{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ประสบความสำเร็จในการจัดหาเงินกู้ในรูปแบบสัญญากู้ยืมเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Loan) เป็นครั้งแรก ซึ่งได้ตอกย้ำนโยบายของ สบน. ที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว โดยเป็นการกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงิน 17,700 ล้านบาท สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (รถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ)
นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า การกู้เงินในรูปแบบสัญญากู้ยืมเงินเพื่อความยั่งยืนในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของกระทรวงการคลัง โดยมีวงเงินกู้ 17,700 ล้านบาท อายุเงินกู้ 4 ปี ได้รับความสนใจจากสถาบันการเงินที่มีนโยบายส่งเสริมการเงินที่ยั่งยืนอย่างท่วมท้น โดยมีวงเงินเข้าประมูลสูงถึง 3.27 เท่า
ของวงเงินกู้ ซึ่งปี 2568 นับเป็นปีแรกที่ สบน. ได้พัฒนาเครื่องมือทางการเงินสีเขียว (Green Finance) ให้มีความหลากหลายได้สำเร็จ โดยมีเครื่องมือทั้งในรูปแบบพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) และสัญญากู้ยืมเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Loan) จึงนับเป็นก้าวสำคัญที่ตอกย้ำนโยบาย สบน. ที่มุ่งมั่นสู่เส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืน
การกู้เงินในครั้งนี้เป็นการกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อแก่ รฟม. สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าประเภทรางหนัก (Heavy Rail) เป็นรูปแบบการเดินทางคาร์บอนต่ำมีส่วนช่วยลดมลภาวะทางอากาศ และเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ จึงมีคุณสมบัติเป็นสัญญากู้ยืมเงินเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตอบโจทย์ความยั่งยืน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินภายใต้กรอบการระดมทุนเพื่อความยั่งยืน (The Kingdom of Thailand’s Sustainable Financing Framework) นอกจากนั้น การกู้เงินครั้งนี้เป็นการทำสัญญากู้ยืมเงินโดยอ้างอิงอัตราดอกเบี้ย THOR เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้สะท้อนต้นทุนการกู้เงินบาท ที่สอดคล้องกับสภาพคล่องเงินบาทในประเทศได้ดีขึ้น
สบน. ขอขอบคุณสถาบันการเงินทั้ง 8 แห่ง ที่ให้ความสนใจและช่วยสนับสนุนการออก Sustainability Loan ในครั้งนี้ และขอขอบคุณ รฟม. ที่ร่วมผลักดันและดำเนินแผนงานการยกระดับเมืองด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ทั้งนี้ สบน. ยังคงเดินหน้าสู่บทบาทการเป็นผู้นำในการส่งเสริมการเงินและผลักดันเศรษฐกิจสีเขียว โดยมีเป้าหมายการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินสีเขียว (Green Finance) เพื่อส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนในโครงการ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เพื่อร่วมขับเคลื่อนและเปลี่ยนผ่านประเทศสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS