{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์บริการค้าชายแดนเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One Stop Service : OSS) จังหวัดหนองคาย โดยมี นายธีรัชย์ อัตนวานิช อธิบดีกรมศุลกากร นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ นายสมภพ สมิตะสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย พร้อมด้วย
นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี นางนันท์ฐิตา ศิริคุปต์ ที่ปรึกษา ด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร นางกิจจาลักษณ์ ศรีนุชศาสตร์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบสิทธิประโยชน์
ทางศุลกากร นายยุทธนา พูลพิพัฒน์ รองอธิบดีกรมศุลกากร นายนิติ วิทยาเต็ม รองอธิบดีกรมศุลกากร และผู้บริหารกรมศุลกากร ร่วมพิธีดังกล่าว ณ สำนักงานศุลกากรหนองคาย
โดย ศูนย์บริการค้าชายแดนเบ็ดเสร็จ (One Stop Service : OSS) ณ สำนักงานศุลกากรหนองคาย เป็นการบูรณาการร่วมกับ 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานศุลกากรหนองคาย สำนักงานพาณิชย์จังหวัดหนองคาย สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดหนองคาย สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หนองคาย ด่านตรวจพืชหนองคาย ด่านกักสัตว์หนองคาย ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 2 และด่านอาหารและยาหนองคาย
สำหรับการปรับปรุงแพลตฟอร์มกลางการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (Thailand National Single Window : Thai NSW) กรมศุลกากรดำเนินการนำร่องในกลุ่มสินค้าพืชเกษตร จำนวน 673 พิกัดรายการสินค้า โดยเปิดให้บริการยื่นคำขอเพื่อขอรับใบอนุญาต ใบรับรองประกอบการนำเข้าสินค้าพืชเกษตร ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2567 ซึ่งรองรับการขอรับใบอนุญาต ใบรับรองสินค้าเกษตร ที่มีการควบคุมร่วมกันระหว่างกรมวิชาการเกษตร และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จำนวน 415 รายการพิกัดสินค้า โดยผู้นำเข้าสินค้าสามารถยื่นคำขอและส่งข้อมูลเพียงครั้งเดียว และเพื่อสนับสนุนการทำงานของศูนย์ OSS กรมศุลกากรจึงได้พัฒนาระบบ Thailand Trade Journey ขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจด้านการนำเข้า - ส่งออก โดยอำนวยความสะดวกในด้านข้อมูลที่สำคัญรวมถึงช่องทางการติดต่อกับระบบสารสนเทศ ของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถขอใบอนุญาตหรือใบรับรองผ่านระบบได้โดยตรง พร้อมเข้าถึงข้อมูล ขั้นตอน กฎหมาย และสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรอย่างครบถ้วน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการที่เริ่มทำธุรกิจใหม่ ๆ ได้ทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน ทั้งระเบียบ กฎหมาย การขออนุญาตการนำเข้า - ส่งออก ต่าง ๆ ซึ่งในการส่งออกได้นำร่องสินค้าประเภทผลไม้ จำนวน 22 ชนิด ของหน่วยงาน กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และกรมการค้าต่างประเทศ และการนำเข้าได้นำร่องสินค้าประเภท ผัก ผลไม้ วัตถุอันตราย ปุ๋ย เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ จำนวน 20 รายการ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
นอกจากนี้เพื่อลดภาระการบันทึกข้อมูลที่ซ้ำซ้อน และสามารถส่งข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ในครั้งเดียว จึงได้มีการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบ Single Submission โดยดำเนินการนำร่องกับ การนำเข้าสินค้าพืชเกษตรที่มีการควบคุมมากกว่าหนึ่งหน่วยงาน เช่น สินค้าพืชที่เป็นวัตถุดิบ อาหารสัตว์ ส้มแมนดาริน มันสำปะหลัง กระเทียม ลิ้นจี่ ทุเรียนแช่แข็ง ลำไย เกี่ยวข้องกับ 5 หน่วยงาน ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมการค้าต่างประเทศ และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยจะช่วยลดระยะเวลาในการกรอกข้อมูลลงได้มากที่สุดถึง 60% อันเป็นการขับเคลื่อนการอำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ
สำหรับในวันนี้ได้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างกรมศุลกากรกับกรมวิชาการเกษตร โดยทั้งสองหน่วยงานได้เยี่ยมชมการสาธิตการตรวจสอบซีลและหมายเลขตู้คอนเทนเนอร์ พร้อมรายงานด่านตรวจพืชหนองคายเพื่อดำเนินการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ซึ่งเป็นแนวทางในการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าชายแดนและผ่านแดน การบริการภาครัฐรวมอยู่ในระบบเดียวให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS