นทุน และสร้างความยืดหยุ่นในห่วงโซ่อุปทานระยะยาว โดยในปีนี้ CGR ได้มอบข้อมูลเชิงปฏิบัติแก่ผู้นำต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการมุ่งเน้นด้านการใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียน การสร้างความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายความยั่งยืน และการสร้างเศรษฐกิจโลกที่ยืดหยุ่น ซึ่งคำนึงถึงขีดจำกัดของโลก”
ความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่เข้มแข็ง ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน จะเป็นกุญแจสำคัญในการจัดด้านการใช้และการลดการใช้ทรัพยากรให้ประสบผลสำเร็จ
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS