{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
JSP คาดปี 2568 ตลาดอาหารเสริมไทยโต 15 % จากปัจจุบันที่มีมูลค่าตลาดกว่า 1 แสนล้านบาท เผย 3 ปัจจัยหนุนตลาดเติบโตต่อเนื่อง สพบคนวัยทำงานอายุ 40 ปีขึ้นไป ให้ความสนใจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น คาดภายใน 5 ปี สัดส่วนยอดขายขยับเทียบเท่าจากกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป
นายพิษณุ แดงประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานขายและการตลาด บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (JSP) ผู้ให้บริการด้านสุขภาพอย่างครบวงจร ผู้นำการรับจ้างผลิต (OEM) ยาแผนปัจจุบัน ยาสมุนไพร เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับคนและสัตว์ และผลิตภัณฑ์ Own Brand เปิดเผยว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งรวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วิตามิน และเครื่องดื่ม ในประเทศไทย มีมูลค่าการตลาดมากกว่า 1 แสนล้านบาท โดยการเติบโตของผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เริ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด -19 อย่างไรก็ตามหลังจากที่การระบาดคลี่คลายลงแล้วแต่แนวโน้มการเติบโตของสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นเพราะหลังจากเกิดการตื่นตัวด้านการดูและสุขภาพในช่วงที่มีการระบาด ทำให้ไลฟ์สไตล์ของผู้คนเปลี่ยนไป เนื่องจากตระหนักถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพว่าสุขภาพของหลายๆคนเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น จึงเกิดเป็นพฤติกรรมที่ขยายไปสู่วงกว้างในสังคม
อย่างไรก็ดีแม้ว่าเทรนด์การใส่ใจสุขภาพและการปรับพฤติกรรมจะสร้างการรับรู้ให้คนทั่วโลกมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ในปี 2568 เทรนด์การใส่ใจสุขภาพจะยังคงเติบได้รับความสนใจต่อเนื่อง โดยเฉพาะการได้รับการสนับสนุนจาก 3 ปัจจัยดังนี้
Lifestyle Medicine (วิถีชีวิตบำบัด หรือ เวชศาสตร์วิถีชีวิต) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันโดยการร่วมมือระหว่างแพทย์และคนไข้ ตั้งแต่การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด การนอนหลับ การเลิกสูบบุหรี่ การเข้าสังคม เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน หรือกระทั่งรักษาโรคซึ่งเป็นการบำบัดที่สาเหตุ ถือเป็นการบำบัดแบบใหม่ที่สามารถป้องกัน ลดความเสี่ยง และลดการใช้ยาลงได้ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน โดย Lifestyle Medicine กำลังเป็นเทรนด์ที่ผู้คนให้ความสนใจ และส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวัตถุดิบจากสารสะกัดจากธรรมชาติได้รับความสนใจไปพร้อมๆกัน
ราคายาแผนปัจจุบันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10% ตามราคาต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น 10 – 20% ส่งผลให้ การหันมาปรับพฤติกรรมการกิน ผ่านการใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น น้ำมันงาดำ น้ำมันรำข้าว และซูเปอร์ฟู้ดที่ให้พลังงานสูง เช่น ไข่ผำ เป็นต้น ซึ่งการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันจะทำให้ลดการใช้ยาหรือใช้ยาเมื่อจำเป็นเท่านั้น
การเข้าถึงบริการทางด้านสาธารณะสุขที่ใช้เวลานานขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มหันมาดูแลตัวเองแม้ว่าจะมีความกำลังซื้อในการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แต่ไม่ต้องการเสียเวลาในการรอคอยเพื่อเข้าถึงบริการ จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
จากปัจจัยสนับสนุนทั้ง 3 ด้านนี้ JSP คาดว่า ปี 2568 ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจะเติบโตประมาณ 10 – 15% นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มคนวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เริ่มให้ความสำคัญกับการเลือกหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ จากเดิมที่พบว่ายอดขายส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จึงทำให้ตลาดขยายตัวไปสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น และคาดว่าภายใน 5 ปีสัดส่วนยอดขายในกลุ่มวัยทำงานจะเติบโตเทียบเท่ากลุ่มวัย 60 ปีขึ้นไป
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS