{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นักวิชาการ ชู “กุ้ง” สัตว์น้ำเศรษฐกิจสำคัญของไทย มีโปรตีนสูง ไขมันน้อย มีโอเมก้า-3 ใช้ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู รสชาติอร่อย อีกหนึ่งทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ เหมาะกับเทศกาลท่องเที่ยวสังสรรค์
ผศ.ดร.จุฑา มุกดาสนิท ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ช่วงนี้เข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวและเทศกาลเฉลิมฉลอง มีกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยวและงานรื่นเริงสังสรรค์จัดเลี้ยงหลากหลาย ทำให้มีการบริโภคในหลายรูปแบบและรับประทานอาหารกันคึกคัก หนึ่งในวัตถุดิบที่ได้รับความนิยมนำมาทำเป็นเมนูในช่วงเทศกาลปาร์ตี้ หรือ ต้อนรับแขกคนสำคัญ คือ “กุ้ง” เพราะรับประทานง่าย รสชาติหวานอร่อย จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วโลก ที่สำคัญประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ของโลก ทำให้กุ้งมีเพียงพอต่อความต้องการไม่ขาดแคลน
“กุ้ง” เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี มีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย อาทิ แคลเซียม (Calcium) ฟอสฟอรัส (Phosphorus) แมกนีเซียม (Magnesium) และซีลีเนียม (Selenium) ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง และมีกรดอะมิโนที่จำเป็น เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย มีไขมันน้อยกว่าสัตว์บก ไม่มีไขมันอิ่มตัว ส่วนหัวของกุ้งอุดมไปด้วยกรดไขมันที่ดีในกลุ่มของโอเมก้า-3 ที่มีประโยชน์ ซึ่งช่วยป้องกันโรคต่างๆ ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม ตลอดจนลดการอักเสบของโรครูมาตอย
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตกุ้งรายใหญ่ของโลก อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของไทยมีกุ้งสามชนิดเป็นหลัก ได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งขาวแวนนาไม และกุ้งก้ามกราม โดยมีผลผลิตไม่ต่ำกว่าปีละ 200,000 ตัน สำหรับการบริโภคทั้งภายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ ถือเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมาอย่างยาวนานและสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ
กุ้งสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ต้ม อบ นึ่ง ปิ้งย่าง หากคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการเป็นหลักแนะนำให้ใช้วิธีต้มหรือนึ่ง แต่หากต้องการรสชาติที่อร่อยแนะเป็นวิธีการย่าง ส่วนผู้ที่ชื่นชอบรับประทานกุ้งแบบดิบ เช่น กุ้งแช่น้ำปลา กุ้งดองซีอิ้ว ควรเลือกร้านที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ เชื่อถือได้ จะช่วยให้รับประทานได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น
สำหรับวิธีการเลือกซื้อ กุ้งสด ให้เลือกที่หัวไม่เป็นสีดำและหัวติดแน่นกับลำตัว สีปกติตามธรรมชาติ เช่น กุ้งขาว เป็นสีขาวทั้งตัว และส่วนหัวบริเวณที่เป็นไขมันสีเหลืองไม่แตก อีกเคล็ดลับที่สำคัญให้ดูที่ด้านหลังของกุ้ง หากยังเห็นไส้สีดำทั้งเส้น แสดงว่ากุ้งมีสุขภาพที่ดีแข็งแรงเพราะก่อนจับกุ้งยังกินอาหาร เนื้อจะแน่น รสชาติหวานอร่อย ส่วนกุ้งต้มสุก หรือ กุ้งแปรรูป ต้องมีสีส้มสวยตามธรรมชาติ เส้นสีดำตรงลำไส้กุ้งอยู่ครบ จะมีรสชาติดีและเนื้อแน่น เช่น เดียวกับกุ้งสด
การเก็บรักษากุ้งสดให้ใส่ภาชนะที่ป้องกันอากาศและนำเข้าช่องแช่แข็งที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส ส่วนกุ้งสุกให้แกะส่วนหัวออก ใส่ในภาชนะที่ปิดสนิทไม่สัมผัสกับอากาศและหากเก็บไว้หลายวันให้เก็บในช่องแช่แข็ง
ทั้งนี้ ประเทศไทยในฐานะหนึ่งในผู้ผลิตและส่งออกสินค้าสัตว์น้ำรายใหญ่ของโลก ตระหนักดีถึง “การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน” จึงให้ความสำคัญกับการตรวจสอบย้อนกลับในห่วงโซ่การผลิตอาหาร ให้ได้วัตถุดิบคุณภาพดี มีมาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสนองตอบได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS