เดอะวิสดอมกสิกรไทย จัดเอ็กซ์คลูซีฟทริปย้อนรอยประวัติศาสตร์จีนสู่มหาอำนาจโลกยุคใหม่

เดอะวิสดอมกสิกรไทย จัดแพคเกจเอ็กซ์คลูซีฟทริป “Unveiling the Journey of Bridging History in China” ให้ลูกค้าที่สนใจร่วมเดินทางใน 4 เมืองประวัติศาสตร์ คือ เซี่ยงไฮ้ หลินไห่ อู่เจิ้น ซ่างเหร่า พร้อมสัมผัสประสบการณ์สถานที่ท่องเที่ยวระดับ 5A โดยมี ดร. วิทย์ สิทธิเวคิน นักเล่าเรื่องประวัติศาสตร์เป็นวิทยากรบรรยายตลอดทริ

นายพงศกร ล่ำซำ Senior Managing Director, Private Banking Business Head ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า เดอะวิสดอมกสิกรไทย ได้จัดโปรแกรมท่องเที่ยวในสาธารณรัฐประชาชนจีนนี้ขึ้นเป็นพิเศษ “Unveiling the Journey of Bridging History in China ซึ่งเป็นแพคเกจท่องเที่ยวที่ได้รับการตอบรับดีมากจากลูกค้าที่สนใจร่วมเดินทางในสถานที่ท่องเที่ยวระดับ 5A ได้สัมผัสกับประวัติศาสตร์การพัฒนาเมืองใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้ที่พัฒนามากที่สุดทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคสิ่งอำนวยความสะดวก แล้วยังเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมของประเทศ รวมถึงได้เดินทางผ่านเส้นทางที่เชื่อมโยงเมืองแห่งวัฒนธรรมในอดีตที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำของจีน ที่สำคัญคือ ความเพลิดเพลินจากการได้รับฟังเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยด้านประวัติศาสตร์ของจีน โดย ดร. วิทย์ สิทธิเวคิน ที่ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษตลอดทริปนี้”

ดร. วิทย์ สิทธิเวคิน วิทยากรพิเศษสำหรับทริปของเดอะวิสดอมกสิกรไทย ได้เริ่มต้นเล่าย้อนหลังถึงเมืองหลวงในประวัติศาสตร์จีนว่า การสถาปนาเมืองหลวงเก่าแก่ของจีนที่เกิดขึ้นในแต่ละราชวงศ์ ประกอบด้วย 5 เมือง ได้แก่

1) เมืองฉางอัน 长安 หรือ ซีอาน 西安 เป็นเมืองหลวงราชวงศ์ฮั่น รวมถึง ต้าถัง ฉางอัน แปลว่า สันติภาพที่ ยืนยาว เมืองที่รุ่งเรือง ยาวนานกว่าครอบคลุมหลายราชวงศ์ ปัจจุบันอยู่ในมณฑลสานซี

2) เมืองลั่วหยาง 洛阳 เมื่อยุคฮั่นตะวันตก ก็เกิดกบฏ จึงได้ย้ายเมืองหลวงจีนจากเมืองฉางอัน สู่เมืองลั่วหยาง ตั้งอยู่ในมณฑลเหอหนาน

3) เมืองไคเฟิง 开封 เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในสมัยราชวงศ์ซ่ง อยู่ในมณฑลเหอหนาน

4) เมืองหนานกิง 南京 หรือ นานจิง เมื่อราชวงศ์ซ่งเริ่มอ่อนแอ ได้มีการย้ายเมืองหลวงจากทางตอนเหนือของประเทศ ลงมาทางใต้ที่เมืองหนานกิง

5) ปักกิ่ง 北京 เป็นเมืองหลวงจีนในปัจจุบัน โดยราชวงศ์หยวนได้สถาปนาเมืองปักกิ่งเป็นเมืองหลวง ภายหลังยุค หมิง มีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมมากมาย ที่สร้างต่อมาถึงยุค ชิง เช่น พระราชวังหลวงหรือพระราชวังต้องห้าม พระราชวังฤดูร้อน เป็นต้น”

“จีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก แต่เป็นประเทศที่มีเอกภาพ (Unity) คือ ประชากรทั้งหมดพูดภาษาเดียวกัน ตัวหนังสือจีน เป็นลักษณะอักษรภาพ (Pictorial) ต้องจำทีละตัวที่เรียกว่า “จู้ยิน” (Zhuyin) เป็นแบบดั้งเดิมของจีน ซึ่งอ่านยาก ส่งผลให้อัตราการรู้หนังสือของชาวจีนในสมัยก่อนต่ำ”

เหมาเจ๋อตุง จึงได้ให้นักวิชาการคิดตัวอักษรรูปแบบใหม่ที่ลดจำนวนขีดลง ใช้อักษรโรมันในทำระบบการออกเสียง เรียกว่า “พินอิน” (Pinyin) โดยยังคงรากวัฒนธรรมจีน ลดรูปให้อ่าน เขียนได้ง่ายและเร็วขึ้น”

วรรณกรรมจีนชิ้นเอก 4 เล่มที่สำคัญ มีเนื้อหาและเรื่องราวที่มีอิทธิพลอย่างมากต่ออุดมการณ์ ความคิด คุณค่าของคนจีน คือ

1) สามก๊ก วรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ เขียนในรอยต่อ หยวน-หมิง เล่าถึงเหตุการณ์ช่วงปลายยุคฮั่น จนแผ่นดินแตกเป็นสาม ก่อนรวมตัวกันในยุค จิ้น

2) วีรบุรุษเขาเหลียงซาน เรื่องราวการต่อสู้ต่อกับความไม่เป็นธรรมในยุคต้าซ่ง

3) ไซอิ๋ว เส้นทางบรรลุธรรมของพระถังซัมจั๋ง ที่ประกอบด้วย สมาธิ ปัญญา ศีล ร่วมด้วยลูกศิษย์ทั้ง 3 คือ ซุนหงอคง ตือโป้ยก่าย ซัวเจ๋ง

4) ความฝันในหอแดง เรื่องรักโรแมนติกของชนชั้นสูง

จีนเริ่มมีบทบาทบนเวทีโลกในปี 2514 การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 26 ได้ผ่านมติที่ 2758 (UN General Assembly Resolution 2758) ด้วยคะแนนเสียงข้างมากอย่างท่วมท้น โดยให้การรับรองว่า ผู้แทน “รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน” เป็นผู้แทนที่ชอบด้วยกฎหมาย เพียงหนึ่งเดียวของจีนในสหประชาชาติ แทนที่ “จีนคณะชาติ”

และต่อมาปี 2544 จีนได้เข้าร่วมองค์การการค้าโลกหรือ WTO และเข้าสู่โลกการค้าและเขตเศรษฐกิจ การเข้า สู่ระบบเศรษฐกิจโลกของจีน ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจโลก และสร้างเศรษฐกิจจีนให้ก้าวหน้า ที่สำคัญคือการลดความยากจนในจีน

ดร. วิทย์ เล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเลือกเป็นมิตรกับฝั่งโลกเสรี นำโดยสหรัฐอเมริกา แต่ต้องการรักษาสัมพันธ์กับจีน ในช่วงเวลานั้น นายสังข์ พัธโนทัย ที่ปรึกษาส่วนตัวของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ติดต่อกับทางการจีนอย่างลับๆ

จนในที่สุด นายสังข์ ได้ใช้ยุทธวิธีส่งลูกผูกใจ ส่งตัวบุตรชายและบุตรสาว 2 คน คือ วรรณไว (ชาง ห่วย) ที่มีอายุเพียง 12 ปี และสิรินทร์ (ชาง หยวน) อายุ 8 ปี ไปอยู่ในการดูแลของโจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีของจีนในขณะนั้น เพื่อแสดงถึงความจริงใจในการเชื่อมสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศ การกระทำดังกล่าว ทำให้โจวเอินไหล นับถือความกล้าหาญและความจริงใจของนายสังข์ และให้การยอมรับว่าเป็นมิตรของจีนอย่างแท้จริง โดยได้ดูแลเด็กทั้ง 2 คนเป็นอย่างดี ในฐานะบุตรบุญธรรมตลอดระยะเวลา 14 ปี ที่ใช้ชีวิตในจีนแผ่นดินใหญ่

ต่อมา ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน โดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ในเวลานั้น ได้ลงนามใน "แถลงการณ์ร่วมสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ" กับ โจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีจีน ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 ซึ่งในปี 2568 ปีหน้าถือเป็นปีทองแห่งมิตรภาพความสัมพันธ์ทางการทูตในวาระครบรอบ 50 ปี ไทย-จีน (Golden Year of Friendship)

ตลอดโปรแกรมการเดินทางใน 4 เมืองประวัติศาสตร์ คือ เซี่ยงไฮ้ หลินไห่ อู่เจิ้น ซ่างเหร่า เชื่อมโยงด้วยเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจีนได้พัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงในระบบราง สะพานยาว และอุโมงค์ เพื่อขยายรถไฟความเร็วสูงไปยังพื้นที่ห่างไกล

ดร. วิทย์ กล่าวว่า การพัฒนารถไฟความเร็วสูงของจีน เป็นเรื่อง “บูรณภาพแห่งรัฐ” โดยมีจุดประสงค์คือ เพื่อสร้างโครงสร้างการขนส่งที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิต นำจีนไปสู่ความทันสมัย ทั้งใช้เพื่อการคมนาคมสำหรับประชาชน ขนส่งสินค้า และลำเลียงพล

ปัจจุบัน จีนมีรถไฟความเร็วสูงให้บริการครอบคลุมมณฑลต่างๆ ทุกมณฑล และเขตปกครองตนเองอีก 4 เขต มีโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงที่ใหญ่ที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยจีนมีโครงข่ายรถไฟระยะทางกว่า 155,500 กิโลเมตร เป็นรถไฟความเร็วสูงระยะทาง 45,000 กิโลเมตร

เซี่ยงไฮ้ มหานครติดสปีดสู่เมืองแห่งอนาคต สีจิ้นผิง ได้กล่าวไว้ว่า “หากอยากดูประวัติศาสตร์ 100 ปี ให้มา ดูที่เซี่ยงไฮ้” เมืองท่าฝั่งตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่ ที่ได้รับสมญานามว่า เป็นปารีสแห่งตะวันออก

ในอดีต ชางไฮ่ หรือเซี่ยงไฮ้ เป็นหมู่บ้านชาวประมง หลังจากจีนพ่ายแพ้ต่อกองทัพของควีนวิคตอเรียในสงครามฝิ่น ปี 1842 ทำให้ดินแดนแห่งนี้ถูกยึดครองโดยชาติตะวันตก ภายใต้สนธิสัญญา “นานกิง” ส่งผลให้จีนต้องเปิดเมืองท่า 5 แห่งให้อังกฤษเช่าพื้นที่ เซี่ยงไฮ้จึงเต็มไปด้วยชาวตะวันตกในช่วงเวลานั้น

ดร.วิทย์ บรรยายว่า ใจกลางพื้นที่ของมหานครเซี่ยงไฮ้ มีแม่น้ำหวงผู่ ที่มีความยาว 1.5 กิโลเมตร เป็นเส้นกั้นแบ่งความแตกต่างระหว่างเมืองเก่าและเมืองใหม่ ฝั่งตะวันตกคือ "ผู่ซี" เป็นเมืองเก่าสมัยเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้รุ่งเรือง เป็นที่ตั้งของเดอะบันด์ ซึ่งในอดีตเป็นท่าเรือสำคัญของเมืองเซี่ยงไฮ้ พื้นที่ผู่ซีจึงเต็มไปด้วยตึกอาคารสถาปัตยกรรมสไตล์ตะวันตกโบราณ อายุเก่าแก่กว่า 100 ปี ที่ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของบริษัทยักษ์ใหญ่ ธนาคารชั้นนำ รวมถึงสถานกงสุลของประเทศต่าง ๆ

ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเรียกว่า "ผู่ตง" เป็นเขตใหม่ พัฒนาในยุคนโยบายสี่ทันสมัยของเติ้งเสี่ยวผิง ที่ต้องการผลักดันให้เซี่ยงไฮ้ก้าวเป็นศูนย์กลางของโลกใน 4 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ การค้า การเงิน และการเดินเรือ จึงได้เห็นตึกสูงทันสมัยติดอันดับโลกเบียดเสียดระฟ้า

เกร็ดเล็กของเมืองเซี่ยงไฮ้ที่ ดร. วิทย์ เล่าไว้คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์ จะมีตัวหนังสือจีนอยู่ 1 ตัว ป้ายทะเบียนรถ ในเซี่ยงไฮ้ มีชื่อว่า ฮู่ ส่วนใหญ่เป็นสีเขียว หรือเขียว-ขาว คือ รถยนต์พลังงานใหม่ ซึ่งได้รับความนิยม เพราะสามารถวิ่งได้ทุกวัน

ว่ากันว่า ถ้ายืนหันหลังให้ฝั่งตะวันตก “ผู่ซี” ที่มีอาคารเก่าในอดีตเป็นฉากหลัง และมองไปแม่น้ำฝั่งตรงข้าม จะพบกับ “ผู่ตง” ที่สะท้อนภาพการเติบโตและอนาคตของมหานครเซี่ยงไฮ้

หลินไห่ พื้นที่ท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี

หลินไห่ ตั้งอยู่ในมณฑลเจ้อเจียง เป็นเมืองท่าทางการค้าที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจีน และเป็นเมืองแรกๆ ของเมืองท่องเที่ยวด้วยรถไฟความเร็วสูงในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ประกอบกับนโยบายพัฒนาวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแบบผสมผสาน ส่งผลให้เมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพันปีแห่งนี้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว

ถนนจื่อหยาง เป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในถนนสายเก่าแก่ที่ยังมีชีวิตไม่กี่แห่งในจีน เป็นย่านประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ของเมืองหลินไห่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองริมฝั่งแม่น้ำหยาง สร้างขึ้นในสมัยสามก๊กและมีประวัติยาวนานราว 1,700 ปี โดยเป็นถนนสายประวัติศาสตร์ที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีในจีน และเป็นต้นแบบของเมืองชายฝั่งโบราณ

ที่เมืองหลินไห่ มีกำแพงเมืองพระราชวังไทโจว หรือที่เรียกว่ากำแพงเจียงหนาน ความยาวทั้งหมดมากกว่า 6,000 เมตร จุดเริ่มต้นจากทางทิศตะวันออกที่ประตูหล่านเซิ้ง ทอดยาวไปทางไปตามแนวสันเขาของภูเขาเป่ยกู้ จนถึงศาลาเหยีนเซี๋ย ทางด้านทิศตะวันตก ทอดมาถึงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำซึ่งอยู่ระหว่างโขดหินสูงชันและทอดตัวไปยังเชิงเขาทางตะวันตก บางช่วงของกำแพงสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของแม่น้ำหลิ่ง

อูเจิ้น เมืองสายน้ำโบราณ แหล่งท่องเที่ยวของมณฑลเจ้อเจียง

หมู่บ้านอูเจิ้น ตั้งอยู่ในเมืองถงเซียง มณฑลเจ้อเจียง อยู่ริมคลองขุด “ต้ายุ่นเหอ” 大运河 ซึ่งเป็นคลองขุดที่ยาวที่สุดของโลก ที่นี่ได้รับการพัฒนาจากหมู่บ้านโบราณให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยยังคงอนุรักษ์ความเก่าตามแบบฉบับจีนโบราณ ให้ความรู้สึกราวกับย้อนยุคไปเมื่อหลายร้อยปีก่อน

ซ่างเหรา เมืองแห่งการพัฒนาในมณฑลเจียงซี

ซ่างเหรา เป็น 1 ใน 11 เมืองของการพัฒนามณฑลเจียงซี โดยไฮไลท์ของเส้นทางนี้คือ หุบเขาเทวดาวังเซียนกู่ เป็นหมู่บ้านที่มีความเป็นมามากกว่าพันปี ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย ตั้งอยู่ที่เมืองซ่างเหรา มณฑลเจียงซี มีลักษณะเป็นหุบเขาที่ทอดยาวไปตามแนวแม่น้ำซงจู๋ มีภูเขาหินปูนที่สลับซับซ้อน สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร จุดเด่นก็คือหมู่บ้านโบราณที่ตั้งอยู่ริมหน้าผา


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment