{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2567 เพื่อติดตามการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ พร้อมเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและปัญหาฝุ่น PM 2.5 รวมถึงขับเคลื่อนนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่" โดยมุ่งเน้น 3 ด้านหลัก คือ สู้: การจัดการกากสารพิษ เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน Save: การสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย เร่งช่วยเหลือ SME ให้เข้าถึงแหล่งทุนและโอกาสทางธุรกิจ สร้าง: การสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำหรับจังหวัดเชียงใหม่คณะฯ ได้ลงตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ ดังนี้ 1) บริษัท เฮิร์บ เบสิคส์ จำกัด ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ผลิตเครื่องสำอางค์และผลิตภัณฑ์สปา ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทำให้มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น และได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาล โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะสนับสนุนเพิ่มเติมในด้านต่างๆ เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการรับรองมาตรฐาน 2) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1: หน่วยงานส่งเสริมอุตสาหกรรมและวิสาหกิจระดับภูมิภาค มีบริการให้คำปรึกษา ถ่ายทอดองค์ความรู้ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งมีศูนย์ต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น ศูนย์อนุรักษ์หัตถกรรมเครื่องเขินภาคเหนือ ศูนย์เรียนรู้วิถีไผ่ และศูนย์พัฒนากาแฟไทย 3) ศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงานภาคเหนือ: ดำเนินการเฝ้าระวังมลพิษทางอากาศและทางน้ำจากโรงงาน ตรวจสอบการระบายมลพิษ และให้คำปรึกษาด้านการจัดการมลพิษ 4) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขาเชียงใหม่: ให้สินเชื่อและสนับสนุน SME ในพื้นที่ ส่วนจังหวัดลำพูนได้ตรวจเยี่ยม 1) สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ: กำกับดูแลโรงงานในนิคม และส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟรุตพริ้นท์ 2) บริษัท มูราตะ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด: ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมจะสนับสนุนด้านบุคลากร การพัฒนาทักษะ และการขยายการลงทุน
สำหรับแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ซึ่งจากสถานการณ์อุทกภัยภาคเหนือตอนบน 1 และ 2 จำนวน 8 จังหวัด (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน เชียงราย น่าน พะเยา และแพร่ (ข้อมูลสะสมตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม – 12 พฤศจิกายน 2567 ) พบว่า มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 207 แห่ง มูลค่าความเสียหายรวม จำนวน 441,926,937 บาท กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้การช่วยเหลือโดยให้คำปรึกษาแนะนำการซ่อมบำรุงเครื่องจักร ระบบบำบัดน้ำเสียเบื้องต้นให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมหลังน้ำลด จัดทำแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดสถานการณ์ครั้งต่อไป ด้านสินเชื่อจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐได้พิจารณาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับฟื้นฟูเครื่องจักร การยกเว้นค่าธรรมเนียมโรงงาน จำนวน 18 กิจการ โดยวางแนวทางการป้องกัน/แก้ไขปัญหาอุทกภัยผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ผ่าน 3 มาตรการช่วยเหลือ-เยียวยา-ฟื้นฟู 1) มาตรการระยะสั้น : เร่งด่วนช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัย 2) มาตรการระยะกลาง : เยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น 3) มาตรการระยะยาว : ฟื้นฟูผู้ประกอบการและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของพื้นที่
ส่วนมาตรการเร่งรัดแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ได้กำชับให้ผู้ประกอบกิจการโรงงาน จัดทำแผนตรวจ กำกับ ดูแลโรงงานเชิงรุก แจ้งเตือนเหตุอัคคีภัยและอุบัติเหตุจากการประกอบกิจการพร้อมออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเก็บเกี่ยวอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ฤดูการผลิตปี 2567/2568 ลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS