{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จัดงานสัมมนา UOB Sustainability Compass Forum เพื่อตอกย้ำบทบาทการสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีให้สามารถเริ่มต้นเส้นทางการลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) ได้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว งานเสวนาครั้งนี้ เป็นการเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น รวมถึงข้อมูลกฎระเบียบที่กำลังจะส่งผลกระทบ และแชร์มุมมองจากธุรกิจที่เริ่มต้นเรื่องความยั่งยืน
นางพณิตตรา เวชชาชีวะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Financial Institutions และ ESG Solutions ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “เมื่อปีที่แล้ว ธนาคารยูโอบี ได้เปิดตัว UOB Sustainability Compass เครื่องมือในการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจ เอสเอ็มอี ในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน มีธุรกิจที่ให้ความสนใจแล้วมากกว่า 1,600 ราย ปัจจุบัน สถานการณ์ด้านความยั่งยืนมีปัจจัยจากหลายด้าน ที่ผลักดันให้ภาคธุรกิจต้องเตรียมรับมือ งาน UOB Sustainability Compass Forum ในครั้งนี้จึงเกิดขึ้น โดยธนาคารได้ร่วมมือกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของความยั่งยืน เพื่อสร้างการตระหนักรู้ และตื่นตัวในการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน”
ผู้นำทั่วโลกตระหนักตรงกันว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความเสี่ยงสำคัญที่สุดในทศวรรษนี้ คำถามสำคัญคือ ทำอย่างไรจึงจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคู่ไปกับการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจและธุรกิจได้
ดร. ธีรเดช ทังสุบุตร Partner บริษัท เดอะ ครีเอจี้ จำกัด และกรรมการบริหารเครือข่ายการเงินเพื่อรับมือกับภาวะโลกรวน (Climate Finance Network Thailand หรือ CFNT) กล่าวว่า “นอกเหนือจากความร่วมมือภาคสมัครใจแล้ว หลายประเทศทั่วโลกเริ่มมีการร่างและออกกฎเกณฑ์และกฎหมายที่เริ่มมีผลบังคับใช้และจะมีเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ ในอนาคตอันใกล้เพื่อมุ่งสู่ระบบเศรษฐกิจ Net Zero ซึ่งกลไกเหล่านี้จะเป็นกติกาของเกมธุรกิจใหม่ บริษัทที่เข้าใจเกมใหม่นี้ก่อนก็จะสามารถเพิ่มโอกาสและสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจและการค้าในบริบทการแข่งขันบนกติกาใหม่นี้
ประเทศไทยอยู่ระหว่างการพิจารณาผ่านกฎหมาย พรบ. ลดโลกร้อน รวมถึงกลไกต่างๆ ที่จะอยู่ภายใต้ พรบ. ซึ่งคาดว่าจะประกาศใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ และยังมีความพยายามจากหลายหน่วยงานร่วมกันจัดทำมาตรฐาน Thailand Taxonomy ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ที่ทุกหน่วยงานสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้โดยสมัครใจเพื่อส่งเสริมและช่วยขับเคลื่อนการลงทุนที่ยั่งยืน”
มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและสภาพภูมิอากาศ (IFRS S1 และ S2) รวมถึงแนวปฏิบัติการรายงานความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่างก็ได้กำหนดให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1, 2 และ 3
Scope 1 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง (Direct Emissions) ที่เกิดจากกิจกรรมขององค์กรหรือภายใต้การควบคุมขององค์กร Scope 2 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Indirect Emissions) Scope 3 คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (Other Indirect Emissions) หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานทั้งจากต้นน้ำและปลายน้ำ นำมาซึ่งความสำคัญของการเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อทำการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดความเสี่ยงจาก Climate Change
มาตรฐาน IFRS S1 - S2 กำหนดให้มีการเปิดเผยบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1, 2, และ 3 อย่างไรก็ตาม ในมุมของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีแนวทางให้บริษัทพยายามรวบรวมข้อมูล Scope 3 ให้ได้มากที่สุด โดยให้ระยะเวลา 5 ปี สำหรับการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว หลังจากนั้น ทุกบริษัทต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการทำรายงานความยั่งยืน (TCFD: Task Force on Climate-related Financial Disclosures) ซึ่งหนึ่งในประเด็นสำคัญคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับ Scope 1 และ 2 เป็นหลัก และคาดว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้าจะมีการดำเนินมาตรการเกี่ยวกับ Scope 3 อย่างจริงจัง
นายชยาธร ฉันท์เรืองวณิชย์ หุ้นส่วน บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Decarbonization) มีความสำคัญ เพราะในบางอุตสาหกรรม เช่น ภาคการเงินและการลงทุน อาจมีสัดส่วนของการปล่อย Scope 3 สูงถึง 99.98% อันมาจากการปล่อย GHGs ของลูกค้าของธนาคาร ทำให้เอสเอ็มอี จะต้องเก็บข้อมูลและจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อตอบโจทย์คู่ค้าที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน IFRS S1 - S2
หลักการทำ Supply Chain Decarbonization ทั้งในขอบเขตที่ 1 และขอบเขตที่ 2 ว่าหลักการเหมือนกัน คือเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนั้นดูในส่วนของ baseline และพิจารณาว่ามีส่วนไหนบ้างที่สามารถปรับปรุงเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นแผนดำเนินการในการเริ่มลงมือจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างค่อยเป็นค่อยไป
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS