ส.อ.ท. เฝ้าติดตามสถานการณ์อุทกภัย เสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่เพิ่ม

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าจากที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้นำคณะพบปะและช่วยเหลือสมาชิก ส.อ.ท. ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในจังหวัดเชียงรายเมื่อเดือนกันยายนนั้น ส.อ.ท. ยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์อุทกภัยอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ส.อ.ท. ได้มีการติดตามสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยจากข้อมูล ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2567 พบว่า มีผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิก ส.อ.ท. ได้รับผลกระทบ ดังนี้

1. ท่วมเสียหายหนัก (เครื่องจักร ระบบไฟฟ้าภายในอาคาร อุปกรณ์สำนักงานเสียหาย) จำนวน 23 บริษัท

2. ท่วมเสียหายปานกลาง จำนวน 17 บริษัท

3. ท่วม แต่ช่วยเหลือตัวเองได้ จำนวน 36 บริษัท

4. ไม่ท่วม แต่ได้รับผลกระทบ จำนวน 52 บริษัท

ทั้งนี้ ส.อ.ท. ได้มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ โดยขอให้ภาครัฐพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติที่มีความแม่นยำถูกต้อง และสามารถแจ้งเตือนภัยแบบเรียลไทม์ (Real time) ผ่านโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการเร่งแก้ไขปัญหาการทำเกษตรในพื้นที่ป่า เพื่อรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำป้องกันปัญหาน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม

“สถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ค่อนข้างมาแรงและเร็ว และเข้ามาช่วงท่องเที่ยวปลายปี อีกทั้งช่วงปลายปีไปจนถึงเดือนมกราคมปีหน้า เราจะเจอกับปัญหา PM 2.5 อีก วิกฤติต่างๆ เหล่านี้ จะกระทบสังคมและเศรษฐกิจไทยอย่างมาก ดังนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งหาวิธีแก้ปัญหาเพื่อบรรเทาและกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นตัวโดยเร็วที่สุด” นายอิศเรศ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ส.อ.ท. จัดทำมาตรการเพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

1. ด้านการเงิน

พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยอย่างน้อย 12 เดือน

ลดค่างวด 50% และลดดอกเบี้ย 1% นาน 12 เดือน

กู้ซ่อมแซมบ้านและสถานประกอบการได้ 100% ดอกเบี้ยต่ำ

เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 1% เพื่อหมุนเวียนและฟื้นฟูกิจการจากสถาบันการเงินของรัฐ หรือกองทุนประชารัฐจากกระทรวงอุตสาหกรรม

2. ด้านภาษี

เครื่องจักรและวัตถุดิบสามารถย้ายออกจากโรงงานไปยังสถานที่อื่นหรือส่งออกในกรณีฉุกเฉินได้ โดยขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สามารถกระทำได้ภายหลัง

สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรที่นำเข้ามาเพื่อทดแทนเครื่องจักรที่เสียหายจากเหตุอุทกภัย รวมทั้งสามารถเพิ่มกำลังผลิตได้ในคราวเดียวกัน

ยกเว้นอากรนำเข้าวัตถุดิบที่นำเข้าตามมาตรา 36 ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย

ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีมาตรการยกเว้นการเก็บภาษีกับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบในบางรายการ

3. ด้านค่าธรรมเนียมของกระทรวงอุตสาหกรรม

ขอขยายระยะเวลาลงทะเบียนโรงงานที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติน้ำท่วมจากสิ้นสุด วันที่ 31 ตุลาคม 2567 เป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567

4. ด้านค่าสาธารณูปโภค

ม่ต้องชำระค่าไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัยและสถานประกอบการ SMEประจำเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2567

ยกเว้นการเก็บค่าน้ำประปาและค่าบริการทั่วไปสำหรับที่อยู่อาศัยและสถานประกอบการ SME ประจำเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2567


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment