{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
“มนพร” เผยฝุ่น PM2.5 เขตภาคกลาง-ภาคเหนือตอนบน ลดลงต่อเนื่อง หลังมอบ บวท. จับมือกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ส่งอากาศยาน 11 ลำ รุกปฏิบัติการบินเฉพาะกิจ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่ได้มอบหมายให้ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ปฏิบัติการบินเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่ภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 และภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ตาก และแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2567 โดยขณะนี้ได้รับรายงานจาก บวท. ว่า จากการร่วมมือกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อปฏิบัติการบินเฉพาะกิจในครั้งนี้ ส่งผลให้เดือนธันวาคมที่ผ่านมา ความเข้มข้นของฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 3 ไมครอนลดลง คุณภาพอากาศมีแนวโน้มดีขึ้น โดยจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัญหาฝุ่นลดลง
นายณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บวท. กล่าวว่า ปฏิบัติการบินเฉพาะกิจนี้เป็นการบินโปรยน้ำเย็นหรือน้ำแข็งแห้ง เพื่อลดอุณหภูมิช่วงชั้นบรรยากาศ ที่ระดับความสูง 3,000– 10,000 ฟุต รัศมี 20 ตารางกิโลเมตรในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เขตเมืองที่มีประชาชนพักอาศัยอยู่หนาแน่น เพื่อทำการเจาะช่องชั้นบรรยากาศที่ถูกปกคลุมด้วยฝุ่น PM 2.5 เพื่อให้ฝุ่นถูกระบายออกไป ซึ่งทำให้ปริมาณฝุ่นลดลง โดย บวท. สนับสนุนภารกิจนี้และอำนวยความสะดวกการดำเนินงานอย่างเต็มที่ทุกขั้นตอน ได้แก่การร่วมวิเคราะห์ตรวจสอบสภาพอากาศและวางแผนทำการบิน การบริหารจัดการห้วงอากาศ การประสานแจ้งออกประกาศผู้ทำการในอากาศ (NOTAM) การให้บริการจราจรทางอากาศรองรับภารกิจ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กรมฝนหลวงฯ ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อปฏิบัติการบิน 3 แห่ง ในพื้นที่ภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้แก่ สนามบินค่ายสุรสีห์ จ.กาญจนบุรี สนามบินอู่ตะเภา จ.ระยอง และ สนามบินหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 แห่ง คือ สนามบินตาก จ.ตาก โดยใช้อากาศยาน 11 ลำ ทำการบินอย่างต่อเนื่องไปจนกระทั่งปัญหาฝุ่นลดลง และจะสรุปผลการปฏิบัติการบินทั้งหมดต่อไป โดยภารกิจนี้ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากกรุงเทพมหานครและบริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ซ จำกัด ซึ่งได้มอบน้ำแข็งแห้งจำนวน 300 ตัน สำหรับปฏิบัติการบินลดฝุ่น นับเป็นความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เพื่อให้คุณภาพอากาศดีขึ้น
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS