{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ตลาดหุ้นไทยไตรมาส 4 “SET 1500 จุด อยู่ไม่ไกล” แนะนำสะสมหุ้นพื้นฐานแกร่ง กำไรปีหน้าเติบโต และมี ESG Rating สูง
สายงานวิจัยฯ บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด (ASPS) ในกลุ่มบริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์จำกัด (มหาชน) หรือ ASP ประเมินภาพในช่วงไตรมาสที่ 4 ที่ต้องติดตาม คือ 1). การเลืองตั้งสหรัฐฯ 2567 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 5 พ.ย.67 เนื่องจาก ธีมการลงทุน POLICY PLAY มักเหวี่ยงไปตามผลสํารวจว่า พรรคใดจะครองเสียงคะแนนความนิยมมากกว่ากัน 2). ติดตามการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางทัวโลก โดยเฉพาะ Fed เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด RECESSION และมีเป้าหมายให้เศรษฐกิจลงจอดแบบ SOFT LANDING 3). ผลพวงจากการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนครั้งใหญ่ 4). ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางที่มีโอกาสรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังมีโอกาสเติบโตต่อเนื่องจากนโยบายการตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น อาทิ การเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วง Golden Week, การปรับโครงสร้างหนี้, โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 2567 รวมถึงติดตามกนง. จะลดดอกเบี้ยในวันที่ 16 ต.ค. หรือ 18 ธ.ค. เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทหรือไม่
คุณเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม กรรมการบริหาร สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวเพิ่มในมุมกำไรบริษัทจดทะเบียนช่วง 2H67 มีโอกาสเติบโตเด่น 27%YoY จากฐานกำไรช่วง 2H66 ค่อนข้างต่ำ 4.6 แสนล้านบาทเท่านั้น โดยเฉพาะกำไรงวด 4Q66 ที่ต่ำเพียง 1.7 แสนล้านบาท หนุนกำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตได้ดีเช่นกัน นอกจากนี้ยังเห็น Bloomberg ค่อยๆ ทยอยปรับประมาณการ EPS ปี 2567 และ 2568 ขึ้นเป็น 91.5 บาท/หุ้น และ 102.7 บาท/หุ้น ตามลำดับ และมอง FUND FLOW ต่างชาติ, เม็ดเงินวายุภักษ์, THAILAND ESG FUND เกิน 1.7 แสนล้านบาท เป็นส่วนสำคัญช่วยพยุงตลาดหุ้นไทยในช่วง 4Q67 ให้มีโอกาสผันผวนน้อยลง ซึ่งเป้าหมายดัชนีตลาดหุ้นไทยปี 2567 กรณี FUND FLOW ไหลเข้าอาจจะซื้อขายบน MEYG ที่แคบลงมาในระดับ -0.5SD หรือ MEYG 3.5% ตามกลไกจะหนุนให้ตลาดซื้อขายบน P/E ที่สูงขึ้นและหนุนดัชนีเป้าหมายปี 2567 เพิ่มขึ้นจาก 1450 จุด เป็น 1523 จุด ส่วนปี 2568 ฝ่ายวิจัยฯ ประเมิน ESP68F 98.8 บาทต่อหุ้น ภายใต้ดอกเบี้ยนโยบายลด 1 ครั้งที่ 2.25% และอิง MEYG ที่ 3.8% (ค่าเฉลี่ยในอดีต) จะได้ดัชนีเป้าหมายที่ 1633 จุด และถ้ากนง. ทยอยลดดอกเบี้ยเพิ่ม ก็จะช่วยผลักดันให้ดัชนีเป้าหมายขึ้นเป็น 1700 จุด
กลยุทธ์การลงทุน แนะนำสะสมหุ้นพื้นฐานแกร่ง กำไรปีหน้าเติบโต และมี ESG Rating สูง
อัตราดอกเบี้ยโลกขาลง ความหวังที่สหรัฐฯ อาจเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ ขณะที่ลุ้นจีนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เอื้อต่อ Sentiment ในตลาดสินทรัพย์เสี่ยง แนะทยอยสะสมหุ้นที่มีพื้นฐานดี
คุณธรรมรัตน์ กิตติสิริพัฒน์ ผู้อำนวนการฝ่ายกลยุทธ์หุ้นต่างประเทศ มองว่า ในช่วงไตรมาส 4 นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายคาดว่าจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุน Sentiment ต่อตลาดหุ้น ทั้งในส่วนของ BOJ ที่จะมีประชุมในวันที่ 31 ต.ค. ซึ่งน่าจะรอประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจหลังการเลือกตั้งใหม่เสร็จสิ้นไปก่อน ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันจาก Unwind carry trade ลงได้ รวมทั้งแรงหนุนจากการคาดการณ์ของตลาดที่มองว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุมวันที่ 17 ต.ค. หลังตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อออกมาต่ำกว่าคาด นอกจากนี้ การที่ Fed ทำให้ตลาดเชื่อมั่นได้ว่าจะนำพาเศรษฐกิจเข้าสู่ Soft landing ได้สำเร็จ จะเป็นปัจจัยบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งในอดีตดัชนี S&P500 จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ถึง 15% ในระยะ 3-6 เดือนหลัง Fed ลดอัตราดอกเบี้ย
นอกจากนี้ ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจจีนหลังผ่านช่วง Golden Week รวมทั้งความคืบหน้าในรายละเอียดของมาตรการ Stock purchase และ Stock buyback ทั้งนี้ หากทางการจีนมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่เพิ่มเติม (โดยเฉพาะภาคการคลัง) อาจทำให้ตลาดเชื่อมั่นว่าภาคเศรษฐกิจจริงจะสามารถฟื้นตัวได้ในระยะกลาง และทำให้มีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อเศรษฐกิจ และเห็นการทยอยปรับประมาณการจีดีพี (GDP) และผลประกอบการ (Earnings) ขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้ตลาดปรับขึ้นจากความคาดหวังเป็นสำคัญ
อย่างไรก็ดี หนึ่งในความเสี่ยงสำคัญต่อตลาดจีนในระยะอันใกล้นี้คือ ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ โดยเฉพาะในกรณีที่นาย Donald Trump ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งจะสร้างความกังวลต่อสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น
แนะนำทยอยสะสมหุ้นที่มีพื้นฐานดี รวมทั้งหุ้นที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน
ตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วงไตรมาส 4 การคาดการณ์ Bond yield ไทยมีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยปัจจัยหลักที่คือ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ แนะนำเพิ่มการลงทุนในหุ้นกู้ที่มี Duration ยาวขึ้น
ฝ่ายผลิตภัณฑ์ตลาดรอง ประเมินภาพรวมการลงทุนของตลาดตราสารหนี้ไทยยังไปได้ดีและเป็นที่ต้องการของนักลงทุน โดยเฉพาะตราสารหนี้ไทยที่มีอายุยาวและมีอันดับเครดิตตั้งแต่ Invesetment grade ขึ้นไป ข้อมูลจากสมาคมตราสารหนี้ไทย หรือ ThaiBMA แสดงให้เห็นว่า สิ้นไตรมาส 3 ปี 2567 ตลาดตราสารหนี้ไทยมีมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับ ThaiBMA ณ สิ้น Q3 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 17 ลลบ. คิดเป็น 95%ของ GDP โดยเป็นตราสารหนี้ภาครัฐ มูลค่า 12.5 ลลบ. และตราสารหนี้ภาคเอกชน มูลค่า 4.5 ลลบ.
กระแสเงินลงทุนจากต่างประเทศ (Fund flow) ของนักลงทุนต่างชาติ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2567 เป็นการซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทย มูลค่า 59,013 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากเงินทุนที่ไหลเข้า โดยได้อนิสงค์จากการผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) เมื่อวันที่ 17-18 ก.ย. มีมติ 11 ต่อ 1 ปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.50% สู่ระดับ 4.75-5.00% ตามการคาดการณ์ของตลาด
โดย คุณลัพธ์พร ปานะกุล ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ตลาดรอง คาดว่าตลาดตราสารหนี้ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2567 นี้ Yield curve ของไทยยังจะมีการเคลื่อนไหวแบบ side-way down จากการสำรวจของ ThaiBMA ผู้ร่วมตลาดส่วนใหญ่คาดว่ามีโอกาสที่ กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1 ครั้งในปีนี้ซึ่งอาจเป็นรอบเดือนธันวาคมซึ่งเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของปี โดยในเดือน ส.ค.ที่ผ่านนี้เริ่มเห็น Flow การเข้าซื้อหุ้นกู้ระยะยาวมากขึ้น โดยเฉพาะ Flow ต่างชาติที่เข้ามาซื้อตราสารหนี้อายุยาวในตลาดไทยมูลค่าเกือบ 48,000 ลบ. โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ยังถือว่าตราสารหนี้ในตลาดเป็นทางเลือกที่มั่นคงและปลอดภัย
ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมในช่วงนี้ เพิ่มดูเรชั่น (Duration) การลงทุนในตราสารหนี้ให้ยาวขึ้น เช่น 5-10 ปี โดยดูเรชั่น (Duration) คืออายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่ถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสดอกเบี้ยรับที่จะได้ในอนาคต ซึ่งนักลงทุนจะได้ประโยชน์จากราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลตอบแทนในตลาดปรับตัวลดลง หรือกล่าวได้ว่ามีโอกาสขายทำกำไรได้ในอนาคตนั่นเอง
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS