“ลุ่มน้ำโขง” ต้องรวมเป็นหนึ่ง “ดร.ซุป” ระบุสร้างความแกร่งเชื่อมโยงทุกอนุภูมิภาค

ในงานประชุมสัมมนาระดับนานาชาติเพื่อการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ของ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 1 (1st International Conference on GMS Logistics Thailand 2018) ซึ่งจัดโดยสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ ร่วมกับ สมาคมผู้ขนส่งในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS-FRETA

นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) และอดีตผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการค้าโลก (WTO) ได้ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “GMS ความสำเร็จกับก้าวต่อไป” ในงานประชุมสัมมนาระดับนานาชาติเพื่อการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งจัดโดยสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ ร่วมกับ สมาคมผู้ขนส่งในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS-FRETA) ว่า อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) นับเป็นพื้นที่ที่ถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของเอเชีย หากดูจากสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางสามารถเชื่อมโยงเอเชียจากตะวันออกไปตะวันตก จากเหนือลงใต้

หากสามารถกำหนดเป้าหมายและวางแผนได้ดี ก็จะทำให้การเชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงขยายออกไปได้หลายมิติ โดยเฉพาะในเรื่องของเศรษฐกิจ

ซึ่งการเชื่อมโยงระบบขนส่งหรือโลจิสติกส์ ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้การค้าขายชายแดนในกลุ่มประเทศสมาชิกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากและเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง จากในอดีตที่มีอัตราการขยายตัวการค้าชายแดนของประเทศสมาชิกประมาณร้อยละ 2 ต่อปี แต่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก

นอกจากนี้ ในอนาคตยังสามารถเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคอื่นๆ ได้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงทางด้านใต้ของอาเซียน เชื่อมโยงไปทางด้านเอเชียใต้ อย่างอินเดีย หรือไปจนถึงตะวันออกกลาง

อย่างไรก็ตาม การเชื่อมโยงอนุภูมิภาคจะต้องระมัดระวังและต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพได้ตามเป้าหมายอย่างแท้จริง คือ

1. การเชื่อมโยงต้องลดภาวะความยากจน ต้องลดความเหลี่ยมล้ำให้แก่ประชาชน ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งเวลานี้ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน

2. การเชื่อมโยงต้องทำให้ชุมชนที่อยู่พื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม และได้รับประโยชน์จากการขยายตัว ต้องกระจายและแบ่งปันการผลิตสินค้าและบริการไปให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ นอกเหนือจากเส้นทางหลัก ต้องกระจายไปยังเส้นทางย่อยอื่น

3. ต้องมีความพร้อมด้านแรงงานที่จะมารองรับการขยายตัว สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเสรี ไร้พรมแดนมากขึ้น โดยมีระบบควบคุมดูแลที่ดี

4. ต้องเตรียมพร้อมด้านพลังงานไฟฟ้าให้สามารถรองรับการขยายตัว

5. การค้าชายแดนต้องมีระบบควบคุมที่ดีมีมาตรฐาน กระบวนการผ่านแดนต้องใช้เวลาไม่มาก อัตราภาษีที่เหมาะสม ลดปัญหาเรื่องการทุจริต

6. นำเอาระบบดิจิทัลหรือเทคโนโลยีมาใช้ให้มากขึ้น และพึ่งพากันในกลุ่ม เช่น นำระบบ อีคอมเมิร์ซ หรือระบบโรบอท มาใช้เพื่อขยายความร่วมมือทางด้านการค้า การลงทุน และการผลิต

7. ต้องดูแลเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพราะการร่วมมือในบางด้าน เช่น การสร้างเขื่อนพลังน้ำ อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จึงต้องคำนึงถึง เพราะมีตัวอย่างให้เห็นหลายครั้ง

ทั้งนี้ ได้ข้อสังเกตว่าในเขตลุ่มน้ำโขงมีความร่วมมืออยู่หลายกลุ่มที่ทำหน้าที่ต่างบทบาทกัน หากสามารถนำมารวมกันแล้วทำเป็นโครงการที่เกิดประโยชน์ร่วมกัน ภายใต้งบประมาณที่อาจมีอยู่จำกัด จะเกิดผลดีมากกว่าที่จะแยกกันทำ


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment